“ความรู้ ทางเศรษฐศาสตร์มหภาค กับ ภาพลวงตา การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย…ของขวัญจากรัฐบาล”


พลวัฒน์ชุมสุข[*]

“ความรู้ ทางเศรษฐศาสตร์มหภาค กับ ภาพลวงตา การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย…ของขวัญจากรัฐบาล”

บัญชีประชาชาติ (Nationalaccounting)มีประโยชน์ต่อรัฐบาลอย่างยิ่งในการพิจารณาว่าเศรษฐกิจที่ผ่านมาแล้วนั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อทำการแก้ไข้ก่อนที่จะมีปัญหารุนแรงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงในช่วงปีค.ศ. 1930-39เรียกกันว่า(GreatDepression1930s)นั้นเกิดจากการทำบัญชีประชาชาติยังไม่สมบูรณ์นักทำให้รัฐบาลในยุคนั้นตั้งรับไม่ทันหลังจากที่เกิดเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมาให้ความสนใจกับการทำบัญชีประชาชาติมากขึ้นระบบบัญชีประชาชาติสมัยใหม่สามารถให้ข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP)รายได้ประชาชาติ(NI) รายได้ที่พ้นภาระภาษีแล้วการบริโภคการออมและการลงทุน เป็นต้น รัฐบาลและภาคเอกชนได้ใช้ข้อมูลในบัญชีประชาชาติเพื่อวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะเพื่อการประเมินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ได้ผ่านมาแล้วและใช้ประกอบการวางแผนเศรษฐกิจในอนาคต[†]

การวัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน เป็นการวัดโดยใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro economic) มากกว่า เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro economic) ทั้งนี้เนื่องจาก เศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับความต้องการ (Demand) และ การผลิตเพื่อสนองความต้องการ (Supply) ในเรื่องของสินค้าและบริการในระบบตลาดแต่เศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นการอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโดยมวลรวมของประเทศ

แบบจำลองที่ใช้ในเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro economic) เพื่ออธิบายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะใช้ GDP หรือ GNP = C + I + G + (X-M) + F ถ้าไม่มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรระหว่างประเทศแล้วGNPจะเท่ากับ GDPถ้ามีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรระหว่างประเทศGNP จะต่างจากGDPเท่ากับ รายได้ลงทุนสุทธิระหว่างประเทศ[‡]F*ซึ่งเป็นการอธิบายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยวัดจากด้านรายจ่ายที่เกิดขึ้น โดย GDP (Gross Domestic Product) หมายถึงมูลค่าของสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นภายในประเทศ กรณีของประเทศไทย จะเป็นการอธิบายถึงมูลค่าของสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย โดยนับรวมทั้งคนไทย และ คนต่างชาติที่มาพักอาศัยอยู่ในประเทศไทยและก่อให้เกิดมูลค่าของสินค้าและบริการ เช่น มาตั้งร้านค้าขายสินค้าหรือตั้งบริษัทขึ้นมาเป็นต้น ส่วน GNP (Gross National Product) หมายถึงมูลค่าของสินค้าและบริการที่เกิดรายได้ขึ้นโดยเน้นคนของชาตินั้นๆที่ก่อให้เกิดขึ้น กรณีของประเทศไทย เน้นคนไทยที่ก่อให้เกิดมูลค่าของสินค้าและบริการ ไม่ว่าคนไทยจะอยู่ในประเทศไทยหรือคนไทยอาศัยในประเทศใดก็ตาม และ ข้อมูลที่นิยมใช้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันจะเป็น GDP มากกว่า GNP นอกจากนั้น ข้อมูล GDP จะถือได้ว่าเป็นตัวแปรตาม (Dependent variable) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรอิสระ (Independent variable) หรือ การเปลี่ยนแปลงของ GDP จะขึ้นกับ การเปลี่ยนแปลงของ ค่า C , I , G , Xและ Mข้อมูลตัวแปรอิสระ (Independent variable) ทั้ง 5 ตัว ได้แก่ C (Consumption), I (Investment), G (Government), X (Export) และ M (Import) โดย C (Consumption) เป็นรายจ่ายของผู้บริโภค, I (Investment) เป็นการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ, G (Government) เป็นรายจ่ายจากการลงทุนของภาครัฐบาล และ X-M หรือ Export – Import เป็นมูลค่าสุทธิที่เกิดจากการส่งออก และ นำเข้า[§]

จากข้อมูลข้างต้นเมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันจะเห็นว่า การบริโภคของประชาชน (consumption) มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากประชาชนไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ ดังนั้น C (Consumption) จึงมีแนวโน้มลดลง ในขณะเดียวกัน เนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นรัฐบาล2มาตรฐานและกำลังจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)อยู่อีกไม่นามและคาดว่าจะมีรัฐมนตรีคนใหม่เข้ามาบริหารงานแทนรัฐมนตรีที่ถูกปรับออก ดังนั้นนักลงทุนจากภายใน และ ภายนอกประเทศ จึงชะลอการลงทุน เนื่องจากต้องการให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายของกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กระทรวงการคลัง เป็นต้น ส่งผลให้ I (Investment) ปรับตัวลดลง และ เมื่อพิจารณาด้านรายจ่ายของภาครัฐ หรือ G (Government) รัฐบาลปัจจุบันพยายามเพิ่มรายจ่ายของภาครัฐ เพื่อผลักดันให้ GDP เพิ่มขึ้น โดยการผลักดันให้มีการลงทุนใน Mega project เช่น การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีน้ำเงิน และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท หรือ การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลปรับเงินให้ผู้มีเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท คนละ 2,000 บาทเป็นจำนวน 1 เดือนและบุคคลที่ได้รับเงินในจำนวนนี้ต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในระบบประกันสังคมเท่านั้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะไม่มีผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP เพิ่มขึ้นมากนักในปี 2552 เนื่องจาก Mega project ก็ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มได้ในเมื่อไร จะส่งผลน้อยมากต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) เนื่องจากผู้ได้รับการช่วยเหลือคนละ 2,000 บาทก็ยังคงระวังเรื่องการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค อันเป็นผลจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ ด้านการส่งออก (Export) และ นำเข้า (Import) จะเห็นว่าแม้ มูลค่าการส่งออก มากกว่า มูลค่าการนำเข้า หรือ มูลค่าส่งออกสุทธิเป็น บวก แต่ การที่มูลค่าการส่งออกสุทธิเป็นบวก เกิดจากการชะลอการลงทุนของนักลงทุนทั้งจากภายในประเทศและภายนอกประเทศ โดยลดการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักร หรือ สินค้าทุน (Capital goods) จากต่างประเทศ ส่งผลให้การขยายตัวของธุรกิจจะชะลอตัวลงในอนาคต ดังนั้น การได้ดุลการค้าของไทยในปัจจุบัน จึงไม่ได้เป็นสัญญาณที่แสดงว่าเศรษฐกิจของไทยกำลังเจริญเติบโตอย่างมั่นคง กล่าวโดยสรุป การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนจากการส่งออก (Export) เป็นหลัก แต่ การเจริญเติบโตมีลักษณะที่ไม่ยั่งยืน เนื่องจาก ไม่มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในการนำเข้าสินค้าทุน (Capital goods) ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องจักร ใหม่ๆ หรือ เทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการผลิต ดังนั้นในระยะยาว การผลิตเพื่อการส่งออกโดยรวมของประเทศจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง (Diminishing return to scale) และ มีแนวโน้มปรับตัวลดลงในที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการว่างงานสูงขึ้น และ เศรษฐกิจของประเทศชะลอการเจริญเติบโต ดังนั้นการกล่าวอ้างของรัฐบาลที่ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังขยายตัว อันเนื่องการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นเพียงภาพลวงตาที่รัฐบาลปัจจุบันมอบให้กับประชาชนเท่านั้น

อ้างอิง

บุญคงหันจางสิทธิ์.เศรษฐศาสตร์มหภาค.พิมพ์ที่ โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์จำกัด.กรุงเทพฯ : 2543

ประพันธ์เศวตนันทน์. เศรษฐศาสตร์มหภาค. (พิมพ์ครั้งที่5) ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ :2549

สมลักษณ์สันติโรจนกุล. เศรษฐศาสตร์มหภาค1.(ปรับปรุง2542) พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการบางกอกใหญ่กรุงเทพฯ2542.

เศรษฐศาสตร์มหภาค. คู่มือเตรียมสอบปริญญาโท.โดยฝ่ายวิชาการสถาบัน (OPINION)พิมพ์และจำหน่ายโดย สกายบุ๊กส์.2542


[*]ภาควิชาเศรษฐศาสตร์. คณะสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

[†]ประพันธ์เศวตนันทน์. เศรษฐศาสตร์มหภาค. (พิมพ์ครั้งที่5) ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ :2549หน้า28

[‡]สมลักษณ์สันติโรจนกุล. เศรษฐศาสตร์มหภาค1.(ปรับปรุง2542) พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการบางกอกใหญ่กรุงเทพฯ2542.หน้า21.

*รายได้การลงทุนสุทธิระหว่างประเทศ ( F=netincomeFromabroad) อาจมีค่าบวกหรือลบก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าการลงทุนในต่างประเทศมากกว่าคนต่างประเทศมาลงทุนในประเทศก็จะมีค่าเป็นบวก ตรงกันข้ามถ้าการลงทุนในต่างประเทศน้อยกว่าคนต่างประเทศมาลงทุนในประเทศจะมีค่าเป็นลบ

[§]บุญคงหันจางสิทธิ์.เศรษฐศาสตร์มหภาค.พิมพ์ที่ โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์จำกัด.กรุงเทพฯ : 2543หน้า45-50

คำสำคัญ (Tags): #เศรษฐศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 578570เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2014 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2014 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท