Best Practice วันที่ 16 สิงหาคม 2557


หัวข้อ Story Telling

"กิจกรรมการสร้างระเบียบวินัยด้วยเสียงเพลง"

ปัญหาที่พบ

เนื่องด้วย โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น กิจกรรมทำเวรสี การเคารพธงชาติ การแปรงฟัน การรับประทาน และ การเข้าแถวก่อนกลับบ้าน กิจกรรมเหล่านี้ มีผลทำให้กระทบต่อเวลาเรียนในการจัดการเรียนสอนและขาดความเป็นระเบียบวินัยในการทำกิจกรรม

ดังนั้น จึงเอาเสียงเพลงมาเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบต่างๆ ให้เกิดขึ้นในโรงเรียน เพื่อที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งนักเรียนก็จะได้รับความรู้ต่างๆ ผ่านการฟังเสียงเพลง

มีแนวคิดและความเชื่อ

ทั้งนี้ ได้ใช้หลักทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ของ พา พลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือ สถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข พาพลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข

กฎการเรียนรู้

กฎการเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในการทดลอง พาฟลอฟ ได้สรุปเป็นกฎ 4 ข้อคือ
1. กฎการลบพฤติกรรม (Law of Extinction) มีความว่าความเข้มข้นของการตอบสนองจะลดน้อย
ลงเรื่อย ๆ ถ้าให้ร่างกายได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างเดียวหรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างกันออกไปมากขึ้น การลบพฤติกรรมมิใช่การลืม เป็นเพียงการลดลงเรื่อย ๆ

2. กฎแห่งการคืนกลับ (Law of Spontaneous recovery) มีสาระสำคัญคือ การตอบสนองที่เกิด
จากการวางเงื่อนไข (CR) ที่ลดลงเพราะได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) เพียงอย่างเดียว จะกลับปรากฏ
ขึ้นอีกและเพิ่มมากขึ้น ๆ ถ้าร่างกายมีการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS)
มาเข้าช่วย
3. กฎความคล้ายคลึงกันมีเนื้อความว่า ถ้าร่างกายมีการเรียนรู้โดยแสดงอาการตอบสนอง จากการ
วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
เดิม ร่างกายจะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น
4. การจำแนก มีความว่า ถ้าร่างกายมีการเรียนรู้โดยแสดงอาการตอบสนอง จากการวางเงื่อนไข
ต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม ร่างกายจะตอบสนองแตกต่างไปจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น

ดังนั้น จากหลักทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ของ พา พลอฟ ทางโรงเรียนจึงนำมาใช้กับนักเรียน โดยใช้เสียงเพลงเป็นเงื่อนไข เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้ทำกิจจรรมตามที่ระบุไว้ในตามรางกิจกรรม

รูปแบบของการดำเนินกิจกรรรม

โรงเรียนได้ใช้ วงจร PDCA หรือ เรียกว่า วงจรการบริหารงานคุณภาพ ในการบริหารจัดการ ดังนี้

P = Plan คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น

1. ผู้บริหาร คณะครูและสภานักเรียนของโรงเรียน ร่วมกันวางแผนร่วม จะร่วมมือกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

2. สร้างข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินกิจกรรม โดยให้สภานักเรียนเปิดเพลงทำกิจกรรม ตามตาราง

3. ตารางการจัดกิจกรรม มีดังต่อไปนี้

เวลา

กิจกรรม

เพลงที่ใช้

7.30 น. – 8.00 น.

การทำเวรสี

เพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี

8.00 น. – 8.20 น.

เคารพธงชาติ

เพลงชาติ

8.20 น. - 8.30 น.

การดื่มนม

เพลงดื่มนมกันเถอะ

8.30 น. – 11.30 น.

เรียนภาคเช้า

-

11.30 น. – 12.15 น.

การรับประทานอาหารกลางวัน

เพลงการศึกษาต่างๆ

12.15 น. – 12.30 น.

การแปรงฟัน

เพลงแปรงฟัน

12.30 น. – 15.30 น.

เรียนภาคบ่าย

-

15.30 น. – 16.00 น.

โฮมรูม/ทำความสะอาดห้อง

บทอาขยาน / สูตรคูณ

D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง

4. ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามที่ระบุในตารางการจัดกิจกรรม

  • C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด

5. มีการตรวจสอบติดตาม ด้วยการสังเกต การสอบถาม สัมภาษณ์ จากครู นักเรียน ผู้บริหารและผู้ปกครอง ว่ามีปัญหาใดเกิดขึ้นและดำเนินการแก้ไข

A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป

6. เมื่อทางโรงเรียนได้มีผลจากการตรวจสอบติดตาม พบว่า กิจกรรมการสร้างระเบียบวินัยด้วยเสียงเพลง สามารถนำแนวทางการปฏิบัติได้และระบุลงไปแผนปฏิบัติราชการของโรงเรียน

เหตุแห่งความสำเร็จ

กิจกรรมสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของคณะครูและนักเรียน และสภานักเรียนที่เข้มแข็งมีความรับผิดชอบ ในการดำเนินกิจกรรม

ผลการดำเนินกิจกรรม

นักเรียนเกิดระเบียบวินัยในการในการดำเนินกิจกรรม ถึงแม้ว่า จะไม่ได้เปิดเพลงในการทำกิจกรรมต่างๆ อันเนื่องมาจากนักเรียนมีความรับผิดชอบและนักเรียนก็สามารถปฏิบัติตนเองตามกิจกรรมได้ด้วยตนเอง

ข้อเสนอแนะ

ควรจะมีโสตทัศนูปกรณ์ เช่น เครื่องเสียง ลำโพง เสียงตามสาย ซีดีเพลง เป็นต้น เพื่อให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ (Tags): #storytelling
หมายเลขบันทึก: 580441เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท