11 Core Values and Concepts


เป็นคู่มือประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ที่ให้ผู้เข้าประชุมมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ตามแนวทาง Baldrige Award, TQA, PMQA, HA, SEPA , EdPEx

การนำค่านิยมและแนวคิดรางวัลคุณภาพแห่งชาติมาใช้งานจริง

Baldrige Core Values Awareness Series (1 of 12)

11 ค่านิยมและแนวคิดหลัก

11 Core Values and Concepts

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

22 พฤศจิกายน 2557

บทความชุดนี้ ดัดแปลงมาจาก Baldrige Core Values Awareness Training: Identification of Gaps and Actions to Close Gaps ของ Tennessee Center for Performance Excellence with funding by the Baldrige Performance Excellence Program and in cooperation with the Alliance for Performance Excellence

เป็นคู่มือประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ที่ให้ผู้เข้าประชุมมีส่วนร่วม (Participatory Learning) สังเกตได้จากการนำเสนอโดยมากจะเป็นคำถาม เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้ระดมสมอง จดความคิดของกลุ่มไว้บนกระดาน แล้วให้นำเสนอผลงานกลุ่ม ผู้บรรยายจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ คอยตะล่อมความคิดให้อยู่ในกรอบระดับหนึ่ง (แนวทางการตอบ จะอยู่ในวงเล็บเป็นภาษาอังกฤษ) ซึ่งไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดโดยสิ้นเชิง

ชุดการอบรมนี้มีทั้งหมด 12 ตอน ในตอนแรกจะเป็นภาพรวมของค่านิยมและแนวคิด (Values & Concepts) ตามแนวทาง Baldrige Award ของอเมริกาที่มีทั้งหมด 11 ตัว แล้วนำมาเขียนเป็นเกณฑ์ 7 หมวด ที่มีคะแนนเต็ม 1,000 คะแนน ค่านิยมในแต่ละตอนได้มีส่วนเชื่อมโยงกับเกณฑ์รางวัลคุณภาพ ซึ่งตอนท้ายของแต่ละการนำเสนอ จะมีตัวอย่างองค์กรที่ได้รับรางวัลมาแสดงการใช้ค่านิยมในข้อนั้น ๆ

วัตถุประสงค์การอบรม คือ เป็นกระบวนการในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ทบทวนเกณฑ์รางวัล (Baldrige) ทบทวนค่านิยม (Core Values) เพื่อระบุจุดแข็งและโอกาสพัฒนา แล้วนำมาทำการจัดทำแผนปฏิบัติการ จากการเลือกจุดแข็งหรือโอกาสพัฒนาให้เหมาะสมในแต่ละองค์กร

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) ที่ใช้ในการนำเสนอ สามารถศึกษาและ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/baldrige-awareness-series-11-core-values

ขั้นตอนกระบวนการอบรม (We review the core values principles, summarize the principles, evaluate what you have learned and then identify strengths and opportunities for improvement. At the end of the day, we will select one or two strengths or Opportunities for Improvement and then develop big block action plans to close the gap identified.)

1.ความเข้าใจในค่านิยมและแนวคิด โดยมีตัวอย่างซึ่งเป็นแนวทางของผู้ที่ได้รับรางวัล Baldrige

2.การประเมินองค์กร เพื่อสะท้อนการนำค่านิยมไปใช้

3.ระบุจุดแข็งและโอกาสพัฒนา

4.จัดลำดับความสำคัญ

5.จัดทำแผนปฏิบัติการ

เกณฑ์รางวัลมีไว้เพื่อ (Let's start with the Criteria. The Criteria are used in several ways. Many organizations conduct their own internal self-assessments using the Criteria. In determining Baldrige Award recipients, the Criteria are the yardstick against which each organization is measured. Finally, the Criteria form the framework for you as an Examiner to structure and provide meaningful feedback to applicants to help them improve.)

•การประเมินตนเองขององค์กร

•ใช้ระบุผู้ที่ได้รับรางวัล

•เป็นข้อมูลสะท้อนกลับแก่ผู้สมัคร

•ช่วยให้องค์กรพัฒนา ด้านการทำงาน, ความสามารถ, และผลลัพธ์ ให้ดีขึ้น

•เป็นการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปฏิบัติที่เป็นเลิศ ระหว่างองค์กรต่าง ๆ

•เป็นเครื่องมือในการจัดการผลงานที่ดี และช่วยองค์กรในการวางแผนและการเรียนรู้

ทำให้องค์กรมีการปรับปรุงตลอดเวลา ในการเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่งผลทำให้องค์กรเกิดความยั่งยืน

พัฒนาประสิทธิผลและความสามารถทั่วทั้งองค์กร

มีการเรียนรู้ทั้งระดับองค์กรและระดับบุคคล

เกณฑ์ได้ออกแบบไว้เพื่อ ช่วยให้องค์กรมีแนวทางที่เป็นบูรณาการของการจัดการผลงานที่ดี (performance management) และมีการกำหนดเป้าประสงค์ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวขององค์กร รวมถึงมีการ:

•รวบรวมข้อมูลของผลงานจากหลายแหล่ง ( Consolidation – bring together key performance data for a clearer picture of progress)

•เปรียบเทียบความก้าวหน้ากับเป้าหมายขององค์กร ( Comparing – assessing success of organization, assessing progress)

•วิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ประกอบในการตัดสินใจ ( Analysis – examining facts and data to provide a basis for effective decisions)

นำผลลัพธ์ของการวิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการทำงาน (Putting results into practice – developing action plans based on analysis of data)

•มีการทบทวนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยระบุและกำจัดปัญหา ก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น ( Continuous reviews – timing should be based on duration of process cycles and meaningful collection of data and information)

คุณลักษณะของเกณฑ์

•เน้นที่ผลลัพธ์ (Focus is on results)

–ด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ

–ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า

–ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร

–ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร

–ด้านการเงินและการตลาด

•เกณฑ์ไม่บังคับว่าจะต้องทำด้วยวิธีใด (Selection of tools, techniques, systems and organizational structure depends on factors specific to the organization. Focus on common requirements, rather than on common procedures.)

•มีมุมมองอย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยงเป้าประสงค์ขององค์กร (Systems perspective embedded in the structure of core values and concepts. Action-oriented cycles of improvement take place via feedback between processes and results)

•มีเป้าหมายในการวินิจฉัยเพื่อให้คะแนน (กระบวนการ และผลลัพธ์)

ค่านิยมและแนวคิดของเกณฑ์ (11 Core Values & Concepts)

1.การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ (Visionary Leadership)

2.ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า (Customer-Driven Excellence)

3.การเรียนรู้ระดับองค์กรและระดับบุคคล (Organizational & Personal Learning)

4.การให้ความสำคัญกับบุคลากรและพันธมิตร ( Valuing Employees and Partners)

5.ความคล่องตัว (Agility)

6.การมุ่งเน้นอนาคต (Focus on the Future)

7.การจัดการเพื่อนวัตกรรม (Managing for Innovation)

8.การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (Management by Fact)

9.ความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง (Societal Responsibility )

10.การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า (Focus on Results and Creating Value)

11.มุมมองเชิงระบบ (Systems Perspective)

คำถามท้ายชั่วโมง

•อะไรคือจุดแข็งและโอกาสพัฒนาของการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้?

–การอบรมครั้งนี้ ได้ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับคุณและองค์กรอย่างไร?

–เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการอบรมครั้งนี้ ควรทำอย่างไร?

****************************

จบตอนที่ 1/12 บทความชุดนี้ทั้ง 12 ตอน มีภาษาอังกฤษค่อนข้างเยอะ ผู้ที่จะเป็นผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติควร พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้ดีระดับหนึ่ง เพราะการอบรมครั้งสุดท้าย หลักสูตรจะเป็นภาษาอังกฤษ เพราะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ มาจากอเมริกา

หมายเลขบันทึก: 580947เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2014 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2014 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท