SEEN มหาสารคาม _๑๖ : ขับเคลื่อน ปศพพ. สู่โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ (๕) "รักและหวงแหนภาษาไทย"


ผมประทับใจนักเรียนคนหนึ่งมากจน "น้ำตาไหล" แบบไม่อายใคร ในขณะที่ฟังเขาพูดนำเสนอเกี่ยวก้บ "การใช้ภาษาไทยของเด็กไทยสมัยนี้" 

อุปนิสัยพอเพียงประการสำคัญ คือการ "รู้จักตนเอง" เพราะคนที่ "รู้จักตนเอง" จะสามารถตัดสินใจให้ "พอประมาณ" กับตนเองได้ และถ้าตัดสินใจอย่างพอประมาณกับตนเองจนเป็นนิสัยแล้ว จะเป็นคนที่ "พอเพียง" ในสิ่งที่ตนเองมี ตนเองเป็น และจะเริ่ม "มองเห็น" ประโยชน์ส่วนรวม และนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการ เสียสละ และอุทิสตนต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง...

ผมบันทึกเสียงการนำเสนอของนักเรียนในภาพไว้ แต่ไม่สะดวกนักในการค้นหาตอนนี้ จึงอยากฝาก ท่าน ผอ. สุรเชษฐ์ หรือ อาจารย์รักศักดิ์ ช่วยโพสท์ต่อบันทึกนี้ให้หน่อยว่า เขาชื่ออะไร เรียนอยู่ชั้นไหน อาจเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนคนอื่นๆ อยากจะไปเรียนรู้จากเขาว่า ทำอย่างไร จึงได้เกิด อุปนิสัยพอเพียง จนติดเป็นอุดมนิสัย "รักภาษาไทย" ขนาดนี้ได้

น้องฮีโร่ของผมไม่เฉพาะแสดง "ฉันทะ" ผ่านการสนทนานำเสนอเท่านั้น แต่คุณก้อย (ทีมขับเคลื่อนฯของเรา) บอกว่า เขาจะแต่งกลอนเองเป็นกิจวัตร และสะสมกลอนที่ผ่านการแต่งแล้วอย่างดีไว้ในสมุด "ล็อคบุค" (สมุดบัญชีปกสีน้ำเงิน) สะท้อนว่า "วิริยะ จิตตะ" และ "วิมังสา" พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

ผมถามน้องว่า เกิด "ความคิด" "ความเห็น" หรือ "ความรู้สึก" นี้ตอนไหน ตั้งแต่เมื่อไหร่ ... เสียดายที่ผมจับคำตอบไม่ได้ ... จับได้เพียงว่า ครูภาษาไทย มีส่วนอย่างยิ่ง ... 

ผมได้เรียนรู้ว่า คำว่า "จุงเบย" ที่วัยรุ่นมักคุยโต้ตอบกันในสังคมออนไลน์กันในขณะนี้ เป็นภาษาเขมร แปลว่า "จูงควาย"  แต่ก่อนมีคนบอกผมว่า ที่เป็น จุงเบย เพราะพิมพ์ผิด แป้นพิมพ์สระอุอยู่ใกล้ไม้หันอากาศ และ ลอ-ลิง อยู่ใกล้แป้นพิมพ์ บอใบไม้ ... ซึ่งก็สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง ....

ที่ผมถึงกับ "น้ำตาซึม" เพราะ การนำเสนอ บรรยากาศตอนนั้น ทำให้ผมนึกถึง พระราชดำรัสของในหลวง ที่ทรงเน้นให้คนไทย "รักและหวงแหน" ภาษาไทย ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง คณะทำงานฯ ผู้ใหญ่ในประเทศฯ ถึงกับบรรจุไว้เป็นแนวการจัดการศึกษาใน พ.ร.บ. การศึกษา  (อ่านได้ที่นี่ ) คิดถึงตรงนี้ ใจผมก็มีปีติยินดีว่า ผมพบอนาคตของ "ภาษาไทย" ที่น่าจะ "ยั่งยืน" ในตัวของเขาต่อไป

หมายเลขบันทึก: 571838เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2014 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2014 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณท่นแาจารย์ ดร.ฤทธิไกร  ไชยงาม มาก ๆ ครับ  ที่ได้นำเสนอข้อแนะนำในการขับเตลื่อน ปศพพ.  อย่างต่อเนื่อง  ผมจะได้นำข้อคิด และ คำแนะนำของท่าน เสนอต่อที่ประชุมหัวหน้าสาระวันนี้ครับ

ส่วนนักเรียนที่นำเสนอวันนั้น  ผมจะนำเรื่องเล่าเกี่ยวกับความรักและหวงแหนภาษาไทย   มาลงที่นี่ครับ......

ขอบคุณท่้านอาจารย์ ดร.ฤทธิไกร  ไชยงาม    ที่ได้ให้คำแนะนำชาวนาดูนประชาสรรพ์  อย่างต่อเนื่อง  

สำหรับนักเรียนที่นำเสนอ รักภาษาไทยวันนั้น  ผมจะได้นำเรื่องเล่ารักภาษาไทยของเขามาลงใน blogครับ

เด็กคนนั้นชื่อ นายพัฒนพงษ์  ม.6/3  ค่ะ  เป็นนักเรียนที่น่ารักชอบแต่งกลอน  และเป็นทีมงานของการแสดงหุ่นกระบอกซึ่งจะได้ไปแสดงที่ต่างประเทศค่ะ  ขอบพระคุณท่านมากค่ะที่ประทับใจนักเรียนโรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์  ตัวดิฉันรู้สึกปลื้มและภูมิใจแทนเด็กนักเรียนค่ะ  จากข้อความของท่านในบันทึกนี้ทำให้ทราบถึงว่า เมื่อไรก็ตามที่ครูหรือผู้เรียนได้ ทำกิจกรรมบางอย่าง  ชอบจนฝังลึกเป็นความรักหวงแหน  เป็นลักษณะที่รู้สึกได้จากจิตใจไม่ใช่แค่ชอบเพียงผิวเผิน  และกระทำต่อสิ่งนั้นจนเกิดเป็นนิสัยที่ดี  และเป็นต้นแบบแนวคิดที่ดีได้  ครูและผู้เรียนของประเทศไทยจะเดินทางตามแนวสมดุลแบบพระราชดำรัส เหมื่อนพัฒนพงษ์ที่รักในภาษาไทย  แสดงออกทางการใช้ภาษาไทย  ดิฉันจะรีบนำไปเป็นแนวคิดและแนวทางในการทำงานทันทีค่ะ

ขอบคุณท่านอาจารย์  ดร.ฤทธิไกร  นักวิชาการผู้ที่เสียสละ  และอุทิศเวลาเพื่องานวิชาการที่แท้จริง  

นักเรียนที่ท่านได้กรุณาชื่นชมตอนนี้เรียน  ม.6  ครับ  นายพัฒนพงษ์  สีหานารินทร์ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท