​​ความพร้อมในการเปิดหลักสูตรใหม่ ในมหาวิทยาลัย ที่ต้องการเป็น World Class Research University


ผมขอเสนอแนวคิดใหม่ที่อาจเรียกว่า แนวคิดแห่งศตวรรษที่ ๒๑ที่การเรียนการสอนต้องเป็น Active / Engaged Learningและเป็นการเรียนในสถานการณ์จริง (Authentic Learning)ดังนั้น ความพร้อมในการเปิดหลักสูตรใหม่ สำหรับมหาวิทยาลัยที่ต้องการเป็น World Class Research Universityจึงต้องเปลี่ยนไป หรือจริงๆ แล้วต้องเพิ่มขึ้น จากเกณฑ์ของ สกอ.ดังนี้....................................................................

          สกอ. กำหนดความพร้อมในการเปิดหลักสูตรใหม่ไว้ที่คุณวุฒิของอาจารย์ว่าจะต้องมีอาจารย์ ปริญญาเอก โท เท่านั้นเท่านี้คนหรือมีตำแหน่งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือเคยสอนมาเท่านั้นเท่านี้ปี

          ผมตีความว่า นี่คือกระบวนทัศน์ที่เน้นการสอนเน้นความรู้เชิงทฤษฎีเน้นมหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนในห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการ ภายในมหาวิทยาลัย

          เป็นแนวคิดที่ล้าหลังหอคอยงาช้างและจะไม่สามารถนำไปสู่การพัฒนา World Class Research University ได้

          ผมขอเสนอแนวคิดใหม่ที่อาจเรียกว่า แนวคิดแห่งศตวรรษที่ ๒๑ที่การเรียนการสอนต้องเป็น Active / Engaged Learningและเป็นการเรียนในสถานการณ์จริง (Authentic Learning)ดังนั้น ความพร้อมในการเปิดหลักสูตรใหม่ สำหรับมหาวิทยาลัยที่ต้องการเป็น World Class Research Universityจึงต้องเปลี่ยนไป หรือจริงๆ แล้วต้องเพิ่มขึ้น จากเกณฑ์ของ สกอ.ดังนี้

  • เพิ่มเกณฑ์ด้านความเข้มแข็งทางวิชาการคือการที่อาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานวิจัย ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ในสาขาวิชานั้น และอาจพิจารณาความเชื่อมโยงของ ผลงานวิชาการดังกล่าว กับจุดเน้นของหลักสูตรที่จะเปิด นั่นคือ ต้องมีการวิจัยเพื่อเตรียม ความพร้อมในการทำงานสร้างสรรค์วิชาการ ไว้รองรับนักศึกษาทำให้การเรียนรู้ใน หลักสูตรนั้น ไม่ใช่อยู่บนฐานความรู้สากลเท่านั้นแต่ยังมีฐานความรู้ในท้องถิ่น หรือภายในประเทศ รองรับด้วยรวมทั้ง มีวัฒนธรรมสร้างสรรค์วิชาการ ไว้รองรับการเรียนรู้ แบบ Inquiry-Based Learning / Research-Based Learning / Service-Based Learning ของนักศึกษา

          ผมมีความเห็นว่า อาจารย์ที่มีวัตรปฏิบัติเป็นผู้เรียนรู้ (Learning Person) ทำงาน สร้างสรรค์วิชาการบนฐานของชีวิตจริง การทำงานจริงมีคุณค่ามากกว่าอาจารย์ที่มี เพียงปริญญาสูงโดยไม่ทำงานสร้างสรรค์วิชาการบนฐานของโจทย์วิชาการ หรือโจทย์ การปฏิบัติงานในชีวิตจริง

  • เพิ่มเกณฑ์ด้าน relevance ของการบริหารหลักสูตรในด้านการเรียนรู้ในสถานการณ์จริงในสถานปฏิบัติงานจริง (Authentic Learning)คือต้องมีการทำงาน หรือปรึกษาหารือร่วมกัน กับภาคีที่เป็น real sector หรือภาคการทำงานจริงเคยมีผลงานร่วมกันมาแล้วหรือมี หลักฐานว่าจะมีความร่วมมือกันในการจัดการเรียนรู้ในลักษณะที่ภาคีเป็น active partner ไม่ใช่ในฐานะ passive partner ที่บอกว่ายินดีร่วมมือ และรับบัณฑิตเข้าทำงาน

วิจารณ์ พานิช

๒๐ มี.ค. ๕๗

ณ เก้าอี้นั่ง ข้างห้างเซ็นทรัลชิดลม

หมายเลขบันทึก: 566518เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2014 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2014 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท