เราจะคิดโจทย์วิจัย อะไรจากพฤติกรรม สังคมก้มหน้า


                "ปัจจุบันไม่ว่าจะเดินทางไปไหนมาไหนกับครอบครัว เพื่อน พี่น้อง หรือว่ามองไปที่คนรอบข้างมักจะเห็นแต่ละคนต่างนั่งก้มหน้าอยู่กับหน้าจออุปกรณ์สื่อสารของตัวเองกันแทบทั้งสิ้น จึงทำให้เกิดศัพท์บัญญัติใหม่ในโลกออนไลน์ชื่อ ’สังคมก้มหน้า“ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มีผลกระทบอยู่ไม่น้อย หากเรายังปล่อยปละละเลยให้สังคมเป็นเช่นนี้ต่อไป"

                    ที่มา : ‘สังคมก้มหน้า’ ปรากฎการณ์ห่างเหินแนะปรับพฤติกรรมก่อนสาย! คลิก

ที่มาของภาพ http://mediamonitor.in.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A/
 

                 จากพฤติกรรมทางสังคมของผู้คนในยุค Social Network ที่ผู้คนต่างก้มหน้าอยู่กันอุปกรณ์ พกพาส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ ไอแพด ไอโฟน แท็บเล็ต ต่างๆ ซึ่งเราจะพบเห็นอยู่ได้ทั่วไปว่าผู้คนเหล่านี้ต่าง ง่วนอยู่กับการ แชท ผ่านไลน์ กับเพื่อนหรือกลุ่มเพื่อน การโพสต์ภาพอาหารที่กำลังจะทาน หรือทานเสร็จแล้วผ่านหน้าจอเฟสบุ๊ค หรือการกด Like กับเพื่อนที่โพสต์กิจกรรมในกลุ่มเกือบจะทุกวินาที ทำให้สามีภรรยา ที่สามีง่วนอยู่กับไอโฟน ส่วนภรรยาก็สไลด์หน้าจอไอแพดอย่างเมามัน โดยไม่ได้สนใจพูดคุยกันในร้านอาหาร เป็นภาพที่ชินตา สำหรับสังคมบ้านเรา 

               ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดี กรมสุขภาพจิต ได้ให้ความรู้ว่า พฤติกรรมสังคมก้มหน้า มีทั้งผลดีและผลเสีย กล่าวคือ

"เรื่องการใช้เวลากับสิ่งเหล่านี้ แม้สิ่งที่เราทำจะเป็นประโยชน์ ถ้าก้มหน้าได้อย่างเดียวแต่เงยหน้าขึ้นมาไม่ได้เลย ในแง่การใช้เวลากับมันมากเกินไปจนเริ่มรบกวนสิ่งที่เรียกว่า การทำหน้าที่ปกติ เช่น ถึงเวลาต้องรับประทานอาหาร แต่รู้สึกว่าไม่กินก็ได้ หรือถึงเวลาต้องนอนก็ไม่นอน ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ได้ อีกอย่างต้องยอมรับว่าการสื่อสารผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ทดแทนการพูดคุยแบบเผชิญหน้ากัน ไม่ใช่แปลว่าเรามีเพื่อนมากมายอยู่ใน Facebook หรือใน Line แต่ในความเป็นจริงหากเราไปไหนแล้วไม่มีคนคุยด้วยหรือคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง ไม่มีเพื่อนในสังคมจริง ไม่ได้แปลว่าคุณมีเพื่อน เพราะว่าทักษะทางสังคมที่เรียกว่า “Face to face” การมองหน้าหรือสบตากัน การมีจังหวะในการพูดคุย บางคนเสียไปเลย เช่น เวลาจะพูดกับคนอื่นรู้สึกประหม่า หรือว่าไม่เข้าหาคนอื่น หรือวางตัวไม่ถูก หรือว่าภาษาเป็นปัญหา เพราะภาษาที่ใช้ในโซเชียลเน็ตเวิร์กไม่ค่อยปกติ  ยิ่งถึงเวลาเป็นเรื่องของทางการมักเริ่มมีปัญหาว่าจะพูดภาษาที่เป็นทางการอย่างไร"

            จากแนวคิดเรื่องดังกล่าวนี้นี่เอง ทำให้ผมได้ลองให้ความคิดกับนิสิตปริญญาโทของผมคนหนึ่งลองไปศึกษาถึงพฤติกรรมของวัยรุ่นในอำเภอหนึ่ง ของจังหวัดพิจิตร ว่าพฤติกรรมของสังคมก้มหน้า จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือไม่ อย่างไร โดยใช้กระบวนการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่จะหาคำตอบ มาตอบความอยากรู้ต่อไป 

 

ต้องขอบคุณ คุณหมอ เจเจ ผุ้จุดประกายความคิดของบทความนี้ครับ 

หมายเลขบันทึก: 548278เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2013 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะอาจารย์

       ดิฉันเป็นคุณครูโรงเรียนมัธยมขอขอบคุณอาจารย์มากที่ให้ความสนใจในเรื่องนี้

เพราะคาดว่าในอนาคตสังคมคงปลี่ยนแปลงไปมากยิ่งขึ้น  คงจะหาคนพูดคุยกันแบบปกติยาก

จะรอติดตามผลวิจัยนะคะ

อืมม.... มองในอีกมุมหนึ่ง "สังคมก้มหน้า" นี้อาจจะมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ ในไม่กี่ปีนี้ครับ ถ้าอุปกรณ์ wearable computing devices อย่าง Google Glass เป็นอุปกรณ์มาตราฐานที่คนเราใช้กันมากขึ้น ผู้ใช้ก็จะไม่ก้มหน้าแต่จะเงยหน้าและ interact กับสิ่งแวดล้อมรอบข้างมากขึ้นครับ

แต่ผมก็นึกไม่ออกนะว่าโลกที่ใช้ wearable computing devices กันทุกคนนี่สภาพสังคมจะเป็นยังไง ถึงตอนนั้นก็เป็นโจทย์วิจัยได้อีกครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ปรีดา อาจารย์ธวัชชัย สบายดีนะครับ สังคมก้มหน้าเป็นเหมือนกันทุกที่ครับ สังคมกลุ่มอาจารย์ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาอย่างผม เวลาไปประชุมทำกิจกรรมกันทีไร ก็จะก้มหน้าเหมือนกันครับ wearable computing devices เป็นเรื่องที่น่าสนใจครับ ผมคงต้องลองไปสืบค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ขอบคุณครับ

Wearable Computing Devices Market: Global Market Analysis and Forecast 2012-2017

เอาเข้าไปเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์ แบบสวมใส่ สามารถสัมผัสได้บนทุกพื้นผิว โลกเราจะเปลี่ยนแปลงไปอีกมากมาย

OmniTouch: Wearable Multitouch Interaction Everywhere

เป็นโจทย์วิจัยที่สำคัญมากค่ะอาจารย์

จะเป็นเรื่องที่จะน่าเศร้า ก็ไม่ใช่ จะเป็นเรื่องที่บอกว่าปกติ ก็ดูแปลกๆ ครับ 

เทคโนโลยีเดี๋ยวนี้มันไปเร็วมากกว่าสมัยก่อนมากมายนักครับ แต่ว่า .... ถ้ามองเป็นโอกาส ก็เป็นโอกาสได้เหมือนกันครับ ที่จะเกิดการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้นมากครับ 

แต่เมืองไทย ไม่ค่อยมีสื่อการเรียนรู้อะไรมากนักครับ รวมทั้งการใช้สัญญาณ Internet ก็ไม่ได้รวดเร็วอะไรนักครับ ><' บวกกับอุปกรณ์ก็ราคายังสูงอยู่ อาจจะต้องรอไปสัก Generation นึงก็ได้ครับ คงจะเห็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท