กฎหมายราชทัณฑ์ ตอน ขังห้องมืด


ขังห้องมืด (Dungeon room) ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 มาตรา 35 (7) และ จะกระทำได้ต่อเมื่อ ผู้ต้องขังกระทำผิดวินัย ตามกฎกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 112, 114 และ 115 โดยผู้มีอำนาจลงโทษขังห้องมืด คือ ผู้บัญชาการเรือนจำ ตามข้อ 103 ส่วนกำหนดเวลาในการขังห้องมืด นั้น สามารถขังห้องมืด โดยไม่มีเครื่องหลับนอน ได้ไม่เกิน 2 วัน ต่อ สัปดาห์ ส่วนสถานที่ที่ใช้ในการขังห้องมืด นั้น ต้องให้แพทย์ได้ตรวจ เห็นชอบ......................


กฎหมายราชทัณฑ์ ตอน ขังห้องมืด


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์



ห้องมืดสำหรับใช้ขังนักโทษที่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่

ไม่มีห้องน้ำหรือแสงสว่างลอดเข้าใดๆทั้งสิ้น


กฎหมายราชทัณฑ์ที่เกี่ยวกับการขังห้องมืด (Dungeon room) ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2479 และ กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ดังนี้


พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479

มาตรา 35 เมื่อผู้ต้องขังคนใดกระทำผิดวินัย ให้เจ้าพนักงานเรือนจำผู้มีหน้าที่พิจารณาโดยถ่องแท้ แล้วลงโทษสถานหนึ่งสถานใดหรือหลายสถาน ดังต่อไปนี้

(7) ขังห้องมืด ไม่มีเครื่องหลับนอน ไม่เกินสองวันในสัปดาห์หนึ่ง โดยความเห็นชอบของแพทย์

มาตรา 36 ถ้าปรากฏว่า ผู้ต้องขังที่จะได้รับโทษดังว่ามาในมาตราก่อน นั้น ป่วยเจ็บ หรือ มีเหตุอันควรอย่างอื่นใด ซึ่งจะต้องยกขึ้นพิจารณา จะงดการลงโทษนั้นไว้ก่อนก็ได้

อนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ อาจเพิกถอนการลงโทษ อย่างใดๆ เสียได้เมื่อมีเหตุสมควรแต่ต้อง ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำ และ


กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ดังนี้


ขอ 103 ผู้บัญชาการเรือนจำมีอำนาจลงโทษทุกสถานตามที่บัญญัติไวในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479


ข้อ 112 ขังห้องมืด นั้น พึงกระทำได้ในกรณี ต่อไปนี้

(1) ก่อการวิวาทกับผู้ต้องขังอื่นเนืองๆ

(2) พยายามหรือทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน

(3) ก่อการวุ่นวายแต่ไม่ร้ายแรง

(4) จงใจหลีกเลี่ยงการงาน

(5) จงใจขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา

(6) พยายามหลบหนี


ขอ 114 ถ้ามีการกระทำความผิดวินัยในกรณีอย่างอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในหมวดนี้ ให้ ผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณาลงโทษ สถานใดสถานหนึ่งที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่ใช่โทษเฆี่ยน


ข้อ 115 ในกรณีผู้ต้องขังซึ่งจะต้องรับโทษเป็นคนมีลักษณะดื้อด้าน โดยได้เคยรับโทษทางวินัยของเรือนจำมามากกว่า 2 ครั้งแล้ว ยังประพฤติผิดอีก และ โทษสำหรับความผิดทั้ง 3 ครั้ง อยู่ในกำหนด 9 เดือน นับแต่วันต้องโทษครั้งแรก หรือขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเรือนจำโดยจงใจมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันต้องโทษครั้งก่อน หรือปรากฏว่าเป็นคนเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุก นอกจากฐานประมาทและลหุโทษมากกว่า 3 ครั้งแล้ว และ ได้ประพฤติผิดวินัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันต้องโทษวินัยครั้งก่อน ผู้บัญชาการเรือนจำมีอำนาจสั่งให้ลงโทษเฆี่ยน และ เพิ่มโทษสถานอื่นตามที่เห็นสมควร


ขอ 119 ห้องมืดซึ่งใช้เป็นที่ขังลงโทษ นั้น ต้องให้แพทย์ได้ตรวจ เห็นชอบด้วยว่าไม่ผิดอนามัยอย่างร้ายแรง


โดยสรุป


ขังห้องมืด (Dungeon room) ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 มาตรา 35 (7) และ จะกระทำได้ต่อเมื่อ ผู้ต้องขังกระทำผิดวินัย ตามกฎกระทรวงมหาดไทยฯ ขอ 112 และ กรณีผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณาลงโทษตาม ข้อ 114 และ ข้อ 115 โดยผู้มีอำนาจลงโทษขังห้องมืด คือ ผู้บัญชาการเรือนจำ ตามข้อ 103 ส่วนกำหนดเวลาในการขังห้องมืด นั้น สามารถ ขังห้องมืด โดยไม่มีเครื่องหลับนอน ได้ไม่เกิน 2 วัน ต่อ สัปดาห์ ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 มาตรา 35 (7) ส่วนสถานที่ที่ใช้ในการขังห้องมืด นั้น ต้องให้แพทย์ได้ตรวจ เห็นชอบด้วยว่า ไม่ผิดอนามัยอย่างร้ายแรง ตามข้อ 119


....................



Reference


ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ http://www.reviewchiangmai.com/1230



หมายเลขบันทึก: 594833เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2015 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2015 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท