​"Quantitative Easing (QE) คืออะไร?


"Quantitative Easing (QE) คืออะไร?? ในทางเศรษฐศาสตร์มาตรการ QE ถือเป็นนโยบายด้านการเงิน (Monetary Policy) ซึ่งถูกใช้โดยธนาคารกลาง โดยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพิ่ม เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินเพื่อนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทอดหนึ่ง ทั้งนี้วิธีการในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบทำได้โดยการที่ธนาคารกลางเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินจากสถาบันการเงินซึ่งอาจเป็นพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน หรือแม้กระทั่งตราสารหนี้ประเภทที่มีลูกหนี้สินเชื่อบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน "

"ทำไมต้องใช้มาตรการ QE โดยปกติแล้วธนาคารกลางโดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอันดับแรกในยามที่เศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอย รวมถึงเกิดปัญหากับสถาบันการเงิน แต่เมื่อธนาคารได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำเกือบ 0% แล้วยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำได้อีก มาตรการ QE จึงถูกนำมาใช้ ดังนั้นผมจึงอยากจะชี้ประเด็นนี้ให้ทุกท่านทราบว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐ ญี่ปุ่น ที่ประกาศว่าจะใช้มาตรการQE รอบ 2 นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นข่าวร้ายต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งแสดงว่ามาตรการ QE ที่ทำไปรอบแรกไม่เป็นผลเปรียบเสมือนคนไข้ที่ต้องให้ยาแรงเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ สำหรับมาตรการ QE นั้นไม่ได้มีแต่ประโยชน์ แต่มีโทษที่ต้องระมัดระวังด้วย เพราะการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบนั้นมีโอกาสที่จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้ ดังนั้นหากท่านที่ติดตามบทความของผมคงจำได้ว่า ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่อง Exit Strategy ซึ่งคือมาตรการตรงกันข้ามกับ QE เนื่องจากเป็นการดึงสภาพคล่องออกจากระบบนั่นเอง เพื่อลดความเสี่ยงเงินเฟ้อ ซึ่งผมเชื่อว่าจะกลับมาอีกครั้งหากพบสัญญาณของเงินเฟ้อ"


ที่มา โพสทูเดย์ คุณ โดยสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนลูกค้าบุคคล บล.ไทยพาณิชย์

คำสำคัญ (Tags): #qe
หมายเลขบันทึก: 587277เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2015 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2015 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท