Fresh off the boat เรียนรู้การปรับตัวเข้ากับความแตกต่างทางวัฒนธรรม


Fresh off the boat: Studying the complexities in ‘Superdiversity’

การดู ซีรียส์อเมริกันในยามว่างของดิฉันนอกจากจะเอาไว้ฝึกภาษาอังกฤษเป็นประจำแล้ว ยังมีไว้ศึกษาตัวอย่างการปรับตัวเข้ากับสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปในทุกยุคทุกสมัย ในสังคมปัจจุบัน ความแตกต่างของวัฒนธรรมชนชาติต่างๆ ยิ่งปรากฎชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฯลฯ ที่มีหลากหลายเผ่าพันธุ์และเชื้อชาติ เนื่องมาจากการอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นประเทศใหม่ซึ่งผู้คนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานได้นำเอาวัฒนธรรมของประเทศแม่ของตนเข้ามาด้วย การเดินทางท่องเที่ยว การเข้าไปประกอบอาชีพในต่างประเทศ หรือการไปศึกษาต่อสามารถทำได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะแรงงานที่มีฝีมือหรือมีการศึกษาก็เป็นที่ต้องการ

การปรับตัวเข้ากับสังคมวัฒนธรรมใหม่ (Host Society) เป็นสิ่งที่ซับซ้อน หากใครสนใจจะไปทำงานต่างประเทศหรือเรียนต่อต่างประเทศควรดูซีรีย์สนี้ไว้เป็นข้อมูล อย่างไรก็ตาม บริบทแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน ดูไว้เพื่อความบันเทิงและฝึกภาษา แถมความรู้ด้านสังคมอีกหน่อย ที่จริงเรื่องนี้มีฉากความขัดแย้งทางวัฒนธรรมหลายประเด็น แต่ขอยกมาบางประการเท่านี้ก่อน



เรื่องนี้สร้างขึ้นมาโดยอ้างอิงจากประสบการณ์ชีวิตจริงของตัวละครเอกในเรื่องนี้ คือ เอ็ดดี้ ฮวง เป็นอเมริกันเชื้อสายจีน เมื่อเขายังเด็ก ครอบครัวของเขาย้ายไปอยู่ออร์แลนโดเพื่อเปิดร้านอาหารใหม่ ครอบครัวประสบปัญหาและเผชิญความท้าทายต่างๆ ในช่วงแรกที่ย้ายเข้าไปอยู่ในเมือง ตัวละครที่มีสีสันที่สุดคือ คุณพ่อกับคุณแม่ของเขา ที่พยายามสร้างฐานะและเลี้ยงลูกให้สามารถอยู่ในสังคมได้โดยไม่ลืมแนวทางการดำรงชีวิตแบบชาวจีน คือการให้ความสำคัญกับครอบครัว ความมีวินัย ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและการประสบความสำเร็จ แม้ว่าสังคมรอบข้างจะมองว่าบางครั้งพวกเขาแปลกแยก ครอบครัว Chinese American นี้ ก็ยังคงเอกลักษณ์ที่เป็นตัวตนของเขาไว้


เอ็ดดี้ กล่าวว่า เราไม่ควรเสแสร้งเปลี่ยนตัวตนให้เป็นคนอื่น หมายความว่า สูญเสีย’ตัวตน’ ของเราในการเข้าสังคมใหม่ นาทีที่ 17.30

... My family is going to create a place in Orlando, and we’ll do our own way because you don’t have to pretend to be someone else in order to belong...

belong VI. เป็นส่วนหนึ่งของ relate:{อยู่ใน/อยู่สังกัด}{เป็นสมาชิกของ}

อันนี้ดิฉันเห็นด้วย และขอเติมว่า เราคงเปลี่ยนตัวตน ของเราไม่ได้ แต่เราต้อง ปรับตัว adapt และ เจรจา negotiate หาแนวทางที่จะอยู่ร่วมกับสังคมและผู้คนใหม่ๆ ซึ่งนับวันสังคมรอบข้างของเราก็จะมีความหลากหลายมากขึ้น

มีบางฉากในเรื่อง การรับประทานอาหารที่แปลกไปจากเด็กอเมริกันคนอื่นๆ ก็เป็นประเด็นการเข้าสังคมได้ เมื่อเอ็ดดี้ไปโรงเรียนวันแรก เขาถูกปฏิเสธให้นั่งร่วมโต๊ะเดียวกับเด็กอื่นๆ เนื่องจากอาหารกลางวันส่งกลิ่นประหลาด จึงต้องไปนั่งกินกับภารโรงซึ่งเป็นคนเชื้อสายอินเดีย

“If you grow up in an immigrant culture, there are going to be foods you eat that other people just don’t get.”

Eddie Huang, Fresh Off the Boat: A Memoir

“My entire life, the single most interesting thing to me is race in America. How something so stupid as skin or eyes or stinky Chinese lunch has such an impact on a person’s identity, their mental state, and the possibility of their happiness. It was race. It was race. It was race.”

Eddie Huang, Fresh Off the Boat: A Memoir

ประเด็นที่น่าสนใจที่เอ็ดดี้กล่าวไว้คือ สีผิว สีตา หรือ อาหารที่รับประทาน นั้นมีอิทธิพลต่อตัวตนของบุคคล ความคิดความรู้สึกของคนในสังคมมากทีเดียว คงจะเปรียบกับ การที่หลายคนพยายามที่จะเปลี่ยน “ลุค” ของตนเอง ของที่ใช้ อาหารที่กิน เพื่อที่พยายามเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ตนอยากเป็นสมาชิกด้วย อันนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก มีทุกที่

** ดิฉันเองก็เคยประสบปัญหากลางวันของตนเองที่อลังการส่งกลิ่นในห้อง common room ทุกคนสงสัยนักเรียนไทยทานอะไรกลิ่นแรง เราก็ตัดปัญหา ชวนทานด้วย อาหารไทยฝรั่งชอบจะตาย 55555 ตามบล็อกที่เคยเขียนไว้นี้ค่ะ

อาหารกลางวันและความต่างทางวัฒนธรรม Thai vs. kiwi lunch

https://www.gotoknow.org/posts/333206

นอกจากนั้น เอเมอรี่ น้องชายของเอ็ดดี้ ได้กล่าวว่า การย้ายมาสู่ทางใต้ สังคมออกจะสบายๆ ต่างจากทางเหนือที่เน้นเรื่องการเรียน ตามเรื่องที่ปรากฎในคลิปนี้ เด็กๆ มีเวลาเล่นมีเวลาทำกิจกรรมอื่นมากกว่าคร่ำเคร่งกับการเรียน

“Up North and out West, you have a bit more focus on academics, and there are accelerated programs for high-achieving kids,” said Emery Huang, reflecting on the tumultuous upbringing he shared with his brother.

อย่างไรก็ตาม ในสังคมทางใต้ เด็กชาวเอเชียอาจจะถูกข่มเหงโดยการใช้กำลัง หากไม่ลุกขึ้นสู้ พวกเขาจะโดนรังแก (bullying) เอมอรี่กับเอ็ดดี้จึงต้องสู้ จะไม่ทำตัวเป็นเด็กเอเชียหัวอ่อน (docile)

bullying (N) using superior strength or influence to intimidate (someone), typically to force him or her to do what one wants

docile (ADJ) ready to accept control or instruction; submissive.

“Down South, you’ve got football and drinking, and that’s it. If you weren’t fighting, you were a nerd and a victim.” In response to this bullying, the Huang brothers did not conform to the docile stereotypes of Asian-American youths, in large part because of the influence of their father, Louis. A hardened, street-smart man, Louis had been sent by his own father to the United States to get him away from the hoodlums he had been running with in Taipei. “We wouldn’t get in trouble with our dad if we got into a fight,” Emery said. “We would get in trouble if we didn’t win.”

อ้างอิงจาก http://www.nytimes.com/2015/02/08/magazine/eddie-h...

ทุกวันนี้เราเดินตลาดเราพบชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานมาอยู่ในชุมชนเดียวกัน พวกเขามีแนวคิด ความเชื่อ ภาษา วัฒนธรรม มีวิถีชีวิตของเขาติดตัวมาด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาว่า ความหลากหลายที่เกิดขึ้นนั้นทำให้วิถีชีวิต วัฒนธรรม การใช้ภาษา ในภาพรวมเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ชนชาติต่างๆนั้นได้ปรับตัวเข้ากับ Host Society อย่างไร ความเปลี่ยนแปลงอาจมองไม่เห็นในระยะเวลาสั้นๆ คงเป็นหัวข้อวิจัยที่น่าสนใจต่อไป

Key Terms (from Wikipedia) https://en.wikipedia.org/wiki/Superdiversity

Superdiversity is a social science term and concept often said to have been coined by sociologist Steven Vertovec in a 2007 article in Ethnic and Racial Studies,[1][2] but which he first used in a BBC article in 2005.[3] It is used to refer to some current levels of population diversity that are significantly higher than before.[4] Vertovec argues superdiversity in Britain 'is distinguished by a dynamic interplay of variables among an increased number of new, small and scattered, multiple-origin, transnationally connected, socio-economically differentiated and legally stratified immigrants who have arrived over the last decade.'[5] It denotes increased diversity not only between immigrant and ethnic minority groups, but also within them. It has also been called the 'diversification of diversity.'[6] Vertovec gives the example of Somalis in the United Kingdom, arguing that the Somali community includes British citizens, refugees and asylum-seekers, people granted exceptional leave to remain, undocumented migrants, and secondary migrantsfrom other European states.[7]

หมายเลขบันทึก: 592521เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2015 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2015 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในเรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลายมาก

เป็น Intercultural ได้เลยครับ

ขอบคุณอาจารย์มาก

สบายดีไหมครับ

หายไปนานมากๆ

จริงๆ ละครบ้านเราก็มีนะคะ เกี่ยวกับกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ ในประเทศไทย แม้แต่เราไปอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับภาษาวัฒนธรรมของชุมชนนั้น ที่พิษณุโลกก็เหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท