การบริหารเวลา อย่างมีประสิทธิภาพ


     เวลาของเราใน 1 วัน เราอาจแบ่งออกเป็นช่วงๆ ได้แก่ ช่วงการนอนหลับ 7-8 ชั่วโมง ช่วงการทำงาน 8-9 ชั่วโมง ช่วงการทำเรื่องส่วนตัว 7-9 ชั่วโมง

     จากการสำรวจช่วงเวลาแห่งประสิทธิภาพในระหว่างวันเป็นดังนี้ ช่วงเวลา 9.00-11.00 น. มีประสิทธิภาพสูง ช่วงเวลา 13.00-16.00 น. มีประสิทธิภาพปานกลาง ช่วงเวลา 16.00-19.00 น. มีประสิทธิภาพต่ำ ช่วงเวลา 19.00-22.00 น. มีประสิทธิภาพปานกลาง

     เวลา คือ ชีวิต เราอาจแบ่งเรื่องสำคัญของชีวิตออกเป็น เรื่องตัวเอง เรื่องครอบครัว เรื่องการทำงาน เรื่องความสัมพันธ์กับบุคคล เรื่องทำประโยชน์ให้สังคม โดยแต่ละช่วงอายุเรื่องสำคัญของชีวิตจะไม่เท่ากัน เช่น ช่วงอายุ 30-40 ปี อาจเป็นเรื่องตัวเอง 10% เรื่องครอบครัว 20% เรื่องการทำงาน 45% เรื่องความสัมพันธ์กับบุคคล 20% เรื่องทำประโยชน์ให้สังคม 5%

     ประโยชน์ของการบริหารเวลา ทำให้มีเวลาเหลือเพิ่มขึ้น ใช้ทำสิ่งที่อยากทำ มีเวลาคิด ทำการตัดสินใจได้รอบคอบขึ้น ลดความเครียด สุขภาพจิตสุขภาพกายดีขึ้น การทำงานง่าย รู้สึกสบาย ราบรื่นขึ้นและทันเวลา ชีวิตมีดุลภาพ ทั้งการทำงาน เรื่องส่วนตัวและครอบครัว มีการดำเนินชีวิตง่ายขึ้น

     จากการสำรวจอุปสรรคในการบริหารเวลา มักมาจากตัวเราเอง 80 % บุคคลอื่น15 % สภาพแวดล้อม 5 % เราจึงต้องเข้าใจกระบวนการและวิธีการวางแผนการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย 1.เข้าใจสถานการณ์ 2.กำหนดปัญหา/เป้าหมาย 3.วิเคราะห์สาเหตุปัญหา/ห่างเป้าหมาย 4.หาวิธีทำที่เป็นไปได้   5.เลือกวิธีการทำที่ดีที่สุด 6.วางแผนปฏิบัติ 7.ติดตามและประเมินผล

     การวางแผนการทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการจัดลำดับงาน อันหมายถึง การเรียงลำดับงานที่จะต้องทำ ให้เป็นไปตามความสำคัญและความเร่งด่วน

     ความเร่งด่วนของงานจะมากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป ส่วนความสำคัญของงาน ไม่ขึ้นกับเวลาที่ผ่านไป แต่ขึ้นอยู่กับผลที่ต้องการ

งานสำคัญ คือ งานสร้างความเจริญเติบโต ภาพลักษณ์องค์กรน่าเชื่อถือ ให้บริการลูกค้าอย่างประทับใจ ผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ และงานสำคัญ คือ งานตามวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ(Mission) ค่านิยม (Values) และเป้าหมาย ขององค์กร

     ดังนั้น เราควรตั้งใจเริ่มบริหารเวลาของเราอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อใช้เวลาของชีวิตให้คุ้มค่าที่สุด

หมายเลขบันทึก: 558107เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2014 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2014 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท