เชียงใหม่ มช . กับ แพทย์แผนไทย และ สมุนไพร ร้านขายยาสมุนไพร หอมไกล และ สิ่งท้าทาย


เชียงใหม่ จัดเป็นศูนย์กลาง การพัฒนา แพทย์แผนไทย หลายๆรูปแบบ ตั้งแต่ เชิง บริการ และธุรกิจสุขภาพ เรื่อง นวด สปา ซึ่งที่จังหวัดไหนๆ ก็มีกันแล้ว

แต่การวิจัย สมุนไพร ดูเหมือน เชียงใหม่ จะมีมาก และต่อยอด จนเป็นผลิตภัณฑ์ ได้มากกว่า ที่อื่น

ตัวอย่างเก่า คือ เปลือกมังคุด ที่มีการวิจัย และสร้างฐาน จาก สงขลานครินทร์ แล้วมาขยายต่อยอด ที่ มช. แล้วมีผลิตภัณฑ์เชิงธุรกิจสุขภาพ

ต่อมา คือ ลำใย ลองกานอยด์ วิจัยที่เชียงใหม่ มช เช่นกัน แล้วเป็นผลิตภัณฑ์ ที่จดทะเบียนเป็นเครื่องสำอาง แต่เวลาขาย จะบอกรักษาปวดเข่า

ยังมีงานวิจัยอีกมาก ของ กลุ่ม อาจารย์ มช เช่น เห็ดหลิงจืด ในโครงการสวนเกษตร ราชินี เชียงดาว ชื่อเต็ม

 โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงายในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ 

ล่าสุด มี ผลงานวิจัย ถั่งเช่า มช.

แต่มี นวตกรรม แปลกใหม่ ของคณะเภสัชศาสตร์ มช ประจำปี คือ ร้านขายยาสมุนไพร ซึ่งปกติ ทุกคณะเภสัชศาสตร์ จะมีร้านขายยา เพื่อให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม และ เป็นที่ฝึกสอน นศ เภสัชศาสตร์. และส่วนใหญ่ ก็มีขายยาแผนตะวันตกมาก มียาสมุนไพรบ้าง ( เพราะมีพัฒนาการมา และมีผลิตภัณฑ์ น้อยกว่า )

เข้าใจว่า คงเป็นแห่งเดียว ของคณะเภสัชศาสตร์ ในประเทศไทย ที่ กล้าลงทุน ( ตั้งงบประมาณ ) เปิดร้านขายยาสมุนไพร รวมทั้งให้คำแนะนำ การใช้ยาสมุนไพร โดยไม่ได้มุ่งหวังกำไร เป็นตัวเงิน

ร้านนี้ ทำบุญ 2 ครั้ง วันที่ 4 ธค 56 และ อีกครั้ง วันที่ 20 ธค

ขณะนี้มีการประชาสัมพันธ์ ทางสื่อ และ เริ่ม มีลูกค้า ผป. สนใจมาสอบถามซื้อหา ยาสมุนไพร แล้ว

ชื่อ ร้านขายยาสมุนไพร หอมไกล  อยู่ภายในคณะเภสัช  เชียงใหม่  ไม่ได้อยู่ริมถนน สุเทพ (อย่างร้านขายยาคณะเภสัช )

 

 มีแนวโน้ม ต่อไป คณะเภสัช ฯ  มช. จะมีโรงงานผลิตยาสมุนไพร ขณะนี้ รอการตรวจประเมิน GMP

คนเชียงใหม่ มีโอกาสดี กว่า จังหวัดอื่น   เท่า่ที่ทราบข่าว วงใน ร้าน หอมไกล จะทะยอย คัดสรร ยาสมุนไพรมาบริการจำหน่าย  อย่าง ยาจันทน์ลีลา  ก็มีจำหน่ายที่นี่แล้ว  

ยาตำรับจันทน์ลีลา จัดเป็นยาดี แต่อดีต มีการวิจัยยืนยันสรรพคุณ  ลูกๆ ของผม  จะเลือกทาน ยามไข้ ตั้งแต่ ประถม จน มัธยม และ มหาวิทยาลัย    เท่า่ทีใช้กันมา กับลูกตัวเอง กรณีไข้ไวรัส ทั่วไป ให้ทาน แล้วหายไข้ได้ดีกว่า กินยาพารา  

คนทั่วไป รวมทั้งหมอ ยังไม่รู้ว่า ยาพารา เพียงแต่แก้ไข้ แก้ปวด แต่ไม่มีผลดีอื่นแล้ว  ซึ่งมียาอื่นดีกว่า

ขณะที่ยาตำรับจันทน์ลีลา ลดปวดลดไข้ ลดการอักเสบ และ มีผลด้านเสริมภูมิ เสริมกำลัง เม็ดเลือดขาว 

ข้อเสีย ของ ยาตำรับ จันทน์ลีลา คือ  ทานยา จำนวเม้ดยามากกว่า พารา    ผู้ใหญ่ ทานครั้งละ 4-6 เม็ด ต่อ มื้อ

ยาจันทน์ลีลา ยังมีข้อเสีย ในความไม่รู้ถ่องแท้ หรือกังวล ของหมอสมัยใหม่  คือ มีการระบุในคู่มือการใช้ยาสมุนไพรไทย  ว่า

   ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยไข้เลือดออก   

ทั้งนี้ ความจริง  กรณีไข้เลือดออก ควรเลือกใช้ ยาจันทน์ลีลา มากกว่า ยาพารา   โดยผมมีการใช้และติดตามผลผป.ไช้เลือดออก กับ ยาตำรับ จันทน์ลีลา มาหลายปี   ยืนยันว่า ใช้ได้ดี     เข้าใจว่า ทั้งประเทศ แพทย์ ส่วนใหญ่ ยังไม่เชื่อ และใช้ยาอย่างผม

ความจริง ที่ศิริราช ตั้งใจวิจัย มานานแล้ว และรายงาน ตั้งแต่ปี 2549 ว่า  ยาจันทน์ลีลา นี้ ไม่มีผลต่อเกร้ดเลือด อย่างที่ยาแอสไฟริน  ไอบูโปรเฟน ไดโคลฟิเนค มีผล และ ห้ามใช้ใน กรณี ผป ไข้เลือดออก

 

ยังมีข้อคิด การใช้ ยาจันทน์ลีลา  คู่กับ ยาอื่น ให้เสริมผลดี   ตามกลุ่มอาการ  ซึ่งไม่มีในตำรา ชัดๆ  แต่ สามารถประยุกต์ได้ไม่ผิดหลักการ

เดิม เราใช้ ยาบอระเพ็ด  แก้ไข้ทุกชนิด  แล้ว เราเสริม ยาอื่น ตามสมุฎฐานของไข้   เช่น

      ไข้ เพื่อลม      เสริม  ขิง  

      ไข้ เพื่อเสมหะ  เสริม ดีปลี

      ไข้ เพื่อโลหิต   เสริม สะเดา

ทุกวันนี้ บอระเพ็ด เภสัชกร และ หมอ สมัยใหม่  กลัวและ ไม่ให้ บอระเพ็ด เป็นยาในบัญชียาหลัก  

บอระเพ็ด มีการใช้ผสมในตำรับ จันทน์ลีลา   1/ 8 ส่วน    ผมได้ใช้หลัก ยาเสริม  กับ จันทน์ลีลา  ก็ได้ผลดี เหมือนกัน

 

เมื่อสัปดาห์ก่อน ลูกชาย13 ขวบ ไข้สูง ขาดเรียน จึงให้ทาน ขิง กับ จันทน์ลีลา เช้า เที่ยง เย็น   ตกตอนเย็น เขาก็ดูหายไข้ และทานอาหารได้ดี ตามปกติ  ผมก็ให้ทานต่อ จนครบ สองวัน  

มีเคล็ดลับ การใช้ จันทน์ลีลา แก้ไข้ คือ  หากทานวันแรก ที่เริ่มไข้ ควรทานไป สัก สองวัน แล้วหากทุเลาดี ก็หยุด  หากทานเพียงวันเดียว มื้อเดียว  แล้วหยุด ไข้จะกลับซ้ำได้ง่าย

หาก เริ่มทานหลังจากไข้ไป สอง วัน  ( เชื้อจะเริ่มมาก )  การจะเห็นผลทุเลา อาการ  ต้องใช้เวลา อย่างน้อย ทานไป 24 ชม . คือ ต้องทานไป 3-4 มื้อ  จึงพอจะเห็นผล  

และ บางไข้ ไวรัส  ที่ไม่ได้ทานยาแต่แรก จะต้องใช้เวลา 48 ชม  จึงจะลดไข้ ได้ชัดเจน   เช่น ไข้เลือดออก  และ ไข้เลือดออก ผมพบว่า ใช้จันทน์ลีลาอย่างเดียว สู้ไม่ค่อยไหว  จะต้องใช้ สมุนไพร  2G  3G  4G  ตามสภาพอาการหนักเบา และ ความเสี่ยง ของผป.    ( 2- 4 G  หมายถึง สมุนไพร 2-4 ชนิด / ขนาน  เสริมกัน )

ว่าเรื่อง สิ่งท้าทาย สำหรับ ม.เชียงใหม่ คือ  การเปิดหลักสูตร แพทย์แผนไทย หรือไม่  และ บริหารอย่างไร  น่าคิด

ขณะนี้มี มหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนหลักสูตรแพทย์แผนไทย หลายแห่งมาก   เริ่มจาก มหาวิทยาลัยหลักที่มี คณะแพทยศาสตร์ โดยที่เปิดสอน ได้แก่ มหิดล ธรรมศาสตร์ มหาสารคาม สงขลานครินทร์  แม่ฟ้าหลวง     สามสถาบันแรก มหิดล ธรรมศาสตร์ มหาสารคาม บริหารหลักสูตร ภายใต้ คณะแพทยศาสตร์  อีก สองสถาบัน คือ สงขลานครินทร์ แม่ฟ้าหลวง แยกคณะ   แยกบริหาร กันกับ คณะแพทย์

ส่วนมหาวิทยาลัย ที่ไม่มีคณะแพทย์  แต่สอน บัณฑิตแพทย์แผนไทยได้แก่     ม. ราชมงคล  ม. ราชภัฎ ต่างๆ

หวังว่า ต่อไป วิชาการ แพทย์แผนไทย และ สมุนไพร ในประเทศไทย จะพัฒนาดียิ่งขึ้น อย่างประเทศจีน ที่มียาสมุนไพรสกัด ตัวยาจนใช้เป็นยาฉีด ได้หลายรายการ เช่น ยาฉีดฟ้าทะลายโจร 

ผู้เรียนรู้รุ่นหลัง

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #หอมไกล
หมายเลขบันทึก: 556245เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2013 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2013 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Wonderful to hear about "Thai Herbal Drugstores" -- I believe this will go a lot further. It can be come a one-Tambol-one-Store and a network of "proven herbal drug supplies' where growers and preparers (herbal pharmacists) can work together (in compliance to a national regulatory body's guidline) for better Thai health care.

I am all for it. Go for it.

การวางแผนงานวิจัยด้านสมุนไพร จะนำไปสู่การต่อสู้แข่งขันในเวทีโลกในอนาคต

ผมจบเกษตรฯ มช. ยังสนใจด้านสมุนไพรเลยเปิด หสม.นิรันดร์ เฮิร์บ เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าสมุนไพรที่คัดสรร อยากให้เปิดจะได้ไปเรียนครับ www.nirunherb.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท