R2R ในงาน Palliative Care


R2R ในงาน Palliative Care

งาน Palliative care ถือเป็นอีกหนึ่งงาน Routine ที่เราอาจได้เผชิญกับปัญหาอุปสรรคในการทำงานได้ หรืออาจมี GAP เกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงสามารถที่จะนำ R2R มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการทำงานนี้ให้สามารถลื่นไหลและดำเนินไปได้

อาจดูเหมือนว่า งานไม่มีรูปแบบที่แน่นอนในกระบวนการรักษาหรือเยียวยาเพราะจะมุ่งเน้นไปทางประคับประคองและเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย ครอบครัว และญาติ

ประเด็นที่นำมาสู่การทำ R2R จึงมักมาจาก

GAP

อุบัติการณ์

ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆ

ข้าพเจ้าลองรวบรวมดู ที่พบ GAP บ่อยมากในการทำงาน Palliative care ได้แก่เรื่องการสื่อสาร ความปวด การดูแล ผู้ดูแล อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการดูแลแบบประคับประคอง

ในเรื่องการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับทีมรักษา หรือผู้ป่วยกับครอบครัวหรือญาติ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของเยียวยาแบบประคับประคอง. การศึกษาหรือพัฒนาหาถึงซึ่งแนวทางการสื่อสารที่เหมาะสมก็จัดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจของการทำงานด้านนี้

ตัวอย่างงานวิจัยเช่น

ซึ่งใช้รูปแบบการวิจัยแบบ Qualitative Research ผลการวิจัยสามารถนำมาสู่การเกิดแนวทางหรือรูปแบบที่ทีมเยียวยารักษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องการสื่อสารกับผู้ป่วยรายอื่นได้

GAP อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นปัญหาต้นๆ ที่เราพบบ่อยเช่นกัน คือ เรื่องการเจ็บปวดและการจัดจัดการกับความเจ็บปวด

เมื่อ Review ดู...พบว่า ประเด็นของเรื่องการลดความเจ็บปวดกับเรื่องการสื่อสาร เป็นประเด็นที่พบบ่อยมาก และสามารถนำมาสู่การเกิดและตั้งเป็นคำถามการวิจัยได้

เช่น...

"ผมรู้อยู่แล้วว่าต้องตาย แต่ขอตายแบบไม่ทรมาณได้ไหม"

จากประโยคดังกล่าว สะท้อนถึงสภาวะที่ผู้ป่วยเต็มไปด้วยความหวาดกลัว ความไม่รู้ และความเจ็บปวด...

เพียงเริ่มต้นตั้งคำถามด้วย Why ก็สามารถนำไปสู่การแสวงหาคำตอบ

ที่บางครั้งคำตอบอาจนำไปสู่การค้นหาหนทางในการนำไปสู่การช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไปได้

หรือ ... อาจเริ่มต้นคำถามด้วย What เป็นคำถามที่นำไปสู่การหาปัจจัยเชิงสาเหตุ หรือความสัมพันธ์ ในสิ่งต่างๆ เช่น ความเจ็บปวด ความหวาดกลัว หรือความไม่รู้ เป็นต้น

ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานวิจัย (R2R) ในงาน Palliative Care เราคุยกันว่า งานวิจัยส่วนมากมักเป็นรูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) แต่ในวงได้มีผู้แสดงทัศนะว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ แล้วเราลองเก็บข้อมูล หรืออาจศึกษาย้อนหลัง (Retrospective) ก็อาจจะได้ข้อมูลจำนวนหนึ่ง... ที่นำมาสู่การวิเคราะห์และนำไปสู่การตัดสินใจบางอย่างของการทำงานด้านนี้ได้ ซึ่งในแนวนี้ก็สามารถทำเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณได้ ...

ไม่ว่าจะอย่างไร...

คำถามการวิจัยจะเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การตัดสินใจว่าเราจะใช้รูปแบบการวิจัยแบบไหน

กรใช้แนวทางการทำ R2R มาเป็น...แนวในการทำวิจัยก็จะทำให้คนทำงานสามารถทำงานได้สนุกขึ้น...

....

๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๘

คำสำคัญ (Tags): #r2r#km#r2r ในงาน palliative care
หมายเลขบันทึก: 592488เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2015 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2015 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท