หลักสูตร MBA จุฬาฯ ได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุดจากการสำรวจ Most Admired Brand 2014 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 14


นิตยสาร BrandAge ได้ทำการสำรวจความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์และบริการ Thailand’s Most Admired Brand ต่อเนื่องเป็นปีที่ 14

Thailand’s Most Admired Brand เป็นการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความนิยมในตัวสินค้าและบริการประเภทต่างๆ รวมทั้งเหตุผลของการตัดสินใจเลือกใช้สินค้าหรือบริการนั้นๆ โดยในปี 2014 นิตยสาร BrandAge ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างของแต่ละภาคทั่วประเทศทั้งหมด 757 คน ดังนี้

กรุงเทพและภาคกลาง 141 คน

ภาคตะวันออก 147 คน

ภาคใต้  159 คน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 139 คน

ภาคเหนือ 171 คน

โดยแบ่งเป็นเพศชาย 389 คนและเพศหญิง 368 คน

ในปีนี้ทางนิตยสารได้เผยแพร่ผลสำรวจ Most Admired Brand 2014 ในนิตยสาร BrandAge ฉบับเดือนกุมภาพันธ์

โดยในส่วนของผลสำรวจหลักสูตร MBA (Master of Business Administration) หรือหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตที่น่าเชื่อถือที่สุดในปีนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังคงครองตำแหน่งอันดับหนึ่งอีกครั้งต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 ซึ่งนับเป็นการครองอันดับหนึ่งติดต่อกันนับตั้งแต่มีการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2001 ส่วนอันดับที่สองได้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามด้วยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในอันดับที่สาม

ผลการจัดอันดับหลักสูตร MBA ที่น่าเชื่อถือที่สุดในปี 2014 มีทั้งหมด 10 อันดับด้วยกัน ซึ่งแสดงในตาราง

 

อันดับ

มหาวิทยาลัย

% ความน่าเชื่อถือ

ปี 2014

ปี 2014

1

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

39.27

2

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

13.08

3

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

8.72

4

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)

6.74

5

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3.96

6

มหาวิทยาลัยมหิดล

3.57

6

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.57

7

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

3.71

8

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

2.77

9

มหาวิทยาลัยราชภัฎ

2.64

10

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1.72

 

หากย้อนกลับไปดูผลการสำรวจหลักสูตร MBA ที่ได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุดของนิตยสาร BrandAge ใน 5 ปีที่ผ่านมาพบว่าในส่วนของหลักสูตร MBA ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครองอันดับหนึ่งมาตลอด โดยมีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครองอันดับสองมาตลอดเช่นกัน ส่วนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สามารถขึ้นมาครองอันดับที่สามในช่วงสามปีล่าสุด (ปี 2012-2014) โดยในปี 2010 และ 2011 นั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ในอันดับที่เจ็ด ขณะที่อันดับที่สี่นั้นมีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ยึดตำแหน่งในปี 2013 และปี 2014 ขึ้นมาจากปี 2011 และปี 2012 ซึ่งในขณะนั้นนิด้าอยู่ในอันดับที่ 6 ส่วนในปี 2010 นิด้าอยู่ในอันดับที่ 5

ส่วนอันดับที่ 5-10 ในช่วง 5 ปีย้อนหลังพบว่าอันดับมีการสับเปลี่ยนกันตลอดระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฎและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

มหาวิทยาลัย

                                  อันดับ

ปี 2014

ปี 2013

ปี 2012

ปี 2011

ปี 2010

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1

1

1

1

1

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2

2

2

2

2

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

3

3

3

7

7

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

4

4

6

6

5

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

5

4

5

5

3

มหาวิทยาลัยมหิดล

6

8

6

10

-

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

6

7

8

4

4

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

7

6

5

-

-

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

8

9

7

8

6

มหาวิทยาลัยราชภัฎ

9

5

4

3

3

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

10

-

-

10

-

 

นอกจากนี้ถ้าดูจากเปอร์เซ็นต์ความน่าเชื่อถือของผู้ที่ถูกสำรวจในหัวข้อหลักสูตร MBA ในปีนี้ จะพบว่าความน่าเชื่อถือของหลักสูตร MBA ของจุฬาฯค่อนข้างทิ้งห่างจากอันดับที่สองคือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มากขึ้น คือในปีนี้คะแนนทิ้งห่างกันร้อยละ 26.19 ในขณะที่ปี 2013 นั้น จุฬาฯทิ้งห่างจากธรรมศาสตร์เพียงร้อยละ 24.91 เท่านั้น สำหรับหลักสูตร MBA ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นทุกปีตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

 

มหาวิทยาลัย

  % ความน่าเชื่อถือ

ปี 2014

ปี 2013

ปี 2012

ปี 2011

ปี 2010

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

39.27

40.29

37.93

28.32

23.90

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

13.08

15.38

12.96

13.05

12.70

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

8.72

7.57

5.59

4.20

3.00

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)

6.74

4.52

3.80

4.42

4.50

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3.96

4.52

4.99

6.19

10.40

มหาวิทยาลัยมหิดล

3.57

2.81

3.80

2.88

1.49

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.57

3.66

2.50

7.08

8.20

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

3.71

4.15

4.99

-

-

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

2.77

2.56

3.57

3.54

3.70

มหาวิทยาลัยราชภัฎ

2.64

4.40

7.96

7.96

10.40

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1.72

-

-

2.88

1.49

 

หัวข้อที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุดในการเลือกหลักสูตร MBA ได้แก่ มีการพัฒนาหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอและส่งเสริมด้านวิชาการและปฏิบัติการเป็นอันดับแรก ตามมาด้วย ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยและมีเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่ทันสมัย นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังให้ความสำคัญในหัวข้ออื่นๆด้วย โดยสามารถเรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่

 

หัวข้อที่ให้ความสำคัญ

ลำดับความสำคัญ

คะแนนความสำคัญ

มหาวิทยาลัยที่ได้รับคะแนนสูงสุด

% ของคะแนนที่ได้

ปี 2014

ปี 2014

ปี 2014

ปี 2014

มีการพัฒนาหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ

1

8.13

จุฬาฯ

37.52

ส่งเสริมด้านวิชาการและปฏิบัติการ

1

8.13

จุฬาฯ

28.80

ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย

2

8.08

จุฬาฯ

39.76

มีเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่ทันสมัย

3

8.04

จุฬาฯ

27.61

มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับของสังคม

4

8.03

จุฬาฯ

33.82

อาจารย์มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ

5

8.01

จุฬาฯ

29.85

มีหลักสูตรให้เลือกหลากหลาย

6

8.00

จุฬาฯ

28.67

ค่าเล่าเรียนถูก

6

8.00

จุฬาฯ

25.10

มีหลักสูตรภาษาอังกฤษ

7

7.94

จุฬาฯ

26.02

อยู่ใกล้บ้าน/เดินทางสะดวก

8

7.93

จุฬาฯ

25.89

เปิดสอนภาคพิเศษ/นอกเวลาราชการ

9

7.91

จุฬาฯ

20.21

มีทุนการศึกษา

10

7.90

จุฬาฯ

30.12

มีโครงการดูงานต่างประเทศ

11

7.87

จุฬาฯ

27.48

รับนักศึกษาจำนวนมาก

12

7.78

จุฬาฯ

26.16

มีระดับปริญญาเอกเปิดให้ศึกษาต่อ

13

7.77

จุฬาฯ

32.23

มีโครงการแลกเปลี่ยนร่วมกับต่างประเทศ

14

7.76

จุฬาฯ

26.82

 

โดยในทุกหัวข้อที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่ามีความสำคัญต่อการเลือกหลักสูตร MBA นั้น กลุ่มตัวอย่างยกให้จุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับคะแนนสูงสุดในทุกๆด้าน นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบคะแนนในด้านต่างๆพบว่า จุฬาฯได้รับคะแนนสูงที่สุดในด้านชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย (39.76 %) รองลงมาได้แก่ มีการพัฒนาหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ (37.52 %) และมหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับของสังคม (33.82%) ตามลำดับ

นับตั้งแต่มีการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ โดยนิด้าได้เปิดสอนปริญญาโทในคณะบริหารธุรกิจในปี  1966 จากนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้เริ่มเปิดหลักสูตร MBA ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีในปี 1972 ส่วนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มเปิดสอนหลักสูตร MBA ในปี 1982 ซึ่งในขณะนั้นหลักสูตร MBA ได้รับความนิยมอย่างสูง มีจำนวนผู้สมัครเรียนจนเกินความสามารถที่แต่หลักสูตรของแต่ละแห่งจะรับเข้าเรียนได้หมด จึงทำให้เป็นโอกาสให้มหาวิทยาลัยแห่งอื่นเปิดหลักสูตรเดียวกันมารองรับความต้องการดังกล่าว หลังจากนั้นหลักสูตร MBA ก็ได้รับความนิยมมาโดยตลอด ดังนั้นหลักสูตร MBA จึงเป็นหลักสูตรที่แทบทุกมหาวิทยาลัยเปิดสอน เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้แก่ทางคณะ คณาจารย์ผู้สอนและมหาวิทยาลัยได้มากกว่าหลักสูตรปริญญาโทอื่นๆ ซึ่งมักได้รับความนิยมน้อยกว่า ถึงแม้ในระยะหลังจำนวนผู้ที่สมัครเรียนในหลักสูตร MBA บางแห่งจะลดลง แต่ก็ยังพบว่าในแต่ละปีมีผู้สนใจสมัครเรียน MBA เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในหลักสูตรของบางสถาบันนั้นยังคงมีจำนวนผู้สมัครเรียนมากกว่าจำนวนที่สามารถรับได้ในแต่ละปี มีเพียงบางสถาบันเท่านั้นที่มีผู้สมัครน้อยกว่าจำนวนที่ประกาศรับ ในช่วงระยะทศวรรษที่ผ่านมา การเรียนการสอนในระดับ MBA เข้าสู่ยุคเริ่มอิ่มตัวประกอบกับมีคู่แข่งมากมายเกิดขึ้นทั้งจากหลักสูตรแบบเดียวกันของสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งหลักสูตรที่แตกต่างออกไปซึ่งเป็นคู่แข่งทางอ้อม หลักสูตร MBA หลายแห่งจึงต้องมีการปรับกลยุทธ์ในการบริหารหลักสูตร ด้วยการเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ตัวหลักสูตรและเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เช่น

-การเปิดสอนหลักสูตรทั้งในเวลาราชการ และนอกเวลาราชการ ที่ใช้เวลาเรียนเฉพาะช่วงเย็นวันธรรมดา หรือเรียนกลางวันเสาร์และอาทิตย์ มีทั้งหลักสูตรที่ให้นักศึกษาเลือกทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) หรือเป็นการศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Study) ก็ได้

-การเปิดหลักสูตร MBA สำหรับผู้บริหารระดับต้น (Young Executive MBA)

-การเปิดหลักสูตร MBA สำหรับผู้บริหาร (Executive MBA)

-การเปิดหลักสูตรสำหรับผู้ที่ต้องการปริญญาโทใบที่ 2

-การเปิดสอนเป็นสาขาเฉพาะที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ของผู้เรียน เช่น เปิดหลักสูตร MBA สาขา การจัดการ การตลาด การเงิน การเป็นผู้ประกอบการ การบริหารธุรกิจสุขภาพ การจัดการอุตสาหกรรม ฯลฯ

-การเปิดหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ (English  หรือ International Program)

หรือในบางหลักสูตรอาจแยกออกมาเปิดเป็นหลักสูตรใหม่ต่างหากเพื่อ โดยไม่ได้ใช้ชื่อ MBA เช่น หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การตลาด (Master of Science in Marketing) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Master of Science in Management Information Systems) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การจัดการทรัพยากรมนุษย์และการบริหารองค์การ (Master of Arts in Human Resource and Organization Management ) การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (Master of Management) เป็นต้น

ในปัจจุบันหลักสูตร MBA ของสถาบันบางแห่งนั้นกำลังประสบกับปัญหาผู้สมัครเรียนน้อยลงไปอย่างมาก จนต้องเพิ่มรอบการรับสมัครหรือขยายระยะเวลาเปิดรับสมัครออกไปเพื่อช่วยให้มีผู้มาสมัครเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยในหลายๆด้าน เช่น ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีทำให้ผู้เรียนตัดสินใจเรียนต่อน้อยลง มีจำนวนหลักสูตรและสถาบันที่เปิดสอนเพิ่มมากขึ้น คุณภาพหรือชื่อเสียงของหลักสูตรและสถาบันไม่ค่อยได้รับการยอมรับ เป็นต้น ดังนั้นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และการพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนให้ตัดสินใจเลือกสมัครเรียนในหลักสูตรหรืออย่างน้อยที่สุดก็ควรเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆสำหรับผู้เรียนหากผู้เรียนคิดจะเรียนต่อในหลักสูตร MBA

หมายเลขบันทึก: 564234เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2014 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2014 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท