การจัดการความรู้ในสถานศึกษา(โรงเรียนเทศบาล 4 )


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

เรื่อง การจัดการความรู้ในสถานศึกษา(โรงเรียนเทศบาล 4 )

โดยวิทยากร นายศักดิ์เดช กองสูงเนิน (ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 เพาะชำ)

นางสาวฤดี ศรีพรหม รหัสนักศึกษา 57D0103114 ระดับปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน

...............................................................................................................................................................................

1.ความรู้ที่ได้รับ

การจัดการความรู้ (Knowledge Managemen:KM)คือ กระบวนการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคน ในการดำเนินการจัดการความรู้มีบุคคลหรือคนสำคัญที่ต่างคนต่างทำหน้าที่ในบทบาทของตนเองให้ดีที่สุดแต่ต้องมีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการทำงานที่ดีและเหมาะสมที่สุด เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างสวยงามกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ในที่สุด

กระบวนการการจัดการความรู้ในแต่ละองค์กร ควรประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้

1. "คุณเอื้อ" คือผู้ที่ทำให้เกิดผลงาน KM มีหน้าที่คัดเลือกหาทีมงานจากหลายสังกัดมาเป็นแกนนำ สนับสนุนทรัพยากรแก่ทีมงานอย่างเต็มที่ ส่งเสริมให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกิดจากความสำเร็จหลากหลายรูปแบบ

2. "คุณอำนวย" ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในเชิงกิจกรรม เชิงระบบ และเชิงวัฒนธรรม

3. "คุณกิจ" ผู้ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ร้อยละ 90-95 อาจสรุปได้ว่าคุณกิจคือผู้จัดการความรู้ตัวจริง เป็นผู้มีความรู้ (Explicit Knowledge) และเป็นผู้ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุถึง "เป้าหมาย/หัวปลา" ที่ตั้งไว้

4. "คุณลิขิต" ทำหน้าที่จดบันทึก ในกิจกรรมการจัดการความรู้ อาจทำหน้าที่เป็นการเฉพาะกิจ หรือทำหน้าที่เป็นระยะยาว กึ่งถาวรในกิจกรรมจัดการความรู้ของกลุ่ม หรือ หน่วยงาน หรือองค์กร สิ่งที่ "คุณลิขิต" จดบันทึกได้แก่ เรื่องเล่าจากกิจกรรม ขุมความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกการประชุมและบันทึกอื่นๆ

5. "คุณวิศาสตร์" คือ นัก IT ที่เข้ามาช่วยเป็นทีมงาน KM คำว่า "วิศาสตร์" มาจากคำว่า "IT wizard" หรือพ่อมดไอที จะเข้ามาช่วยคิดเรื่องการวางระบบ IT ที่เหมาะกับการดำเนินการ KM

6. "คุณประสาน" ในการทำ KM แบบเครือข่าย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามองค์กร "คุณประสาน" จะทำหน้าที่ประสานงานให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกันภายในเครือข่าย ทำให้เกิดการเรียนรู้ฝังลึก เกิดการหมุนเกลียวความรู้ได้อย่างมีพลังมาก เรียกว่า "การหมุนเกลียวความรู้ผ่านเขตแดน"

โมเดลปลาทู

โมเดลปลาทูมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนเป้าหมาย (หัวปลา) ส่วนกิจกรรม (ตัวปลา) และ ส่วนการจดบันทึก (หางปลา)

"หัวปลา" (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนเป้าหมาย ได้แก่ ปณิธานความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า "เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?" โดย "หัวปลา" นี้จะต้องเป็นของ "คณกิจ" หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี "คุณเอื้อ" และ "คุณอำนวย" คอยช่วยเหลือ

"ตัวปลา" (Knowledge Sharing-KS) หมายถึง ส่วนกิจกรรม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง "คุณอำนวย" จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ "คุณกิจ" มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว "คุณกิจ" พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

"หางปลา" (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้" ที่ได้จากการเก็บสะสม "เกร็ดความรู้" ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ตัวปลา" ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ "หางปลา" นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การจดบันทึก เป็นการจดบันทึกความรู้ เทคนิค เคล็ดลับในการทำงานที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรบันทึกในหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ผังมโนทัศน์ (Mind Map) และรูปแบบอื่นๆ ให้สมาชิกในองค์กรเข้าถึง เอาไปปรับใช้ได้ตลอดเวลา และเก็บคลังความรู้เหล่านี้ในรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Technology - ICT) ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป

การจัดการความรู้ของโรงเรียนเทศบาล 4 (เพราะชำ) หรือที่เรียกว่า"เพาะชำโมเดล" คณะผู้บริหารและบุคลากรในโรงเรียนร่วมกันจัดทำโมเดลโดยใช้ตัวอักษรประกอบการทำโมเดลดังนี้

ความร่วมมือของบุคลากรในโรงเรียน ซึ่งจะทำให้การทำองค์กรแห่งการเรียนรู้สำเร็จนั้น ประกอบไปด้วย

- 4 กลุ่มงานบริหาร ได้แก่ บริหารงานทั่วไป บริหารงานบุคคล บริหารงานงบประมาณ และบริหารงานวิชาการ

- 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ 1. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 4. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 5. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 6. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 7. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และ 8. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

- 4 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

ตัวอย่างการทำ KM (ต้องทำต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพ)

1. ตั้งทีมงาน

2. ให้ความรู้

3. กำหนด (KV) Knowledge Vision = ทำบ่อย ๆ หาเทคนิคเพื่อนำมาพัฒนา

4. ฝึกปฏิบัติ

5. ติดตาม

6. เผยแพร่

7. Blog (นำความรู้สู่สารสนเทศ)

8. งานวิจัย

9. รูปแบบการสอนที่ใช้ได้ผลในการแก้ปัญหา

ตัวอย่างการทำ KM ในสถานศึกษา

- ร่วมกันคิดหัวปลา

- กำหนดให้สมาชิกเตรียมเรื่องเล่า

- จัดกลุ่มให้เล่าเรื่อง

- ได้ขุมความรู้

- สังเคราะห์เป็นแก่นความรู้

- ประเมินตนเอง

- จับคู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้

- นำไปปฏิบัติ

- จัดเวที AAR

2.สะท้อนแง่คิดที่ได้จากการเรียน

การนำแนวคิดการจัดการความรู้ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้องค์กรสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้จริง ประกอบด้วย

1. การสนับสนุนจากผู้บริหารในทุกระดับ

2. บรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร

3. การสื่อสาร

4. เทคโนโลยีที่เข้ากับพฤติกรรมและการทำงาน

5. การให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ และการใช้เทคโนโลยี

6. การมีแผนที่ชัดเจน

7. การประเมินผลโดยใช้ตัวชี้วัด

8. การสร้างแรงจูงใจ

3. การนำไปประยุกต์ใช้

การจัดการความรู้ (KM) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายๆหน่วยงาน องค์กรต่างๆ เพราะ KM เป็นการจัดการ การทำงานในองค์กรอย่างเป็นระบบ ระเบียบ

คำสำคัญ (Tags): #(Knowledge Managemen:KM)
หมายเลขบันทึก: 580929เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2014 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2014 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท