จินตนาการ กับ วัฒนธรรม


ในระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ นั้น มีจินตนาการเข้ามาเกียวข้องหลายอย่าง ส่วนใหญ่ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาตินั้น มนุษย์ได้จินตนาการถึงอำนาจทีใหญ่กว่าของตัวมนุษย์เอง อำนาจเหล่านั้นเป็นอำนาจพิเศษมีโครงสร้างตามระดับ
ชั้น มีการแสดงถึงอำนาจพิเศษในการให้คุณให้โทษกับมนุษย์และสังคมได้ ความคิดความเชื่อมั่นจะทำให้เกิดการควบคุมทางสังคม เกิดความรู้ภูมิปัญญาขึ้นมา

จินตนาการมักเกี่ยวข้องกับเรื่องเล่า (narrative) เกี่ยวกับมายาคติ(Myth) ต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดความกลัวและควบคุมทางสังคมได้แล้ว จินตนาการจะทำให้เกิดความคิด ปรัชญา เป็นการกระตุ้นสมองซีกขวาโดยตรง ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก หรือเรื่องเล่า
บางเรื่อง ก่อให้เกิดความหวัง เช่นเรื่อง พระผู้ปลดปล่อยในอนาคต(พระเมสิอาร์) แสดงถึง
อารมณ์ความรู้สึกที่สิ้่นหวังต่อปัจจุบัน แต่ก็ยังมีหวังถึงอนาคต ในการปลดปล่อยเผ่าพันธ์ตัวเองให้มีอิสระ ให้มีผู้นำที่เข้มแข็ง เรื่องเล่าของอาวุธที่วิเศษ มนุษย์วิเศษ ก็สะท้อนถึงจินตนาการที่ชดเชยเหตุการณ์ปัจจุบันที่ตกอยู่ในห้วงของความทุกข์

คนโบราณเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง แม้ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผีสาง มนุษย์วิเศษ ก็เป็นภูมิปัญญาซึ่งภายหลังที่วิทยาการก้าวหน้าไปแล้วพบว่าจินตนาการทำให้เกิดการเรียนรู้
ที่เกิดขึ้นจากตัวเอง การสร้างสรรค์เทคโนโลยีต่าง ๆ ของคนสมัยก่อน ก็เกี่ยวข้องกับจินตนาการทั้งสิ้น ไม่ว่าการคิดค้น คราด คันไถ หรือแม้แต่พิรามิด แม้แต่ปัจจุบัน เทคโนไลยีส่วนใหญ่ก็เกิดจากการบริหารจินตนาการทั้งสิ้น ไม่ว่าโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ จินตนาการจึงเป็นความคิด ความหวัง แม้แต่ระบบสังคม ก็ตาม มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ได้จินตนาการถึงสังคมในอนาคตที่คนผิวดำอยู่ร่วมกับคนผิวขาว อย่างเสมอภาคกัน ก็เป็นจินตนาการที่นำไปสู่ความสำเร็จ


แม้กระทั่งเรื่องของคาถาอาคม ก็ตามเป็นพลังจิตใต้สำนึก ที่มองเห็นความสำเร็จล่วงหน้า ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นตามมา เช่นคาถาที่เกี่ยวกับเมตตามหานิยม คนที่เชื่อมั่นย่อมมองเห็นความสำเร็จล่วงหน้าไว้แล้ว สิ่งที่กระทำต่อไปหลังจากเห็นภาพความสำเร็จแล้วก็คือลงมือทำอย่างเชื่อมั่น นี่เป็นวัฒนธรรมหลักด้านตะวันออก สอดคล้องกันกับไอน์สไตน์ ที่กล่าวว่า "จินตนาการ สำคัญกว่า ความรู้" แบบเหมาะเจาะกันเลยทีเดียว

คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 587633เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2015 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2015 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เมื่อสัก 10 ปี ก่อน ผมเคยเห็นแนวการศึกษาประเภทมานุษยวิทยากับอารมณ์ และแนวการเขียนชาติพันธุ์วรรณา ที่คล้ายงานวรรณกรรมครับ

เวลา..คือวิวัฒนาการ..ของสัตว์ โลก ความเปลี่ยนแปลงเป็นไป(ตาม)สิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์..นั้นๆ..เป็น ปัจจุบันกาล..แลสัจจธรรม..ถูกกำหนดด้วย สัญชาติญาณ...ความเป็น..สัตว์โลก..อันเป็นเพื่อนทุกข์สุขเกิดแก่เจ็บตาย..ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น...มีแลเป็นเห็นในพุทธวิถี คือ อนิจจัง ทุกขัง พลัง....(เอวังก็มี..เช่นนี้...อ้ะะ)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท