​ความผิดเพี้ยนแตกต่างของพุทธศาสนา


ความผิดเพี้ยนแตกต่างของพุทธศาสนา

ศาสนาพุทธทุกวันนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทุกมิติ โดยใช้ความเห็นตนเป็นใหญ่ แต่พอเราไปศึกษาคำสอนพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า “พระไตรปิฎก” (คือพระวินัย พระสูตร และอภิธรรม) ก็จะพบว่าไม่ตรงกับพระไตรปิฎกเลย แม้ในพระไตรปิฎกเอง ก็ยังถูกเพิ่มเติ่มเข้ามา เช่นในส่วนที่แต่งใหม่ทั้งหมดคือพระอภิธรรม จึงทำให้ศาสนาพุทธมีหลายนิกายหลายความเห็น หลายอาจารย์ วันนี้เลยจะมาอธิบายสิ่งที่ถูกผิดเพี้ยนไปจากพุทธศาสนา โดยใช้ความเห็นในพระวินัยและพระสูตรเท่านั้น อาจมีการอธิบายของผมบ้าง เพื่อสะดวกกับการใช้ภาษานะครับ

ประเด็นที่ 1 เรื่องการรับเงินทองของพระ พอไปดูในพระวินัยที่บัญญัติห้ามไว้มีหลายที่มากยกตัวอย่าง เช่น “ภิกษุใดรับ หรือให้รับซึ่งทองเงิน หรือยินดีทองเงิน อันเขาเก็บไว้ให้เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”
(โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๘ สัตตสติกขันธกะ) มีถึง 6 พระสูตรที่กล่าวไว้ อธิบายว่า นี้เป็นพระวินัย (หรือศีล) ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติและล่วงละเมิดหรือเพิกถอนไม่ได้ ผิดได้เพียงครั้งแรก สละทิ้งซึ่งเงิน/ทองแล้วปลงอาบัติครั้งต่อไปผิดไม่ได้ แต่ทุกวันนี้เราจะเจอพระผู้ทรงภูมิปัญญาบอกว่า นี้คือสิกขาบทเล็กน้อยที่สามารถเพิกถอนได้ ที่ตรัสกับพระอานนท์ จริงๆแล้วไม่ใช่เลยนี้เป็นสิกขาบทหลัก สิกขาบทใหญ่ที่ทำให้เป็นพระ และการผิดอาบัติไม่ใช่ผิดแล้วมาปลงทุกวันจะหาย แม้แตสละทิ้งไปเป็นที่ดินสิ่งปลูกสร้าง หรือมือถือก็ไม่ได้ และพระผู้ที่ผิดวินัยข้อนี้หรือรับเงินทองเป็นประจำ เมื่อตายแล้วมีที่ไปคือ อบาย ทุคติ วินิบาตและนรก ตามความสม่ำเสมอที่ทำ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราต้องสงสารท่านอย่างมากครับ

ประเด็นที่ 2 เรื่องการรดน้ำมนต์ ปรากฏว่า มีเพียงหนึ่งพระสูตรที่อนุญาตให้ทำน้ำมนต์ โดยการใช้บาตรพระพุทธเจ้า แต่พอไปอ่านจริงปรากฏว่าเป็นของพระรุ่นหลังแต่งขึ้น (พระอรรถกถา) พระพุทธเจ้าตรัสไว้มีถึง 13 พระสูตรที่ห้ามไว้ และพระที่เป็นอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปจะไม่ทำสิ่งเหล่านี้ เพียงเท่านี้เราก็พอทราบได้ว่า ถ้าพระที่ทำก็ไม่ได้บรรลุอะไรเลย ยิ่งมองไปในอดีตอีกยิ่งเข้าใจมากเลยว่าเป็นเช่นใด

ประเด็นที่ 3 เรื่องบทสวดมนต์ต่างๆ เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่าพระสมัยก่อนไม่ได้สวดมนต์แบบเรา ท่านสวดเพื่อจำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ หรือการเก็บรักษาพระธรรมพระวินัยไว้ เรียกว่า มุขปาฐะและบทสวดมนต์ที่เราสวดกันทุกวันนี้ เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 4 ตอนทรงผนวชได้ทรงนิพนธ์ขึ้นไว้ด้วยความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา แล้วมีการแต่งเพื่อสวดนี้ มีมาก่อนหน้าสมัยรัชกาลที่ 4 แล้วทำไมพระสมัยก่อนต้องจำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าหรือสวดกัน เพราะว่าพระพุทธเจ้าตรัสในพระสูตรว่า “ถึงแม้เขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดงสักบทเดียวนั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นตลอดกาลนาน” และแม้ผู้นั้นจะตายไปจากโลกก็จะไม่ไปนรกหรือกำเนิดแห่งสัตว์เดรัจฉาน และหากไประลึกบทแห่งธรรมนี้ที่สวรรค์ เขาผู้นั้นก็จะบรรลุธรรมที่นั้นได้ ซึ่งแตกต่างจากที่เราท่องกันแบบ..งง..และคิดว่าได้อานิสงส์มากมาย ซึ่งอานิสงส์ไม่มีเลยหากไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ...การท่องของพระพุทธเจ้าเราต้องเข้าใจธรรมะบทนั้นด้วย เข้าใจด้วยความหมาย แทงตลอดด้วยทิฐิ ใคร่ครวญแล้วจะสำเร็จผลประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่ได้แบบหลอกๆ

ประเด็นที่ 4 เรื่องทาน การให้ทานกับพระหรือกับบุคคลทั่วไป สืบต่อจากข้างบน ถ้าเราเข้าใจข้างบนก็จะเข้าใจต่อไปว่า ถ้าเราหวังทานเพียงเท่านี้ เราก็สามารถทำบุญกับสิ่งที่ผิดจากข้างบน อานิสงส์ก็คือทานปกติธรรมดา จะทำกับผู้ใดก็ได้ ไม่ว่าเป็นคนยากจน คนยากไร้ ก็ได้อานิสงส์เท่ากับพระที่เราทำ และถ้าเรามองเพียงเท่านี้ ศาสนาพุทธก็ไม่มีประโยชน์อะไรกับเรามากมาย แต่ถ้าผู้รับบริสุทธิ์อานิสงส์จะมากขนาดไหน แต่เชื่อไหมครับว่า อานิสงส์ก็ยังไม่เท่ากับการนั่งสมาธิเพียงลัคนิ้ว ได้อานิสงส์มากกว่าการไปทำบุญที่ต่างๆ มากมาย นั่งขนาดไหน ในพระสูตรกล่าวว่า กระทำให้มากในเวลาเช้า กลางวันและเย็น ชั่วเวลาลัคนิ้วมือเดียว บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่เหินห่างจากฌานแล้ว และเป็นวิธีการแก้ตามของพระพุทธเจ้าและมีวิธีเดียวเท่านั้น วิธีอื่นๆ ไม่สามารถแก้กรรมได้ ไปทำก็เสียเวลาเปล่า ไม่เกิดผลอะไร และบอกว่าถ้าการอ้อนวอนของท่านสำเร็จได้จริง แล้วมนุษย์ในโลกนี้จะเสื่อมจากอะไรได้ เพราะทุกคนอ้อนวอนเป็นหมด ไม่มีใครอ้อนวอนไม่ได้ ส่วนความคิดเรื่องการแก้กรรมของคนอื่นก็คือของคนอื่น ไม่ใช่ความเห็นของพระสัมมาสัมพุทธะ

ขอบคุณที่อ่านนะครับ เป็นเพียงมุมมองส่วนน้อยที่อยากให้ทราบความจริง ส่วนอ่านแล้ว ท่านใดเห็นประโยชน์ก็นำไปใช้นะครับ แต่ถ้าเห็นโทษก็ต้องอภัย ความคิดอาจมีแตกต่างกันได้ แต่ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวครับ

หมายเลขบันทึก: 594779เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2015 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2015 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท