คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี


คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

วรรณกานต์ ประโพธิ์ทัง 1, อมรรัตน์ ศรีอำไพวราภรณ์1, ภาณุ อดกลั้น2

1โรงพยาบาลมะเร็ง อุดรธานี

2วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

บทนำและวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

วิธีการ: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี 120 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด วิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา:

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 62.5 อายุเฉลี่ย 46 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 49.17 การศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 50 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 73.33 รายได้เฉลี่ย 8,249 บาทต่อเดือน รายได้ต่ำสุด 500 บาทต่อเดือน รายได้สูงสุด 84,000 บาทต่อเดือน มีปัญหาสุขภาพ ร้อยละ 50.83 พบมากใน 3 อาการ คือ ปวดศีรษะ ปวดหลัง และโรคกระเพาะอาหาร

2. มีความพึงพอใจต่อสุขภาพตนเองอยู่ในระดับปานกลาง มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านสุขภาพกายอยู่ในระดับปานกลาง 2) ด้านจิตใจอยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม อยู่ในระดับมาก และ 4) ด้านสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง

สรุปผลการศึกษา: ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 46 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกร การศึกษาระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรสคู่ รายได้เฉลี่ย 8,249 บาทต่อเดือน ปัญหาสุขภาพ คือ ปวดศีรษะ ปวดหลัง และโรคกระเพาะอาหาร มีคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งอยู่ในระดับปานกลาง

คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

Quality of life among caregivers of cancer patients, Udon Thani Cancer Hospital

By Wannakarn Praphothang1, Amornrat Sri-ampaiwaraporn1, Panu Odklun2

1Udon Thani Cancer Hospital.

2 Boromarajonani College of Nursing, Udon Thani.

Background & Objective: The aim of this study was to study quality of life among caregivers of cancer patients, Udon Thani Cancer Hospital.

Methods: The samples were 120 caregivers of cancer patients. The instrument were short form quality of life questionnaire from World Health Organization. Frequency, percentage, mean and standard deviation were used.

Results:

1. Caregivers of cancer patients, mostly female, 62.5 percent, 46 years old, farmer 49.17 percent, primary school level 50 percent, married 73.33 percent , average income 8,249 baht per month, minimum income about 500 baht per month, maximum income up to 84,000 baht per month, about 50.83 percent of caregivers found three symptoms 1) headache, 2) back pain and 3) stomachache.

2. Satisfied with their health at moderated level. Quality of life at moderated level in 4 areas: 1) health at moderated level, 2) mind at moderated level, 3) social relationships at high level, and 4) environment at moderated level.

Conclusions: Mostly caregivers of cancer patients was female, 46 years old, farmers, primary school level, married, income about 8,249 baht per month, health problems were headache, backache and stomach. Quality of life of cancer patients at moderated level. Keyword: Quality of life among caregivers of cancer patients

บทนำและวัตถุประสงค์:

มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของโรคที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น ดังนั้นการรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสม ของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและ การดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น6 การเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคมะเร็งเมื่อดำเนินเข้าสู่ระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะเกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตอารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณความสามารถในการดูแลตนเองลดลงจึงต้องการดูแลจากญาติผู้ดูแลมากยิ่งขึ้น4 การมีส่วนร่วมในการดูแลสมาชิกในครอบครัวในระหว่างการเจ็บป่วยเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลบุคคลอันเป็นคนที่รักของครอบครัว1 และในการดูแลของสมาชิกในครอบครัวส่งผลดีต่อสุขภาพจิต จิตวิญญาณ และการเงิน2 การดูแลผู้ป่วยมะเร็งให้มีประสิทธิภาพ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ควรมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง จะได้สามารถปรับตัวรับบทบาทของญาติผู้ดูแลได้ และ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่าง ครบถ้วน และจะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในทุกช่วงเวลาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต3 คุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งอาจมีความแตกต่างกัน เพราะการรักษาพยาบาลด้วยเครื่องมือที่เฉพาะเจาะจง การดูแลมีความซับซ้อนเนื่องจากต้องใช้มาตรการหลายอย่างในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไปตามวิถีความเจ็บป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจในโรคมะเร็งที่มีหลากหลายชนิด ขั้นตอนของการเกิดมะเร็ง การรักษา และการดูแลผู้ป่วย5ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานีเพื่อได้ทราบถึงระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี และเสนอต่อผู้บริหารในการช่วยเหลือโดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานีธานีต่อไป

วิธีการ:

กลุ่มตัวอย่าง

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Development)8 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จำนวน 120 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงโดยความสมัครใจของผู้ดูแลผู้ป่วย จากหอผู้ป่วยสามัญชาย หอผู้ป่วยสามัญหญิง หอผู้ป่วยพิเศษ1 หอผู้ป่วยพิเศษ 2

เครื่องมือการวิจัย

เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย9 โดยพัฒนามาจากเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การ อนามัยโลก 100 ข้อโดยทำการเลือกคำถามมาเพียง 1 ข้อจากแต่ละหมวดใน 24 หมวด รวม 24 ข้อ และรวมกับหมวดที่เป็นคุณภาพชีวิตและสุขภาพทั่วไปโดยรวมอีก 2 ข้อ รวมทั้งสิ้น 4 ด้าน 26 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น (Cronbach's alpha coefficient) เท่ากับ 0.92

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. ข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2. คะแนนแบบวัดคุณภาพชีวิต WHOQOL-26 ข้อคำถามที่มีความหมายทางบวก 23 ข้อและ คำถามที่มีความหมายทางลบ 3 ข้อ คือข้อ 2, 9, 11 แต่ละข้อเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ให้ผู้ตอบเลือกตอบ กลุ่มที่ 1 ข้อความทางบวก 23 ข้อ กลุ่มที่ 2 ข้อความทางลบ 3 ข้อ (ข้อ 2, 9, 11) คะแนนคุณภาพชีวิตมีคะแนน ตั้งแต่ 31 - 130 คะแนน โดยเมื่อผู้ตอบรวมคะแนนทุกข้อได้คะแนนเท่าไร สามารถเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติที่กำหนดดังนี้ คะแนน 31- 60 คะแนน แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี คะแนน 61 - 95 คะแนน แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตกลาง ๆ คะแนน 96 - 130 คะแนน แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีการแบ่งระดับคะแนนคุณภาพชีวิตใช้แนวคิดของ Best, J. W. (1978). การแยกออกเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ให้ความหมายได้ดังนี้

องค์ประกอบ

การมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี

คุณภาพชีวิตกลาง ๆ

คุณภาพชีวิตที่ดี

ด้านสุขภาพกาย

7-16

17-26

27-35

ด้านจิตใจ

6-14

15-22

23-30

ด้านสัมพันธภาพทางสังคม

3-7

8-11

12-15

ด้านสิ่งแวดล้อม

8-18

19-29

30-50

คุณภาพชีวิตโดยรวม

31- 60

61 - 95

96 - 130

ผลการศึกษา:

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 62.5 อายุเฉลี่ย 46 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 49.17 การศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 50 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 73.33 รายได้เฉลี่ย 8,249 บาทต่อเดือน รายได้ต่ำสุด 500 บาทต่อเดือน รายได้สูงสุด 84,000 บาทต่อเดือน มีปัญหาสุขภาพ ร้อยละ 50.83 พบมากใน 3 อาการ คือ ปวดศีรษะ ปวดหลัง และโรคกระเพาะอาหาร

2. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง สำรวจโดยใช้ WHOQOL - BREF – THAI พบว่า

1) ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งพอใจกับสุขภาพของตนเองในระดับปานกลาง (= 3.48,

S.D. = 0.67)

2) คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งด้านสุขภาพกายอยู่ในระดับไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 9.17 อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 60.83 อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 30.00

3) คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งด้านจิตใจอยู่ในระดับไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 5.83 อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 70.00 อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 24.17

4) คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งด้านสัมพันธภาพทางสังคม อยู่ในระดับไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 8.33 อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 67.50 อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 24.17

5) คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งด้านสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 14.16 อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 73.24 อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 12.50

6) คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ตามความรู้สึกของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.44, S.D. = 0.72)

สรุปผลการศึกษา:

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากเป็นเพศหญิง อยู่ในวัยกลางคน อายุเฉลี่ย 46 ปี ประมาณ 1 ใน 2ประกอบอาชีพเกษตรกรและจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประมาณ 2 ใน 3 มีสถานภาพสมรสคู่ รายได้เฉลี่ย 8,249 บาทต่อเดือน ประมาณ 1 ใน 2 มีปัญหาสุขภาพ พบมากใน 3 อาการ คือ ปวดศีรษะ ปวดหลัง และโรคกระเพาะอาหาร

2. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง สำรวจโดยใช้ WHOQOL - BREF – THAI พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งพอใจกับสุขภาพของตนเองในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งอยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย ด้านสุขภาพกายอยู่ในระดับปานกลาง ด้านจิตใจอยู่ในระดับอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง และคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ตามความรู้สึกของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งอยู่ในระดับปานกลาง

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณ นพ.อิสระ เจียวิริยบุญญา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วย พยาบาลประจำการ ทุกหอผู้ป่วย ที่ได้ให้การสนับสนุนให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

เอกสารอ้างอิง

1 Effendy C1, Vernooij-Dassen M, Setiyarini S, Kristanti MS, Tejawinata S, Vissers K, Engels Y.

Family caregivers' involvement in caring for a hospitalized patient with cancer and their quality of life in a country with strong family bonds. Psychooncology.

2014 Oct 7.

2 Lee GL1, Ow MY, Akhileswaran R, Pang GS, Fan GK, Goh BH, Wong CF, Cheung YB, Wee HL.

Quality of life domains important and relevant to family caregivers of advanced cancer patients in an Asian population: a qualitative study. Qual Life Res. 2014 Oct 25.

3 สมพร ปานผดุง,กิตติกร นิลมานัต,และลัพณา กิจรุ่งโรจน์.(2556).ความผาสุกทางจิตวิญญาณของญาติผู้ดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชในระยะลุกลามในโรงพยาบาล.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลมหาบัณฑิต,สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์.

4 วารุณี มีเจริญ. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง: การปรับตัวต่อบทบาทและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต.

Rama Nurs J • January - April 2014. Vol. 20 No. 1

5 ทัศนีย์ ทองประทีป. 2553. พยาบาล: เพื่อนร่วมทุกข์ผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: วี. พริ้น.

6 Kitrungroter L, Cohen MZ. Quality of life of family caregivers of patients with cancer:

a literature review. Oncol Nurs Forum. 2006 May 3;33(3):625-32.

7 มะเร็งคือ อะไร. เข้าถึงจาก http://www.nci.go.th/th/Knowledge/whatis.html.

วันที่เข้าไปสืบค้น 1 ตุลาคม 2557.

8 Burns, Nancy and Grove, Susan K. (2011). Understanding Nursing Research. Fifth Edition).

Maryland, Elsvier Saunders.

9 เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย สืบค้นจาก

http://www.dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf. วันที่เข้าไปสืบค้น 1 ตุลาคม 2557.

10 Best, J. W. (1978). Research in Education (3rd Ed). New Jersey: Prentice-Hall.

หมายเลขบันทึก: 592931เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2015 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2015 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท