การออกแบบนวัตกรรม


นวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning innovation) หมายถึง สิ่งใหม่ที่นำมาใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

จะเห็นได้ว่านวัตกรรมการเรียนรู้เป็นนวัตกรรมที่ใช้ในวงกว้างด้านต่างๆ ที่เป็นการจัดการศึกษา มีจุดเน้นที่การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งนวัตกรรมการเรียนรู้มีความสำคัญต่อการเรียนรู้มากมาย

ในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทสื่อการสอนผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงดังนี้คือ

  1. วัตถุประสงค์การเรียนรู้
  2. ลักษณะผู้เรียน ความเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ระดับชั้น ความรู้ ทักษะ
  3. พื้นฐาน และประสบการณ์ของผู้เรียน
  4. รูปแบบการเรียนการสอน และการเรียนรู้
  5. ธรรมชาติเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม
  6. สภาพการเรียน
  7. ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ งบประมาณ
  8. ราคานวัตกรรมที่เหมาะสม

 

โครงสร้างของการออกแบบนวัตกรรม ดังนี้คือ

  1. ชื่อนวัตกรรม ผู้พัฒนาควรตั้งชื่อนวัตกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเข้าใจง่าย
  2. วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม การกำหนดวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมให้ชัดเจนส่งผลให้ การพัฒนานวัตกรรมนั้น รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  3. ทฤษฎี หลักการ ในการออกแบบนวัตกรรม ผู้พัฒนาต้องพิจารณาทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้ในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
  4. ส่วนประกอบของนวัตกรรม ในการออกแบบนวัตกรรมผู้พัฒนาต้องพิจารณาส่วนประกอบของนวัตกรรม ว่ามีอะไรบ้าง
  5. การนำนวัตกรรมไปใช้และประเมินผล เป็นส่วนที่แสดงความสำเร็จของนวัตกรรม ประกอบด้วย วิธีวัดผล เครื่องมือที่ใช้วัดผล และวิธีการประเมินผลประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน เมื่อการเรียนการสอนมีลักษณะเป็นระบบ ประกอบด้วยตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) การนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนจึงมีจุดหมายที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนการสอน

 

หลักการออกแบบสื่อเพื่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่1 เร้าความสนใจ (Gain Attention)

ขั้นตอนที่2 บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objectives)

ขั้นตอนที่ 3 ทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)

ขั้นตอนที่4 การเสนอเนื้อหา (Present New Information)

ขั้นตอนที่ 5 ชี้แนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)

ขั้นตอนที่6 กระตุ้นการตอบสนอง (Elicit Responses)

ขั้นตอนที่ 7 ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)

ขั้นตอนที่8 ทดสอบความรู้ (Access Performance)

ขั้นตอนที่9 การจำและนำไปใช้ (Promote Retention and Transfer)

ดังนั้นในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงหลักการข้างต้น เพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถนำมาใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์หลัก คือเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้มีประสอทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 554272เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2013 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2013 09:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ได้รับความรู้และมีประโยชน์มากค่ะ

ได้รับความรู้และมีประโยชน์มากค่ะ

ขอบคุณค่ะ ช่วยเรื่องสอบได้เยอะเลย

แผนพัฒนาสุขภาพตนสู่ชุมชน..จะออกแบบนวตกรรมแนวได้ได้บ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท