ตลาดนัดชุมชนไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้


รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ โดยการสร้างโอกาสอาชีพและรายได้ มีการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพทักษะฝีมือให้มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผู้ประกอบการOTOPที่ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม่ทั่วถึง และไม่ถาวร ซึ่งแนวทางช่วยเหลือดังกล่าวก่อเกิดเป็น “ตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้” และกรมพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการให้เกิดรูปธรรมชัดเจน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร และผู้ประกอบอาชีพกลุ่มOTOPได้มีสถานที่จำหน่ายสินค้าที่แน่นอน และมีระยะเวลาที่ต่อเนื่อง สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่เป็นธรรม 2) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร และผู้ประกอบอาชีพกลุ่มOTOP และกระจายรายได้สู่ประชาชนโดยตรง และ 3) เพื่อให้ประชาชนได้ซื้อสินค้าราคาถูก มีความเหมาะสมกับสภาพการใช้งานในชุมชน และสามารถลดรายได้ของครัวเรือน

กิจกรรมภายในตลาดนัด ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์OTOP การออกร้านจำหน่ายสินค้าธงฟ้า ราคาประหยัด การออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของส่วนราชการ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านและภาคเอกชนร่วมจำหน่ายและส่งเสริมการขาย “ตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้” กระจายทั่วทั้งจังหวัด โดยมีรูปแบบการดำเนินงานตลาดนัดในเขตเทศบาลและตลาดนัดในเขตชนบท

ขุมความรู้ที่ใช้
1. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. หลักปรัชญาการพัฒนาชุมชน
3. หลักการมีส่วนร่วม
4. หลักการบูรณาการในการทำงาน

แก่นความรู้ที่นำมาบูรณาการ
1. โครงการตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้
2. แนวทางการบริหารจัดการ 4M
3. การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้
กลยุทธ์การทำงานให้ประสบความสำเร็จ
1. การสำรวจข้อมูลผู้จำหน่าย และ ความต้องการของผู้บริโภค
2. การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ในการดำเนินงาน
3. การศึกษาและสร้างกรอบแนวคิดในการดำเนินงานตลาดนัดร่วมกับภาคีการพัฒนา
4. การเสนอโครงการและพิจารณาอนุมัติโครงการ
5. การประชุมชี้แจงภาคีการพัฒนาและผู้มีส่วนได้เสีย แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานตลาดนัดชุมชนระดับจังหวัด/ระดับอำเภอ/ระดับตำบล/ระดับหมู่บ้าน
6. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่การดำเนินงานแก่ผู้สนใจทั่วไป
7. ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกำหนดแผนปฏิบัติงาน แบ่งภาระหน้าที่
8. ประสานงานกับผู้จัดการรายเดิม และร่วมหารือการสร้างกติการ่วมกัน
9. ทดลองเปิดตลาดนัด ติดตามประเมินผล ปรับปรุงแนวทางการทำงานให้มีความเหมาะสม
10. ดำเนินการเปิดตลาดนัดชุมชนอย่างเป็นทางการ
11. กำหนดระเบียบข้อบังคับเพิ่มเติม และกิจกรรมส่งเสริมการขายประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ มีแหล่งจำหน่ายสินค้า แหล่งเรียนรู้ด้านการตลาดของสมาชิกในชุมชน นอกชุมชน การสร้างนักการตลาดรุ่นใหม่ การบูรณาการทำงานแบบมีส่วนร่วมและการรับผลประโยชน์จากการทำงานร่วมกัน

ปัญหาอุปสรรคตลาดเขตในเมือง และเขตชนบท
1. ความหลากหลายของบริบทชุมชนและวัฒนธรรมการกินของคนในพื้นที่
2. ความต้องการของผู้บริโภคในความผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในงานแตกต่างกัน
3. ความร่วมมือและความพร้อมของภาคีการพัฒนาในการทำงานตลาดนัดชุมชน
4. ความพร้อมของบุคลากรในการบริหารจัดการ 4M ในตลาดชุมชน
5. ศักยภาพในการใช้จ่ายเงินของลูกค้าในแต่ละฤดูกาล
6. ทัศนคติของหน่วยงานในการทำงานร่วมกัน
7. อัตลักษณ์ของตลาดนัดแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันตามทรัพยากรและวัฒนธรรมของชุมชน

8. วัฒนธรรมการใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคในตลาดเมือง และตลาดชุมชน

คำสำคัญ (Tags): #ตลาดนัดชุมชน
หมายเลขบันทึก: 592484เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2015 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2015 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท