Pal2Know: โครงการจัดการความรู้ สุขภาวะระยะท้าย
หรือ โครงการสร้างและจัดการความรู้ระบบบริการสาธารณสุขที่สร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายตามบริบทประเทศไทย
เป็นโครงการย่อยที่ ๒ ในแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะในช่วงท้ายของชีวิต
ดำเนินการโดยสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย - THAPS
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ - สสส.
ผู้รับผิดชอบโครงการ: นพ. เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะทำงาน: เอกภพ สิทธิวรรณธนะ
ฐนิดา อภิชนะกุลชัย
ปองกมล สุรัตน์
เพ็ชรลดา ซึ้งจิตสิริโรจน์
รัชฎา ชลารัตน์
ประภัสสร ปัญโญ
ศุลีพร ช่วยชูวงศ์
นุชระพี จันทร์ช่วย
Share to Care: เพื่อนร่วม share - รู้ร่วม care
วัตถุประสงค์
๑. สนับสนุนให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย อาสาสมัครภาคประชาชนและบุคลากรสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้าย
๒. สนับสนุนให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ของอาสาสมัครภาคประชาชนและบุคลากรสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้าย
๓. สร้างและรวบรวมชุดความรู้ บทเรียนหรือคู่มือที่สกัดจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และชุมชนนักปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายตามบริบทประเทศไทย
๔. รวบรวมข้อมูลและสร้างฐานข้อมูลการวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายตามบริบทประเทศไทย
กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินการ
ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย อาสาสมัครภาคประชาชนและบุคลากรสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้าย ทั่วประเทศ
กิจกรรม
๑. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุก ๔ เดือน หมุนเวียนทั้งในกทม. และต่างจังหวัด รวม ๘ ครั้ง ในเวลา ๓ ปี
ในเวทีแต่ละครั้ง ประกอบด้วย
๑.๑ การกำหนดประเด็น หัวข้อหลักที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้าย เช่น การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
๑.๒ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้ร่วมแลกเปลี่ยน ประกอบด้วย ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย อาสาสมัครภาคประชาชนและบุคลากรสุขภาพ ที่คัดเลือกมาจากผู้ปฏิบัติจริงหรือผู้มีประสบการณ์ตรง จำนวน ๒๕ คน โดยมีวิทยากรกระบวนการ (facilitator) ๕ คน เป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็น
๑.๓ การสรุปแก่นความรู้ จัดทำเป็นชุดความรู้ บทเรียนหรือคู่มือ
๒. จัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) บนสังคมออนไลน์ Facebook และ GotoKnow (ได้รับทุนจากทาง สสส.) โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย
๒.๑ การกำหนดประเด็น หัวข้อหลักที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้าย ที่สอดคล้องกับประเด็นในข้อ ๑.๑ แต่เป็นมุมมองที่กว้างกว่า เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมได้ และเป็นมุมมองในเชิงบวก เช่น บทเรียนที่นำมาใช้กับการใช้ชีวิต การเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส หรืออารมณ์ขัน เป็นต้น และเชื่อมโยงกับกิจกรรมในโครงการที่ ๑: การรณรงค์สร้างความตระหนักในบุคคลทั่วไปและบุคลากรสุขภาพ
๒.๒ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้ร่วมแลกเปลี่ยน สมัครเป็นสมาชิกของ Facebook และ GotoKnow และเขียน blog บันทึกหรือความเห็น โดยใช้ระบบคำสำคัญในการจัดหมวดหมู่ มีผู้ประสานงาน (CoP facilitator) เป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็น และมีการให้รางวัลแก่ผู้เขียนบันทึกในแต่ละประเด็น
๒.๓ การสรุปแก่นความรู้ จัดทำเป็นชุดความรู้ บทเรียน คู่มือหรือ eBook
๓. การรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สื่อและสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำฐานข้อมูล เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ