Big Problems In Thailand


Big Problems In Thailand (Now a part of "ชุมชนคนรักโลก")

[What shall we do this weekend? Go and eat out on a river barge restaurant? Go to a movie? Go home to see family and old friends? Go and splash water on strangers? There are many things we can do to entertain ourselves and family and friends. Then in the cool of the night after each festive day, may I suggest we read and think about 'our future' in our environment -- the country of Thailand? Here are some clips to get us into some big problems in Thailand. ]

วาระแห่งชาติว่าด้วย"ขยะ"
http://thaipublica.org/investigations/waste/
.. ."ขยะ" เป็นเสมือนโรครื้อรังที่รักษาไม่หาย กลายเป็นปัญหาระดับชาติ เพราะการขาดความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐในฐานะผู้กำกับดูแลและผู้กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการ ขณะที่เอกชนก็ดำเนินการอย่างขาดความความรับผิดชอบ มีขบวนการลักลอบทิ้งขยะพิษ กากอุตสาหกรรม ขยะติดเชื้อ เป็นข่าวให้เห็นบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มธุรกิจที่พลิกปัญหาเป็นโอกาสสำนักข่าวไทยพับลิก้าขอรวบรวมและติดตามมานำเสนอในซีรี่ส์นี้...
-โมเดลจัดการขยะชะงัก ผู้ว่าปทุมธานีเผยมีทั้งฝ่าย "ร้องเรียนและคัดค้าน" – ขยะล้นเมือง ตกค้าง 2.2 แสนตัน
-นายก อบต.เชียงรากใหญ่ ยันยังไม่สร้างโรงงานขยะในพื้นที่ มีกฎหมายอีกหลายขั้นตอนและประชาชนยังไม่เห็นชอบ
-ชาวเชียงรากใหญ่คัดค้านโรงงานเผาขยะเพื่อผลิตไฟฟ้า ทำประชาพิจารณ์บิดเบือน ระบุเป็นพื้นที่สีเขียวและจะสู้จนถึงที่สุด
-กรุงเทพฯ เมืองสร้างขยะมากสุด 9,900 ตัน/วัน หนึ่งคนผลิต1.53 กก./วัน ใช้คนเก็บขน 10,221 คน
-ขยะไทย ขยะโลกกว่าครึ่งคืออาหาร แต่ประชากร 1 ใน 8 คนอยู่ในสภาพอดอยาก

ภัยพิบัติสาธารณภัยประเทศไทย
http://thaipublica.org/investigations/disaster-in-...
...ประเทศไทยเริ่มมีความเสี่ยงภัยพิบัติสาธารณภัยด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น อาทิ ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหวอาคารถล่ม ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย รวมทั้งภัยพิบัติอื่นๆ สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าจะติดตามและนำเสนอชุดข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภัยพิบัติสาธารณภัยต่างๆในซีรี่ย์นี้...

-รายงานธนาคารโลก "บทเรียนจากภัยพิบัติกรณีญี่ปุ่นปี 2554 " – 30 ปีก่อหายนะมากกว่า 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
-"ดร.ปัญญา จารุศิริ" เก็บตกแผ่นดินไหว อ.พาน กับข้อสงสัยรอยเลื่อนมีพลังหลบซ่อนตัว
-กสทช. เตรียมออกกฏ " วิทยุ โทรทัศน์" ถ่ายทอดกรณีเกิดภัยพิบัติฉุกเฉิน
-"ดร.ทวิดา กมลเวชช" นักจัดการภัยพิบัติ ประเมินความพร้อมประเทศไทย ต้องหยุด"บูรณาการ"แบบงานวัดงานกฐิน
-สัตว์รู้ล่วงหน้าก่อนเกิดแผ่นดินไหวจริงหรือ?

ปัญหาที่ซ่อนในห่วงโซ่อาหาร ปลาป่น ข้าวโพด หมอกควัน น้ำท่วม (ตอนที่1): ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การแก้ปัญหาหรือมายาคติ
http://thaipublica.org/2015/04/maize-crop-cycle-4/ 10 เมษายน 2015

...เมื่อ 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งโดยสรุปแล้วพื้นที่ที่พบว่าเป็นปัญหาในช่วง 2545-2556 มีการเพิ่มขึ้นถึง 109% โดยมีจำนวน 61% เป็นพื้นที่ป่า หากคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 30,000 ไร่ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ข้อมูลถึงสาเหตุที่ต้องเผาตอซังหลังการเก็บเกี่ยวว่า เป็นเพราะพื้นที่ดอนที่ทำการเพาะปลูกนั้นไม่สามารถทำการไถกลบได้เหมือนกับพื้นที่ราบ
ดังนั้นปัญหาเรื่องหมอกควันในวันนี้ก็เกิดจากการเพาะปลูกในพื้นที่ชันเป็นหลัก สำหรับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งถือเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รายใหญ่ ลำดับต่อมาคือ 2 บริษัทเอกชนที่เป็นผู้รับซื้อผลผลิตรายใหญ่ในแถบนั้น คือ เบทาโกร และเครือซีพี ทั้ง 2 บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 40% และ 28% ตามลำดับ แต่ซีพีถือเป็นบริษัทเดียวที่ทำธุรกิจด้านการเกษตรแบบครบวงจร ตั้งแต่การขายปัจจัยการผลิต เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ไปจนถึงการรับซื้อ...

วิกฤติอาหารอาบพิษ
http://thaipublica.org/investigations/toxic-food-c...
...ปัญหาสารเคมีตกค้างในอาหารเกินมาตรฐาน เป็นเรื่องที่กระทบสุขภาพของผู้บริโภค รวมทั้งตัวเกษตรกรที่เป็นผู้ใช้สารเคมี การผลักดัน รวมทั้งมาตรการต่างๆ ของรัฐที่ออกมาดูคล้ายจะไม่เป็นผล เมื่อสถิติการนำเข้าสารเคมีเกษตร โดยเฉพาะสารกำจัดศัตรูพืชของไทยติดอันดับต้นๆ ของโลก ขณะเดียวกัน รายงานการพบสารตกค้างในผัก-ผลไม้ เกินค่ามาตรฐาน แสดงให้เห็นว่าคนไทยกำลังยืนอยู่บนความเสี่ยงด้านสุขภาพ อะไรคือสาเหตุสำคัญของปัญหา และหน่วยงานภาครัฐจะมีแนวทางในการจัดการปัญหานี้อย่างไร ติดตามได้ในซีรีส์นี้...

[You may say "bah bah bah humbug"; "what the use"? "we can't do anything!"; "we have enough problems of our own already" and so on. But these (and more) problems in Thailand are not going away or getting solved for us. We are direct victims of these problems --whether we know about them or not--. Perhaps reading about the problems, thinking about solutions, preparing ourselves and family for worst case scenarios can help us deal with these problems when they reach "flash points" and claim victims in their wakes. I am sure you would also want to share your thoughts and ideas or solutions. I am not smart, so I can use your brain ;-) ]

หมายเลขบันทึก: 588726เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2015 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2015 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)

The crisis effect of capitalism development, Destroy all around the world, we call golbalization disease.

มีภาพมาฝาก..สิ่งที่ทำได้ในประเทศเรา..เพียง..ว่า..เรียนรู้กันเสียก่อน..ว่า ขยะคืออะไร..เรามีสัดส่วนอะไรกับขยะเหล่านี้..เรามีความสามารถในการผลิตขยะทุกๆท่านขึ้นต้นที่ตัวเรา...หากคิดและสำนึกได้เมื่อใด...ขยะที่ผลักให้พ้นหน้าบ้าน..คงไม่ลอย..มาเหม็นแน่นอน...

เขาเขียนไว้ข้างรถว่า.สิ่งมี.คุณค่าคือรักษาสิ่งแวดล้อม..

มีรายงานข่าว..นานมาแล้วแต้ไม่นานเกินจำ..อยากจะมาบอกว่า..ที่เบอร์ลินมี..โรงงานขจัดขยะที่ทันสมัยที่สุด...สมบรูณ์แบบ..ระบบการขนส่ง การแปรรูป..หลังแยกขยะ...ทุกชนิดออกจากกัน..และผลิตขยะให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง.(.เข้าไปเหม็นและออกมาหอมอะไรๆทำนองนั้น).และแน่นอนว่า ขยะต้นทางถูกทำให้เข้าใจถึงปัญหาและทุกๆคนต้องร่วมใจกัน...ปฏิบัติ..ร่วมกัน..สำคัญเขาเก็บภาษีขยะ..และค่าเก็บขยะ...

(บ้านเราก็เก็บค่าขนขยะเหมือนกัน..แต่..เท่าที่สัมผัสมา...อยากบอกว่า..ไม่รู้จะวิเคราะห์หรือวิจาณ์..อย่างไรดี..)...ภูเขาขยะ ไหม้ ส่งผลเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก..แต่รู้สึกว่า..เราเห็นและสัมผัสว่าเป็นเรื่องเล็ก..คนส่วนใหญ่ยังไม่เดือดร้อน..เพราะอะไรไม่ทราบ..หรือข่าวว่าเชียงใหม่..หมอกควันปกคลุมหนัก..ไม่กระเทือนทรางเหมือนกัน..หมอกควันกรุงเทพมีมานานเกินสี่สิบปี..เครื่องฟอกอากาศขายดีขึ้น..ไม่ทราบทำไมคนจึงมีเงินร่ำรวยมีเงินอยู่ตึกระฟ้า..คนเดินถนนหายใจไม่ออกไม่เป็นไร..ท้องถนนเวลานี้..มีกลิ่นแปลกๆเดินถนนบ่อยๆเมื่อไปเมืองไทย..บ้านเราใช้แก้สเติมรถ....มีมากกว่าประเทศที่ผลิตรถยนต์เอง..เครื่องที่ใช้ติดรถยนต์ชนิดนี้เพื่อเปลี่ยนจากน้ำมันมาเป็นแก้ส..ใครเป็นช่างฟิตระดับชาวบ้านก็ทำได้...(เก่งจริงๆ)..นึกถึงรถยนต์ที่ใช้เบนซิลที่มีสารตะกั่ว..แล้วฝรั่งหลอกให้ใช้มานานปี....คงเหมือน ขยะเวลานี้..นะ คุณsr...

ภาพที่ส่งมาให้เบื้องแรก..กับเรื่องเล่า..เกี่ยวกับขยะในกรุงเบอร์ลิน..และโรงงาน...คงจะเป็นภาพ ที่มีความหมายเพียง..เห็นช้างขี้..ขี้..ตามช้าง..๕..

Thanks วัฒนา คุณประดิษฐ์ : We can call them whatever names, give them labels and see if we can solve them. We must solve them whether they are global or greed problems. If we don't then...

Danke ยายธี : It is rather sad that we (or most of Thais) don't see the BIG picture of rubbish in our environment. Most see little pieces on roads and in waterways and don't see where these pieces go. We are dumping into the Gulf of Thailand -- the source of our (sea) food. Eating rubbish will make anyone sick.

Not just pieces of rubbish, but also soaps, shampoos, detergents, oils, toxic chemicals (from farms and factories) and human wastes end up in the Gulf of Thailand too. We can see a lot on a cruise down south!

I don't if we can use the Berlin model or the common gasification mountains around European cities or just shred-and-burn to generate electricity (and create air pollution)...

Keep well ยายธี.

....นานมาแล้วแต้ไม่นานเกินจำ..อยากจะมาบอกว่า..ที่เบอร์ลินมี..โรงงานขจัดขยะที่ทันสมัยที่สุด...สมบรูณ์แบบ..ระบบการขนส่ง การแปรรูป..หลังแยกขยะ...ทุกชนิดออกจากกัน..และผลิตขยะให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง.(.เข้าไปเหม็นและออกมาหอมอะไรๆทำนองนั้น).และแน่นอนว่า ขยะต้นทางถูกทำให้เข้าใจถึงปัญหาและทุกๆคนต้องร่วมใจกัน...ปฏิบัติ..ร่วมกัน..สำคัญเขาเก็บภาษีขยะ..และค่าเก็บขยะ...

ขอบคุณ ยายธี และคุณ sr ค่ะที่เอาเรื่องขยะมาคุยอีก คิดได้แล้วมีนายทหารที่เคยเป็นศิษย์คนหนึ่งทำงานให้ คสช (ระดับเล็ก ๆ) เขาส่งอีเมล์มาคุย เดี๋ยวส่งข้อมูลโรงงานชจัดขยะที่เบอร์ลินไปให้ เผื่อ นายก ฯ ส่งคนไปดูงานรัฐธรรมนูญ อาจพ่วงดูงานและเชิญมาช่วยเรื่องขยะด้วย ฝันให้ไกลไว้ค่ะ


Thank you GD : (I feel lifted by your intended action.)

[I had a quick look on the Net and found this:]

A comparison of municipal solid waste management in ...
www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20022478
by D Zhang - ‎2010 - ‎Cited by 36 - ‎Related articles
Waste Manag. 2010 May;30(5):921-33. doi: 10.1016/j.wasman.2009.11.017.

A comparison of municipal solid waste management in Berlin and Singapore.
Abstract
A comparative analysis of municipal solid waste management (MSWM) in Singapore and Berlin was carried out in order to identify its current status, and highlight the prevailing conditions of MSWM. An overview of the various aspects of MSWM in these two cities is provided, with emphasis on comparing the legal, technical, and managerial aspects of MSW. Collection systems and recycling practiced with respect to the involvement of the government and the private sector, are also presented. Over last two decades, the city of Berlin has made impressive progress with respect to its waste management. The amounts of waste have declined significantly, and at the same time the proportion that could be recovered and recycled has increased. In contrast, although Singapore's recycling rate has been increasing over the past few years, rapid economic and population growth as well as change in consumption patterns in this city-state has caused waste generation to continue to increase. Landfilling of MSW plays minor role in both cities, one due to geography (Singapore) and the other due to legislative prohibition (Berlin). Consequently, both in Singapore and Berlin, waste is increasingly being used as a valuable resource and great efforts have been made for the development of incineration technology and energy recovery, as well as climate protection.

[Perhaps a Singapore Model may fit better to Thailand's situation. And it also offers a possibility of offshore recycling for Thailand ;-) ]

For your information:

1) Waste management in Thailand is governmed by

กฎกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการเก็บขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และอัตราค่าธรรมเนียมอี่นๆ พ.ศ. 2545

ค่าเก็บและขนมูลฝอยประจำเดือน ที่มีปริมาณมูลฝอยวันหนึ่งไม่เกิน 500 ลิตร

- วันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร 40 บาท
- วันหนึ่งเกิน 20 ลิตร ค่าเก็บและขนทุก ๆ 20 ลิตร หรือเศษของแต่ละ 20 ลิตร 40 บาท

ค่าเก็บและขนมูลฝอยประจำเดือน ที่มีปริมาณมูลฝอยวันหนึ่งเกิน 500 ลิตร

- วันหนึ่งไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร 2,000 บาท
- วันหนึ่งเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ค่าเก็บและขนทุกๆ ลูกบาศก์เมตรหรือเศษของลูกบาศก์เมตร 2,000 บาท

ค่าเก็บและขนมูลฝอยเป็นครั้งคราว ครั้งหนึ่งๆ ไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ครั้งละ 150 บาท
ครั้งหนึ่งๆ เกิน 1 ลูกบาศก์เมตรค่าเก็บและขนทุก ๆ ลูกบาศก์เมตรหรือเศษของลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์เมตรละ 150 บาท

2) Pay as you throw (PAYT) in Thailand is mentioned (in 2001) in

หลุมฝังกลบขยะมูลฝอยชุมชน แบบถูกสุขลักษณะเป็นอย่างไร ตอนที่ 3 *
บทความ: ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกููร
www.compost.mju.ac.th/aerated/.../หลุมฝังกลบ3.pdf
...โครงการ Pay-as-You-Throw (PAYT) หรืือ Unit Pricing
ตามโครงการนี้ผูที่ทิ้งขยะในปริมาณที่มากกว่าจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับการจัดเก็็บ
ขยะและการกำจัดที่มากกว่าเพือส่งเสริมให้มีการหมุนเวียนวัสดุกลับมาใช้ประโยชนใหม่และลดปริมาณขยะมููลฝอยที่จะต้องนำไปฝังกลบ ซึ่งย่อมมีผลทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยััดด้วย การเก็บค่าธรรมเนียมทำได้โดยวิิธีการบังคับให้ซื้อถุงขยะ บังคับให้ซื้อป้ายสำหรับแขวนถุงขยะ และคิดค่าธรรมเนียมตามขนาดถุงขยะหรือนำ้หนักของถุงขยะ การเก็บค่าธรรมเนียมด้วยวิิธีนี้ เมื่ื่อเปรียบเทียบกับการเก็บค่าธรรมเนียมแบบเดิมที่แฝงมาในค่านำ้ประปา ไฟฟ้า หรือภาษีีท้องที่ ในอัตราคงที่แล้ว พบว่าปริมาณการเก็บขยะมูลฝอยที่จะต้องทำการจัดเก็็บ (Collection) ได้ลดลงไปอย่างเห็็นได้ชัด ในปี ค.ศ. 1995 มีชุมชนราว 3,400 ชุมชนหรือคิดเป็น 20 ลานคนได้เข้าร่วมโครงการนี้ (Office of Solid Waste, 2001(2))...

[We may ask questions like : Are these programs still running? Why does more and more rubbish escape (from collection) in these programs? What role and volume 'private collectors' reduce from local goverment/admintstration waste management?...]

ที่ใส่ขยะ..เทศบาลเอาตั้ง ซื้อมาเอง..ราคาหลายร้อย..ถังพลาสติค..(ห่วยที่สุด)..โดนขโมยเรียบ...แม้แต่มิเตอร์น้ำ..ก็ต้องโบกปูนเอาไว้..(หัวเราะไม่ออก..แม้ว่าจะเป็นโจ๊กจาก..ชีวิตจริงๆบ้านเรา...

ตอนอยู่ไร่..เคยทำหลุมฝัง ขยะ ที่ชาวบ้านเอามาทิ้งไว้ตามถนนในไร่และรอบไร่ และเพื่อหลีกเลี่ยงการเผา..หลุมเต็มก็ปลูกต้นไม้ไว้..(แต่มันแก้ปัญหาขยะที่คนทิ้งทุกวันไม่ได้..)..และอนึ่ง..ภูเขาเลากาจากขยะตั้งแต่สงครามในเยอรมัน..สร้างปัญหามลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ผลมาปรากฏเมื่อ..สี่สิบปีให้หลัง..(เวลานี้..รัฐในฮัมบอรก)..ได้แก้ปัญหาไป..ใช้เงินหลายร้อยล้าน...เพื่อแก้ปัญหา..ฝนชะล้าง..สารพิษที่สะสมอยู่มากมายจากภูเขาขยะลูกนี้...เป็นตัวอย่างหนึ่ง..

เขาเรียกกันว่า..พายเรือในอ่าง...ความจริง

แก้ได้ง่ายแค่ไม่ใช้สิ่งเป็นขยะถาวร..รวบรวมวัตถุย่อยได้สลายได้เองตามธรรมชาติ..เทคนิค..ทำแก้ส..ใช้เองได้ในครัวเรือนก็เป็นความรู้ที่ทำกันได้ในครอบครัวเล็กๆ..แต่เราทำกันไม่ได้เหตุผลก็เป็นที่รู้ๆกันอยู่ว่าทำไม...

ก็ลองไปดู..ประวัติอุตสาหกรรมของอเมริกาและยุโรป..ว่ามีความสัมพันธุ์กันอย่างไร..แล้วคงหัวเราะให้กับ..ปัญหาที่อยู่ปากคอกบ้านเรา..อิอิ

เรื่องที่จะใช้ใครมาดูงานแล้วแก้ปัญหาได้..(เก็บเงินค่าเครื่องบินโดยสารชั้นหนึ่ง..บินมาทั้งครอบครัว..มีเงินไม่ทราบมาจากไหน..ช้อบปิ้งอิอิ)...บริหารจัดการเก็บขยะ..ไม่ใช้ขยะถาวร..ให้ได้.. จะเป็นพระคุณกับชาวบ้านมากกว่ามั้ง...เคย..คุยไปกับกระแสร์ลม..ตอนไปแถวกุยบุรีเมื่อเห็นขยะรายรอบหมู่บ้าน...ได้ยินคำตอบลอยลมมาว่า..ทำอะไร..ไม่ได้หรอกครับ...

ที่จริง..ยังไม่เคยเห็นคนทำจริงจังเลยสักคน..เพราะบอกว่าทำไม่ได้เสียก่อนรึเปล่า...ไม่รู้...(ฝรั่ง..มีปัญหาเหมือนบ้านเราเกี่ยวกับคน..ฝรั่งไม่ใช่เทวดา..หากแต่..เขายังใช้ระบบระเบียบวินัย..บังคับกันได้...ไม่ใช่..ปฏิวัติปฏิรูปเรื่อยเปื่อย..แก้กฏหมายเข้าข้างพวกเมอยึด..อำนาจได้..ฝรั่งทำคนละจุดกับเรา..อย่างน้อย..เขายังรักษาสิ่งที่คนหมู่น้อยต่อสู้เพื่อให้มีความสำคัญในความเป็นมนุษย์เท่ากัน...ดูอเมริกากับปัญหาคนผิวสีเป็นต้น..(เรื่องอ่นอย่าเพิ่งไปเอามาแทรก..อิอิ

โอ้ยยาวไปแล้ว..สวัสดี..ค่ะsr..ชอบที่คุณใส่ใจ..ต่อปัญหาที่เม้าส์กัน...

Dear ยายธี: It is quite disheartening to see our efforts to 'do the right thing' is rewarded by scoundrels. They are like cancers in our society. They are killing themselves in blind ignorance and killing us in careless attitude. And like cancer treatments, we have to be very mindful of several factors, so that the treatments don't kill us before cancers do. Thai society today is inflected by so many 'diseases' of the body and the mind. The corruption culture and the lack of 'disciplinary habit' are wide spread and growing. Compounded by the 'none of my business' mindset, problems are left to grow BIG and BIG problems are money making machines for some. Because of that BIG problems are often scrubbed (not solved) and then fed (to fatten up) so that they provide more money for a longer time.

But let me talk about Songkran 2015 another Thai New Year. A time for joy, family and friends get-together to witness the survival of each other through the past year's miseries and fortunes, to welcome the first rain for new planting season and the cycle of life to begin anew again. You and I know after many seasons of rains, we have not yet seen the best nor the worst of man, especially of our close neigbours and friends. Neither, have we stopped being surprised by what generations of people can do. What is Songkran? A change over, a new hope, a new position and a new time to see things -- all over again. Let us be thankful for our remaining senses and thinking faculties. We will hear, see, smell, feel, taste and understand our lives and our mind in this changing world.

I wish you a happy Songkran and a joyous new year.

This goes to all readers -- yes, you too ;-)

Hello Khun Sr, GD ได้ให้ข้อมูลเรื่องการกำจัดขยะที่เป็นข้อห่วงใยของทุกท่านในที่นี้ผ่านคนในกองเลขาของ คสช. เรื่องที่ยายธีให้ข้อมูลเรื่องการกำจัดขยะของเบอรลิน ที่ท่านให้ข้อมูล และบทความเปรียบเทียบระบบของสิงคโปร์ และเบอร์ลิน ได้รับคำตอบมาแล้ว หวังว่าคำแนะนำเหล่านี้อยู่ในบันทึกและถึงหูผู้เกี่ยวข้องค่ะ นี่คือคำตอบที่ได้รับ

.....เรื่องที่ท่านได้กรุณาให้คำแนะนำมานั้น ผมจะนำเสนอเข้าสู่คณะกรรมาธิการของ สนช. (วุฒิสภาเดิม) ในลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมทั้งให้ข้อพิจารณาของท่านไปพร้อมกันด้วยเลย

สำหรับเรื่องแรก คือ เรื่องขยะนั้นปัจจุบันยังถือว่าเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการตาม roadmap ของ คสช.ที่ได้ประกาศไว้ตั้แต่เดือน ส.ค.๕๗ ซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น ๓ ช่วง คือ เร่งด่วน ปานกลาง และยาว ปัจจุบันนี้อยู่ในระยะปานกลางครับ รัฐบาลไม่ได้แผ่วลง แต่อาจจะชิงพื้นที่เรื่องข่าวนี้จากสื่อได้น้อยกว่าประเด็นอื่น ๆ ท่านหมดห่วงได้ครับ กำลังทำอยู่มีรายละเอียดมากมาย โดยสรุปก็คือ กำลังไปสู่ทุกจังหวัดประมาณ ต.ค.๕๘ อย่างที่ท่านกล่าวไว้ทุกประการครับ......




Thank you : Your help is very much appreciated. I think we have a new example of citizen-initiated social action for society development here. You are of course a very effective agent. Because of you, we have government's attention and a response.

As for the response, I was reminded of a long-running late QLD premier Joh Bjelke-Petersen (back in the 80's) and his famous answer when asked by the media about certain state issues. Sir Joh repeatedly responded with "Don't you worry about it. Let me worry aboit it." and more often the issues were swept under the curpet or kept in the cool troom or waiting for a new battery. Nothing got done. No datails were released. Sir Joh lost government in 1987 and most 'issues-in-waiting" were also lost.

It is commendable to work things out in details (because "the devil is in the detail") but we are willing to help filling in the details. We are fulfilling our citizens' obligation and duty by (self-initiated) actions --not by waiting for orders-- Rubbish in our environment is a BIG and URGENT matter. It is a PUBLIC health and safety matter. It is a "life impacting" matter. It is at least three (3) of four (4) essential life-factors. It is about "food, health and housing". And here we stand "naked" in the eyes of the world on top of piles of rubbish and we tell the world "we are going to do something about it".

We are doomed from the start when or if we set out to make money and wars and forget to make a "home".

Good morning. อย่างน้อยเราก็ทราบว่าจะมีระบบกำจัดขยะทุกจังหวัดประมาณตุลาคม 2558 ระบบในรายละเอียดก็คงมีอยู่แล้ว แต่ข้อมูลที่ให้ไปน่าจะมีประโยชน์ เติมเต็มสิ่งที่ยังขาดอยู่ คงต้องรอดู สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือแต่ละจังหวัดจะทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง ต่อยอดให้ดีขึ้นหรือไม่ เพียงใด เพราะเชื่อแน่ว่าถ้าจังหวัดไม่ให้ความสำคัญหรือไม่คิดเพิ่มเติม ไม่ให้ทุกชุมชนมีส่วนร่วมดูแลรักษาและพัฒนา ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ 2-3 คนทำไป ทุกอย่างก็จะจบในเวลาอันรวดเร็ว ต้องสร้างจิตสำนึกของคนในเรื่องนี้ทุกวัน ควบคู่กับการใช้มาตรการทางกฏหมาย 5 ปี น่าจะสำเร็จนะคะ .....

Thabk you GD: You are right we have reasons to be more optimistic and patiently hopeful for a few more months. If we just keep feeding into 'this' thread with examples, discussions and ideas, then we may tacitly contribute more to the 'reform'.

(I would like to see packaging and products manufacturers contribute more into cleaning up Thailand. After all they are at the start of our rubbish chains.)

[I spotted this in Naewna newspaper -- it's about the Songkhla lagoon and wildlife in it.)

http://www.naewna.com/scoop/155795
"สัตว์ทะเลหายาก"เสี่ยงสูญพันธุ์!
ประมงล่า-ขยะล้น...ไม่ตายก็พิการ
วันพุธ ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558, 02.00 น.
...ข้อมูลของ "กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง"(ทช.) ระบุว่า สาเหตุของการเกยตื้นตายส่วนใหญ่ พบว่า มีอาการบาดเจ็บหรือตายจากกิจกรรม "ประมง" โดยเฉพาะเครื่องมือประมงชายฝั่ง ได้แก่ "อวนลอย" ตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมง ขณะที่ในกลุ่มโลมาและวาฬยังพบสาเหตุจากการ "ป่วย" ตามธรรมชาติ โดยพบการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจด้วย

นอกจากนี้ "ขยะ" ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ซึ่งมีแนวโน้มของปัญหาเพิ่มขึ้นทุกปี ค่าเฉลี่ยของเต่าทะเลและโลมาที่ "กลืนขยะ" ที่ถูกทิ้งลงในทะเล และเข้าไปสะสมอยู่ในระบบทางเดินอาหารมีร้อยละ 2-3 แต่หากนับจำนวนของการเกยตื้นที่มีขยะทะเลเกี่ยวพันภายนอก โดยเฉพาะขยะจำพวกอวนซึ่งพบมากในเต่าทะเลจะมีเปอร์เซ็นต์การเกยตื้นจากสาเหตุขยะสูงถึง 20-40% โดยส่วนใหญ่ถ้า "ไม่ตาย ก็พิการ" จนกลับไปใช้ชีวิตในทะเลไม่ได้...
...นอกจากนี้ "คุณภาพน้ำ" ในทะเลสาบสงขลาเสื่อมโทรมลง เพราะมีการปล่อยน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากที่อยู่โดยรอบ ประกอบกับมี "ชุมชนแออัด" หลายแห่งที่อยู่ติดกับทะเลสาบ ซึ่งทิ้งขยะมูลฝอยและน้ำเสียลงในทะเลสาบจำนวนมาก ก่อให้เกิดมลพิษและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาล กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชากรของโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลามีความเสี่ยงที่จะสูญพันธ์...

[This news clip from Post Today says "we will burn rubbish and somewhere burn to generate electricity. ]

"บิ๊กตู่"เล็งกำจัดขยะล้นเมืองถาวร 30 เมษายน 2558 เวลา 17:52 น
http://www.posttoday.com/การเมือง/362344/บิ๊กตู่-เล็งกำจัดขยะล้นเมืองถาวร

"ประยุทธ์" เล็งแก้ปัญหาขยะล้นเมืองถาวร หลังรัฐบาลเก่าไม่จริงจัง เผยสั่งวางแผนสร้างโรงกำจัดขยะทั่วประเทศแล้ว...การแก้ปัญหาขยะที่มีมากขึ้นว่า รัฐบาลที่ผ่านมาไม่ได้แก้ปัญหาขยะอย่างจริงจังเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง ซึ่งเจ้ากระทรวงในรัฐบาลขณะนั้นมาจากหลายพรรคการเมือง พอเริ่มดำเนินการก็ติดขัดในหลายเรื่อง...วางแผนว่าทั่วประเทศจะต้องมีโรงงานกำจัดขยะกี่โรงงานและจะเริ่มต้นที่ไหนได้บ้าง โดยขณะนี้มีโรงงานกำจัดขยะนำร่องที่จ.พระนครศรีอยุธยา ส่วนจังหวัดอื่นๆ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต้องแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหาวันนี้คือจำนวนขยะทั่วประเทศเป็นแสนเป็นล้านตันที่จะต้องแก้ไข...โดยเบื้องต้นจะต้องใช้วิธีการฝังกลบก่อน ส่วนอนาคตจะนำกลับมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งหากไม่ดำเนินการแบบนี้ในอนาคตพลังงานก็จะไม่เพียงพอ เพราะน้ำในเขื่อนน้อยทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ทัน พลังงานแสงอาทิตย์ก็ไม่พอ........ อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1DEemWP

[Not all people are thrilled of having a power generating plant nearby. Let alone a rubbish burning one.]

ม็อบต้านโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ท่าชนะ สุราษฎร์ธานี สลายตัวแล้ว หลังสภา อบต.ไม่เห็นชอบให้สร้าง [ผู้จัดการ]
http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=95...


We have now an indicator of seriousness to tackle one of many big problems in Thailand.

Please see 'Pie on Menu in Thailand... https://www.gotoknow.org/posts/590601 ' for more detail.

We don't have details of how this program will be run and what mechanisms or formulae will be used to encouraged community/private involvement. What we may to find out is the 'scope' of the program because the wording in that report 'กิจการพัฒนาระบบจัดการมูลฝอย' opens many possible opportunities that may not be in mutual agreement between proposals and funding authorities.

What is your thought? Share it.

[This article shows another type of community wastes that often gets overlooked even by local administrations who are in-charge of managing community wastes. Perhaps we can help by not using shampoos and detergents or disposing used oil into our drainage (systems).]

ระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครขอนแก่น กระทบชาวบ้าน สูญเสียอาชีพ?
วันเสาร์ ที่ 16 พฤษภาคม 2558 เวลา 08:39 น.
เขียนโดย วิชัย ทองจันทร์ นักเขียนในโครงการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพให้กับบุคลากรในวิชาชีพสื่อมวลชน

ชาวขอนแก่นโวย ระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครขอนแก่น "ไม่ชัวร์" ปล่อยน้ำเสีย ชุมชนกระทบหนัก เลิกทำเกษตร ปลาขายในตลาดไม่ได้

...ตรวจสอบพบน้ำเสียในพื้นที่ชุมชนใกล้บ่อบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครขอนแก่น ชาวบ้านที่รับน้ำโวย ทำไมน้ำที่มีจากบ่อบำบัดมีสีเขียว ส่งกลิ่นเหม็น ส่งผลกระทบหนักต้องเลิกทำอาชีพเกษตรและประมง ขณะที่เทศบาลยืนยันบ่อบำบดมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากล แต่มีบางชุมชนโดยรอบไม่สามารถต่อท่อส่งน้ำเสียมาบำบัดได้ เพราะต้องใช้งบกว่า 100 ล้าน

ชาวบ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 6 ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น พบการลักลอบปล่อยน้ำเสียจากเขตเทศบาลนครขอนแก่น ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน ในพื้นที่เขตติดต่อระหว่างเขตเทศบาลนครขอนแก่น กับ ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น มานานกว่า 1 ปี โดยไม่มีหน่วยงานใดให้ความช่วยเหลือ แม้ชาวบ้านจะมีการประชุมเพื่อทำประชาคมและท้วงติงการปฏิบัติงานของเทศบาลนครขอนแก่น ผ่านเทศบาล ต.พระลับ ไปแล้วหลายครั้งแต่ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข...

นำขยะอันตรายแลกรับ ของรางวัลที่เซ็นทรัลลาดฯ วันศุกร์ ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558
http://www.naewna.com/local/161542

...ผู้อำนวยการเขตบางเขน กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักสิ่งแวดล้อม สำนักงานเขตกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ 7 เขต ประกอบด้วย เขตหลักสี่ ดอนเมือง บางซื่อ จตุจักร ลาดพร้าว สายไหม และเขตบางเขน และห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ร่วมจัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก ภายใต้แนวคิด 7 พันล้านฝัน 7 พันล้านใจ คิดห่วงใยในผืนโลก (ขยะมีพิษ ต้องหยุดคิด ก่อนแยกทิ้ง) ... ที่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว เขตจตุจักร
โดยจัดกิจกรรมตลาดนัดขยะอันตรายจากบ้านเรือน ได้แก่ หลอดไฟ ถ่ายไฟฉาย แบตเตอรี่ ภาชนะใส่สารกำจัดแมลง ฯลฯ มาแลกรับของรางวัลได้ นอกจากนี้ภายในงานมีบูธของสำนักงานเขตกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ การจัดนิทรรศการ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ และร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนขยะอันตราย จึงขอเชิญชวนผู้สนใจทุกท่านร่วมกิจกรรมได้ ในวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน

ลำพูนถกแก้ปัญหาโรงงานปล่อยเสีย ให้เวลา7วันหากทำไม่ได้สั่งปิด!
วันศุกร์ ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558, 19.47 น.
http://www.naewna.com/local/161740
...ผู้แทนจากศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด, อุตสาหกรรมจังหวัด, สาธารณสุขจังหวัด, บ.ไทยอริฟูดส์ จก.(มหาชน), ตำรวจ, นอภ.เมืองลำพูน, กกล.รส.พล.ร.๗ จว.ล.พ. และชาวบ้านจากหมู่ 4, หมู่ 10 และ หมู่ 14 ต.เหมืองจี้ อ.เมือง จำนวน 75 คน ร่วมประชุมหาทางออกแก้ไขปัญหาจากโรงงาน เนื่องจากร่องน้ำหน้า บ.ไทยอริฟูดส์ จก.(มหาชน) มีน้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็น ไหลลงสู่ลำเหมืองที่ใช้ในการเกษตรและสวนลำไย เผาฟืนเพื่อใช้ความร้อนในการอบผลไม้(ลิ้นจี่) กระป๋อง ทำให้เกิดควันไฟที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานตั้งแต่ปี 2534 สิ่งที่ชาวบ้านต้องการให้บริษัทแก้ไขคือ การกำจัดน้ำเสีย การขุดลอกบ่อ การซ่อมแซมปล่องควัน การกำจัดขยะทั้งระยะสั้นและระยะยาว และการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นรายๆไป...

ดิฉันค่อนข้างมั่นใจว่ารัฐบาลมีความจริงใจในการจัดการขยะระดับประเทศ โดยหวังว่าจะมีนวตกรรมนำขยะไปใช้ประโยขน์ และกำจัดอย่างเกมาะสม

ดิฉันขอมองมุมที่ประชาชนต้องรับผิดชอบขยะในครัวเรือนบ้างว่า

เราต้องลงมือทำในสื่งต่อไปนี้

- สร้างวินัยเรื่องไม่ทิ้งขยะโดยเด็ดขาด เพราะขยะทุกชิ้นที่ทิ้งสร้างปัญหาต่อสัตว์น้ำ ต่อการระบายน้ำ - ปัญหาน้ำท่วม - การใช้พลังงานสูญเปล่าบนถนน - ใช้พลังงานมากเกินจำเป็นในการจัดการน้ำท่วม + จัดการขยะ - ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ - ปัญหาสุขภาพมนุษย์ - การใช้ทรัพยากรเพื่อการรักษามากเกินจำเป็น - ขาดงบประมาณสำหรับเรื่องจำเป็นกว่า ------- ดิฉันต้องการสื่อว่า ทุกการกระทำของมนุษยจะหมุนกลับมาที่เราเสมอ

- ทุกบ้านแยกขยะ เท่ากับคุณลดภาระงานของคนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับขยะ เขาจะได้ไปทำภาระงานที่จำเป็นกว่า ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่หรือทำมาใช่ใหม่จะถูกนำเข้า process ได้โดยง่าย

- คิดก่อนซื้อ - ซื้อเท่าที่จำเป็น - ใช้ให้คุ้มค่า - คิดก่อนทิ้ง แม้ว่าคุณจะร่ำรวย เพราะการใช้แต่น้อยเท่ากับคุณเบียดเบียนโลดน้อยลง

สำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมยังไม่ปลูกฝังอยู่ในคนไทย หรือมีน้อย

เรื่องอาหารปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ประชาชน เป็นผู้ร่วมตรวจสอบความปลอดภัย แต่ดิฉันยังไม่เห็นมาตรการจัดการกับการใช้สารเคมีที่ก่อผลเสียต่อสุขภาพ

มีสินค้าปลอดภัยให้เลือกซื้อ แต่ราคาสูงกว่าสินค้าที่วางขายในตลาดทั่วไปราวๆ 4 เท่า ถ้าดิฉันมีเงิน มีความรู้ ที่จะไปเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดภัยได้ แต่ยังมีคนที่ไม่รู้ หรือรู้แต่มีเงินน้อยกว่า พวกเขาจึงไม่มีทางเลือก

หนังสารคดีที่ดีมากเรื่อง Food Inc. เล่าเรื่องอาหารของมนุษย์ไว้ดีมาก ดิฉันอยากแนะนำให้ทุกคนดูค่ะ

Thank you nui: for sharing your information and ideas.

I too believe that everyone must develop a 21C awareness and habit for proper disposal of wastes. At the same time, we should support only manufacturers (and packaging makers) and sellers that help us to clear rubbish from our living environment. Afterall, we pay for rubbish when we buy (included in the price), we pay local councils and/or waste disposers to collect and remove rubbish from our homes and streets, we pay again to have government programs to manage wastes in our environment. Whichever way we look, we pay!

The latest government commitment to cleaning up our environment (3,500M Baht) will not go far enough if used merely to pay for wastes collection/removal. There must be more innovations and leverage in spending that money. People must be able to participate and be rewarded for participating. For examples: Clean Town awards; Best Tidy Tambol; Gold medals to individual wastes "haters"; gold shields to waste amnagement organizations;...

On food: our food is more and more contaminated with various (chemical) poisons and slowly but steadily becoming "scarcer" (higher price, less quantity, lower quality,...). Again 21C skills needed are food producing skills -- farming, environment engineering, distribution and processing.

Thank you again for sharing your ideas and your efforts to save us -- all.

หลังจากเขียนความเห็นเมื่อเช้าจบ อยู่ๆ ดิฉันก็คิดถึงว่าเราน่าจะมี "ชุมชนคนรักโลก" ใน G2K นะคะ เช่นมีสมุดส่วนรวมให้สมาชิกชุมชนคนรักโลกได้ "เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ค้นหา เผยแพร่ แนวคิดแนวปฏิบัติ เพื่อสิ่งแวดล้อม"

จากที่ได้อ่านบันทึกหลายๆ บันทึกของคุณ ดิฉันรู้สึกถึงพลังที่เราน่าจะร่วมกันสร้างชุมชนคนรักโลกไม่ว่าจะเป็นคนที่สนใจอยู่แล้ว เริ่มจะสนใจ หรือยังไม่สนใจ เอาแค่รู้ ตระหนัก แล้วเอาไปปฏิบัติในครอบครัวตัวเอง เพียงแค่นี้ก็ถือว่าประสบผลสำเร็จ

เรามีคนสนใจมากอยู่ เช่น คุณ sr ที่มีข้อมูลมากมาย ยายธีที่มีเรื่องเล่าจากฮัมบูรกเพื่อให้เราเห็นตัวอย่าง อาจารย์ GD ที่มี connection เป็นต้น

ความคิดเล็กแค่ไหนก็ควรค่าแก่การมาแลกเปลี่ยนเพื่อจูงใจกันค่ะ

คิดจบกระบวนความได้แค่นี้ แต่ยังคิดต่อไม่ออกว่าจะทำให้เกิดได้อย่างไร

Wonderful idea "ชุมชนคนรักโลก" ใน G2K ! Anyone interested in joining this 'community'? Give us a sign!

How do we set it up in G2K as a page/a blog? How do 'we' as members add to 'main content' (not as comments)?

And 'my' problem -- my Thai typing is too slow -- at my age it is so slow that I could drop dead before I could finish a decent article. ;-)

Anymore ideas? Anyone?

ดิฉันจะเริ่มโดยส่งสารไปยังอ.จัน ผู้ก่อตั้ง G2K ว่าเรามีความคิดอย่างนี้ อ.จันจะช่วยทำให้ความคิดนี้เป็นจริงได้อย่างไร ขอนุญาตใช้บันทึกนี้เป็นจุดเริ่มต้นนะคะ

ดิฉันยิ่งปวกเปียกเรื่อง IT แต่มีคนเก่งๆ ในเรื่องนี้เยอะใน G2K เราน่าจะได้รับความช่วยเหลือ

ลองกันค่ะ

ต้องตั้งเป็น ชุมชนคนรักษ์โลก น่าจะดีกว่าแค่รักนะคะ เห็นด้วยค่ะ น่าจะมีคนเข้า่วมขบวนเยอะเลยค่ะ มีกลุ่มแบบนี้อยู่รอบๆตัวเรานะคะ เพียงแต่กระจัดกระจายกันและไม่ได้แลกเปลี่ยนขยายวงเชื่อมโยงกันให้กว้างๆนะคะ

Thank you nui : I will await the outcome of your inquiry. Your energy and goodwill shames me.

Thank you โอ๋-อโณ: for the suggested word.name. I will leave this in the forum for discussion. I also like to hear more ideas of what we can do to clean up and to enhance our living environment.

We hear that government has committed 3,500 Million Baht to mange wastes in our communities in the next 5 years. This amount of money is not enough to even for just collecting/removing wastes in all local administration 'Tambols'. So, programs with 'projects' that have high leverage are needed. And it seems best to create and install "new habit" for disposal of wastes; new processes that use wastes; new ...

[Good news! I spotted this this morning. It is worth reading as it is full of hope and energy.]

เยาวชนไทยคิดได้ คิดเป็น ต่อยอดเป็นพลเมืองตื่นรู้ Saturday, June 13, 2015
http://www.thaipost.net/?q=เยาวชนไทยคิดได้-คิดเป็น-ต่อยอดเป็นพลเมืองตื่นรู้
...“น้องมิ้ม” นางสาวกัญญาวีร์ อ่อนสลุง ตัวแทนกลุ่มเมล็ดข้าวเปลือกไทยเบิ้ง ตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ที่มาร่วมกิจกรรม “เด็กบันดาลใจ” ได้มาสะท้อนการทำงานในพื้นที่ว่า ชุมชนของตัวเองมีปัญหาเรื่อง “ขยะ” เพราะคนส่วนใหญ่เสียค่าเก็บขยะแล้ว และคิดว่าเดี๋ยว อบต. ผู้นำในหมู่บ้านจะจัดการเอง จึงทำให้ทุกคนไม่สนใจและทิ้งขยะไม่เลือกที่

ทางกลุ่มจึงเก็บข้อมูลเบื้องต้น ก็พบว่าบ่อทิ้งขยะก็เต็ม และยังอยู่ใกล้กับที่นาของชาวบ้าน ทำให้เกิดผลกระทบตามมามากมาย จนกองขยะใหญ่ขึ้นๆ สุดท้ายทุกคนในชุมชนก็กลับตั้งข้อรังเกียจ “ทำไม... ไม่มีใครมาจัดการกับขยะเหล่านี้เสียที” พร้อมตั้งคำถามมาว่าแล้วขยะที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของใคร ดังนั้นกลุ่มของตัวเองจึงนำปัญหาเหล่านี้ออกมาสื่อสารผ่านหนังสั้นและละครหุ่นมือ เพื่อเผยแพร่ในชุมชน ผลที่เกิดขึ้นสามารถจุดประกายให้คนอื่นได้รู้ ได้ดู ได้ฟัง จนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทำให้ปัญหาขยะในชุมชนลดลง

“สิ่งที่เกิดขึ้นจึงทำให้ตัวเองเชื่อว่า พลังของเด็กทุกคนเป็นสิ่งมหัศจรรย์ และสามารถทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคมไทยของเราได้หากผู้ใหญ่ให้พื้นที่และโอกาส” ตัวแทนกลุ่มเมล็ดข้าวเปลือกไทยเบิ้งระบุ

“น้องกู๊ด” หรือนางสาวณิชชา เอมะศิริ เยาวชนจากกลุ่มดินน้ำมัน ทำกิจกรรมในพื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬ ชุมชนบ้านบาตร ชุมชนวัดสระเกศ-ตรอกเซี่ยงไฮ้ และชุมชนสิตาราม บอกว่า ในฐานะที่เป็นเด็กและเยาวชนคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองที่มีความแออัด เบียดเสียด สกปรก ขาดความปลอดภัย พื้นที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนจำนวนมาก ทำให้คนในชุมชนไม่มีระเบียบ ขาดการเคารพกฎ การอยู่อาศัยร่วมกัน ทำให้พื้นที่ส่วนตัว พื้นที่สาธารณะในชุมชนสกปรก ขาดการดูแลเอาใจใส่ จึงทำให้เด็กที่อยู่ภายในชุมชนซึมซับความเข้าใจเรื่องที่ผิดเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดในชุมชน เช่น การทิ้งขยะ การกำจัดขยะ การแยกขยะ

หนูและเพื่อนๆ จึงทำโครงการสร้างสื่อสร้างสรรค์ร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ที่ถูกต้อง ปลูกจิตสำนึกที่ดี ที่ถูกต้องลงไปในตัวเด็ก ผ่านกิจกรรมหนังสั้นกับขยะ กิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์ รณรงค์ความคิดสร้างสรรค์ และกิจกรรมศิลปะขยะรีไซเคิล เพื่อชวนทุกคนมาช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม ใส่ใจกับปัญหาเล็กๆ แล้วร่วมกันแก้ไข ร่วมกันปรับปรุง ร่วมกับพัฒนาให้ชุมชนน่าอยู่ น่ามอง และช่วยกันดูแลสังคมที่ตัวเองอยู่อาศัยอย่างสร้างสรรค์...

[I salute these kids. They will lead our communities to better future. What can we do to help them along?]

เมื่อคืนดิฉันเข้าไปเรียนเชิญสมาชิก G2K ท่านที่เคยเข้ามาอ่านบันทึกของคุณ ให้กลับมาอีกครั้งเพื่อขอความเห็นในการเป็นชุมชน รวมทั้งเขียน mail ไปถึงอ.จัน

อาจารย์ โอ๋-อโณ ได้กรุณาเข้ามาอ่านและให้ความเห็นเป็นท่านแรก

"คนรักษ์โลก" ให้ความหมายเป็นนัยของการลงมือทำ ส่วน "คนรักโลก" บอก "อารมณ์ความรู้สึก" ต่อโลก ใช้ได้ทั้งสองคำนะคะ

น้องมิ้ม (นางสาวกัญญาวีร์ อ่อนสลุง_ที่คุณ Sr หามาเล่า) เป็นเยาวชนทีเข้าใจ และตั้งคำถามต่อผู้ใหญ่อย่างน่าสนใจว่า "สุดท้ายทุกคนในชุมชนก็กลับตั้งข้อรังเกียจ “ทำไม... ไม่มีใครมาจัดการกับขยะเหล่านี้เสียที” ...."

ไ่ม่เป็นเรื่องแปลก ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ตั้งคำถามว่า "แล้วฉันจะทำอะไรได้บ้าง" กับขยะ และกับเรื่องอื่นๆ ....ในโลก

เป็นคำถามที่สำคัญมาก เราเริ่มกันที่คำถามนี้ได้ค่ะ

คิดว่าการแก้ปัญหาขยะนี่ต้องทำทั้งถอยหลังและไปข้างหน้านะคะ ของเด็กๆนั้นเป็นการไปข้างหน้าที่ดีมาก ถ้าสามารถทำให้คนของปัจจุบันและอนาคตตระหนักได้ว่า การช่วยกันลดขยะ คิดก่อนใช้ก่อนทิ้ง จัดการกับขยะที่ตนเองสร้างขึ้น ก็จะช่วยให้ขยะที่ไม่จำเป็นทำลายยากทั้งหลายลดลงได้ แค่ช่วยกันหนึ่งบ้านก็ลดขยะไปได้ไม่น้อยแล้วนะคะ เพราะฉะนั้นถ้าแต่ละชุมชนทำได้ ปัญหาข้างหน้าในเรื่องนี้จะลดลง ทีนี้เรื่องของถอยหลังก็คือหาทางจัดการกับสิ่งที่สะสมหมักหมมมานานในแต่ละที่ ต้องให้เขาได้มีการเรียนรู้จากแหล่งที่สามารถจัดการได้ รู้สึกจะมีไม่น้อยนะคะ ก็จะช่วยคลี่คลายปัญหาขยะที่สะสมมานานได้ส่วนหนึ่ง

ตอนนี้แม้แต่ในสังคมมหาวิทยาลัยที่อยู่ปัจจุบัน บริเวณที่นักศึกษาใช้นั้นจะเป็นที่ๆมีขยะของกินเรี่ยราดมากที่สุดค่ะ เคยเดินเก็บไปตามทางระหว่างที่เดินไปสระว่ายน้ำระยะทางเกือบๆกิโลเมตร เหนื่อยกว่าว่ายน้ำอีกค่ะ ขยะหลอดดูดพลาสติก แก้วน้ำขวดน้ำเยอะที่สุดค่ะ ดูๆแล้วแค่มีจิตสำนึกสักนิด ถือไปทิ้งให้ถูกที่ก็จะลดปัญหานี้ไปได้ไม่ยาก แต่ที่เห็นๆนี่คือ เขาไม่ยักกะเดือดร้อนกับการที่เห็นสิ่งเหล่านี้ตกหล่นอยู่บนพื้นที่ทางเดิน แถมยังหย่อนกันทิ้งทันทีที่จะไปทำอย่างอื่น ถังขยะใบโตๆที่มีฝาปิด เปิดดูได้เลยว่าโล่งเชียวค่ะ ยังทิ้งได้อีกเยอะ แต่เด็กนักศึกษาก็ยังไม่ตระหนักถึงสุขอนามัยส่วนรวมเล็กๆแบบนี้ น่าเป็นห่วงมากค่ะ แก้ได้ตั้งแต่เด็กๆจะลดปัญหาไปได้มากแน่ๆ

ปัญหาการลดขยะควรเริ่มจากการสร้างจิตสำนึกก่อนครับ
จากการอ่านความเห็นของกลุ่มเราล้วนมีความตระหนักในปัญหานี้
และได้"ลงมือกระทำ" ด้วยการลดขยะในบ้านของตนกันแล้ว
ผมยินดีที่จะมีส่วนร่วมทำในฐานะผู้ตาม ตามความสามารถครับ

Thank you nui : You really hit the ground running! I personally like "คนรักโลก" บอก "อารมณ์ความรู้สึก" ต่อโลก better because what we can do with love is not imited to 'conservation'. But I will be democratic about the name. And yes we are asking what we can and will do!

Hi โอ๋-อโณ: I think this due to lack of 'love' for their institute or place. When people don't feel they are a part of ... They could not care less. We have lots of work on attitude and sense of pride to do.

Thank you for your idea and 'action' rojfitness : That what we want to see more of. Everyone keeps her/his home clean so that members of their family have this attitude and do the same. It should be easier to extend from 'home' to include 'areas around home'.

As we can see rubbish should have never become a BIG problemm but it is. So what goes wrong? And what can we do to set us on the right track? Vision? Slogan? Reward and punishment (Singapore Model)? Using rubbish to make railway sleepers (technologically feasible) and save our trees too?

ต้องใช้เวลาปลูกฝังคนรุ่นใหม่ครับ

ที่พิษณุโลกจัดการขยะได้ดีมากครับ

ลองค้นข้อมูลดูนะครับ

น่ายินดีที่กัลยาณมิตรเข้ามาเสนอความเห็นกันหลายท่านค่ะ

เผอิญบันทึกนี้ว่าด้วยเรื่อง "ขยะ" เราจึงมุ่งไปที่เรื่องขยะนะคะ ดิฉันจึงตั้งคำถามตัวเองว่า "ปัญหาของโลกมีอะไรอีกบ้าง??" พอจะนึกออกบ้าง 2-3 เรื่อง แต่ขยะนี่ใกล้ตัวที่สุด คนจะมองเห็นชัด

จริงๆ แล้วมีปัญหาอื่นๆ อีก เช่น

- การใช้พลังงานที่จำกัดงวดลงเรื่อยๆ และผลของการใช้พลังเกิดของเสีย เป็นภาระของโลกที่ย้อนมาทำร้ายมนุษย์

- สารเคมีในสิ่งแวดล้อม

- และ อื่นๆ ที่ดิฉันยังไม่ทราบ คุณ Sr พอจะประมวลได้หมดมั๊ยคะ??

อาจต้องใช้ความเพียรย้อนกลับไปอ่านหนังสือ An Inconvenience Truth ที่แสนอ่านยากอีกครั้ง

จริงๆ แล้วถ้าเราเน้นไปที่ขยะเรื่องเดียวก็มีประเด็นมากมาย

ดิฉันอยากเชิญชวนกัลยาณมิตรอื่นๆ เข้ามาแสดงความเห็นกันมากๆ แต่ยังนึกไม่ออกว่าจะเชิญชวนอย่างไร??

Thank you ขจิต ฝอยทอง : for the info. Would you help with links (urls) to the good news on Phisanulok waste management? I looked up (below) and was surprised by the details of 106 M Baht program.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning

http://mews.onep.go.th/

Hi again nui: I listed some of them (mainly 'environment' --disregarding 'political' and 'corruption' BIG Problems). In this blog I listed from 'most visible' problems: littering, disasters (preparations), (smoke from) forest destruction, to 'invisible' poisons in food (chains). These have high impacts on lives, health and incomes. And they are inter-connected or entangled -- making it harder to solve one by one.

But let us try and learn to see our way through. We are talking about 'solid' wastes now. So we will continue until we see some recurring processes (solutions) then we will talk about less visible wastes like chemicals: toxic substances, shampoo and detergent in water, on land, in air, in our food, in our home,...

I will draw up a (rough) BIG picture for BIG problems in another post -- this weekend (I think ;-)

ดิฉันได้เขียนบันทึกชื่อ"ถ้าจะมีชุมชนคนรักโลกใน G2K ท่านคิดอย่างไร" เพื่อเชิญชวนสมาชิกเข้ามาช่วยกันแสดงความคิดเห็นค่ะ

แลกเปลี่ยนกันมากมายเลยนะครับ ;)...

สวัสดีค่ะ จากบันทึกดิฉัน "ถ้าจะมีชุมชนคนรักโลกใน G2K ท่านคิดอย่างไร"..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/588726?3022672 มีความเห็นดีๆ และมีคนสนในมากทีเดียวค่ะ ลองเข้าไปอ่านสิคะ และดิฉันได้รู้ว่ามีใครบ้างใน G2K สนใจและทำเรื่องนี้อยู่

อ.จันตอบ E-mail มาดังนี้ค่ะ

"...โดยตัวระบบแล้วคงสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

1. ท่านที่สนใจเขียนบันทึกเรื่องนี้ ให้ใส่คำสำคัญเดียวกันค่ะ

2. ถ้าเขียนเป็นประจำให้สร้างสมุดใหม่ค่ะ

3. พี่นุ้ยหรือคนที่เป็นสมาชิกหลักของชุมชนนี้เป็นคนกลางในการสร้างแพลนเน็ตไว้ค่ะ แล้วรวบรวมเอาสมุดเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกันค่ะ..."

ดิฉันคิดว่า

- ข้อ ๑ เราทำได้ทันที ตัวเราเองเขียนบันทุกในสมุดส่วนตัว (ที่มีอย่แล้ว หรือสร้างสมุดใหม่ แล้วใส่คำสำคัญคือ ชุมชนคนรักโลก)

- แพลนเน็ต น่าสนใจ แต่ดิฉันยังไม่ค่อยเข้าใจ คงจะไปขอความรู้จาก อ.ขจิตต่อไป

ส่งข่าวแค่นี้ก่อนนะคะ

Thank you Wasawat Deemarn: You would also be in good company if you'd share your ideas ;-)

Thank you นงนาท สนธิสุวรรณ: for sharing those good programs for waste reduction. But every time I am in Thailand I see rubbish on roads, in water ways and in parks. This probably means that the programsare successful in limited areas. Wide-area programs are still needed. We have the same goal. We can work together. Afterall it is better to save our world with our friends. ;-)

Wonderful things you have done nui: and I really like starting off from schools. (As we all know "From little things, big things grow".)

ครูหยิน has a school project on plastic bottles going down in Trang(?)

สมาชิกโครงการธนาคารความดีกู้วิกฤตชีวิตโลก... https://www.gotoknow.org/posts/549170

We should ask for her help.

ตื่นเต้นค่ะที่มีผู้สนใจมากมาย เริ่มจากประเด็นขยะ ไปสู่ประเด็นอื่น ๆ เราทุกคนในที่นี้ไม่มีพฤติกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อมโลกอยู่แล้ว อย่างน้อยก็ตระหนักดีอยู่แล้วว่าอะไรควรอะไรไมควร หรือรักษ์โลกอยู่แล้ว ทำอย่างไรจะให้มีคนรักษ์โลกเพิ่มขึ้น ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยมีการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา Environment Education มีกิจกรรมต่าง ๆนา ๆ แต่กิจกรรมหรือการขยายผลอาจจะยังไม่ถึงทุกครัวเรือนในชุมชนและทุกคนในครัวเรือนซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะทำให้ทุกคนคล้อยตาม ดังนั้นต้องไปให้ถึงจุดนั้นให้ได้ ต้องมีกฏเกณฑ์ของบ้านเมืองไปบังคับใช้อย่างเข้มงวดควบคู่ไปด้วย ตรงนี้ถ้าทำได้สำเร็จแน่นอนค่ะ ในระหว่างนี้ส่วนตัวยังจับตาโครงการขยะ งบประมาณ 5 พันล้านอยู่ค่ะ ใครทราบช่วยเผยแพร่ด้วยค่ะ

มาร่วมแสดงความเห็นด้วยครับ...จากมันสมองอันน้อยนิดนี้...ควรทำเป็นระบบ มองภาพรวมจากบนลงล่าง...

๑.การศึกษาดูงานบ้านหรือประเทศที่เขาทำการทำลายขยะสำเร็จ...แล้วดำเนินการสร้าง หากไม่ดำเนินการก็นำไปส่งเขาฟรี ขอเพียงค่าขนส่งก็พอ...ดังตัวอย่าง

http://www.iurban.in.th/greenery/sweden-import-tra...

๒.มาตรการดูแลเข้ม ออกกฎหมายการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ต้นตอการผลิตที่ก่อให้เกิดขยะมาก ขยะที่ทำลายยาก เช่น ถุงพลาสติก วัสดุห่อของ พลาสติก ไฟเบอร์ อิเล็คทรอนิกส์ ฯลฯ (แก้ปัญหาที่ต้นตอ)

๓. ออกมาตรการควบคุม กฎหมายการนำเข้าสินค้า ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่มีอายุการใช้งานสั้น และมีผลอันตรายในภายหลัง จากหมดอายุการใช้งานแล้ว เช่น เครื่องคอม เครื่องถ่ายเอกสาร คอมพิวเตอร์ ของมือสอง กระเป๋าหนังฯลฯ พร้อมกับให้ความรู้อย่างถูกต้องปลอดภัย เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว..อาจมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้รองรับไปกำจัดหรือทำลายอีกครั้ง

๔.รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนมีความรับผิดชอบร่วมกัน ออกระเบียบ กฎเกณฑ์ของ อปท. ช่วยสำทับ พร้อมกับเผยแพร่ออกสื่อสู่ประชาชนผู้รับสารทางตรงผ่านทีวี ขอความร่วมมือประชาชนให้ช่วยกัน ดูแลตั้งแต่อยู่ในบ้าน คัดแยก การทิ้ง การกำจัดหรือ ทำลาย...ก่อนหน้านี้หลายปี เคยเห็นโครงการตาวิเศษ เดี๋ยวนี้ไม่เห็นโครงการประเภทนี้จากสื่อทีวีอีกเลย..หายไปหมดแล้ว

๕. ให้ความรู้กับชาวบ้าน เยาวชน เด็กๆ สร้างจิตสำนึกรักธรรมชาติ รักสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สิ่งของที่ก่อให้เกิดขยะ ให้ความรู้ สิ่งไหนทิ้งได้ ทิ้งลงถัง สิ่งไหนทิ้งถังไม่ได้ ทิ้งลงดินไป ในชนบทเช่น ใบตอง เศษอาหาร แกนข้าวโพดต้ม เศษอาหารกับข้าว ทิ้งลงดินก็ย่อยสลายได้เอง..ประเภทถุงพลาสติก ถ่านไฟฉาย อิเล็คทรอนิกส์ เศษกระเบื้อง แก้ว ปูน ต้องมีการคัดแยก แยกแล้วทำอย่างไร แลกไข่ได้ไหม? แลกอาหารได้ไหม? ขายได้ไหมราคาเท่าไหร่? กำหนดให้ชัดเจน หน่วยงานไหนรับผิดชอบ? ให้ความรู้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ย้ำแล้วย้ำอีกบ่อย ๆ

๖. หากไม่ทำตามหรือมีการฝ่าฝืน มีบทลงโทษอย่างไร นอกจากเก็บค่าขยะ ค่าขนย้าย ค่าทำลายแล้ว จะต้องถูกปรับอีกหรือไม่อย่างไร ก็ว่ากันไป...

*สิ่งสำคัญคือ อยากเห็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่มาตามแก้กันปลายเหตุทั้งครั้งไป เราต้องมองให้ออกว่า ปัญหาต้นเหตุมันอยู่ตรงไหนแน่...ปัจจุบันคงจะยากอยู่สักหน่อย แต่ก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะรีบทำกันได้แล้ว...เพราะหากไม่รีบทำ จะหาที่กลบและฝังยาก และต่อไปขยะจะท่วมประเทศไทยแน่ๆ เลยครับ

Thank you GD: I am waiting for more information on the 'clean-up' programs, too. May be we should give them some help or ideas ;-)

Thank you "พี่หนาน" : I have learned about the success of Swedish Waste Management program and that they are having problems getting more rubbish to feed their electricity generating plants. They also have problems with "carbon target' and making deals with Germany who are installing Solar panels on roof-tops everywhere.

I do agree with Making a law to control rubbish and other wastes in Thailand. We do have พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 but it seems not to achieve its intended goal. Amendments and new measures are needed. (I have one ;-)

Thank you so much for your blog made the great contribution to all friends moving their thought to be engaged in saving the environment. I have searched some ways at http://www.wikihow.com/Help-Save-the-Environment but for Thais we need some friendly strategies of learning and sharing how to break the individual routine habits into his or her creative thinking and loving for the publics.

Thank you Dr. S.K.: I am glad to have your interest and your brain to work out solutions ;-)

สวัสดีค่ะ

อ.ขจิต ตอบเมล์ดิฉันว่าอย่างนี้ค่ะ

"แพลนเน็ตคือระบบการเอามารวมกัน

ปัจจุบัน ใช้คำสำคัญคำเดียวกันได้ครับ มันจะมารวมกันเองไม่ต้องทำสมุดเล่มเดียวกันครับ"

ดิฉันจะใส่คำสำคัญ "ชุมชนคนรักโลก" กับ "ชุมชนคนรักษ์โลก" ไว้ท้ายบันทึกที่เกี่ยวข้อง สำหรับแพลเน็ตดิฉันไม่รู้จักเลยค่ะ

ช่วงนี้ดิฉันจะจัดเวลาทำ ๒ เรื่องค่ะ คือ หาความรู้เพิ่มให้มากทั้งในเชิงแนวคิด ทฤษฎี กับการปฏิบัติในประเทศไทย กับ เข้าไปอ่านบันทึกเก่าๆ ของชาว G2K เพื่อเชิญชวนมาร่วมชุมชนค่ะ และจะพยายามเขียนบันทึกเรื่องนี้สัปดาห์ละเรื่อง

Thank you nui: so we will di what we are doing now on G2K. I have added "ชุมชนคนรักโลก" to my recent asnd relevant posts. I have yet to see how this really 'works' ;-).

I am too trying to write about our environment and what we need to do to help. ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท