"ผักควาบ"สันตะวาใบพาย......


ตั้งใจเก็บภาพ"บัวสาย"ที่นาลุงจัด....แต่เจอเข้ากับ"ผักควาบ"งานนี้ก็เลยได้ทั้งภาพ"บัวสาย"และ"ผักควาบ"ที่สำคัญวันนี้ได้รู้จักชื่อ"ผักควาบ"แบบเพราะ ๆ ว่า"สันตะวาใบพาย"คร้าบ!!!!

                                     -เมื่อวันก่อนได้พาทุกท่านไปช่วยกัน"เก็บพริกนา"และเรียนรู้วิธีการ"ปลูกพริกนา"ของครอบครัว"ลุงจัด"แล้ว....วันนี้ตามผมกับลุงจัดไปเก็บ"ผักพื้นบ้าน"กันดีกว่าครับ....ขอบอกว่า"ผักพื้นบ้าน"ชนิดนี้ไม่ค่อยจะได้เห็นกันมากนัก หรือบางท่านอาจจะยังไม่เคยรู้จักมาก่อนก็เป็นได้...แต่สำหรับคนต่างจังหวัดอย่างผมแล้ว..."ผักพื้นบ้าน"ชนิดนี้ เป็นผักที่ผมคุ้นเคยมาตั้งแต่สมัยยังเป็นละ่อ่อนซึ่งชื่อที่ผมคุ้นเคยก็คือ"ผักควาบ"ครับ....และวันนี้ผมมาเจอกับ"ผักควาบ"อีกครั้งแต่พบเจอกันในนามชื่อใหม่ไพเราะว่า"สันตะวาใบพาย"ครับ...55555

1.นี่ก็คือบรรยากาศโดยทั่วไปของนาข้าวของ"ลุงจัด"ครับ..ถึงแม้อากาศจะร้อนแต่ก็มีลมเย็นโชยมาให้ผมคลายร้อนไปได้ครับ....หลังจากที่ไปดู"ปลวกพริกในนา"ของลุงจัดแล้ว ผมก็ตั้งใจที่จะแวะเก็บภาพ"บัวสายดอกสวย ๆ "มาฝากมิตรรัก G2K ซักหน่อย...แต่พอเข้าไปใกล้ ๆ กับ"บัวสายดอกสวย"ผมก็ได้เจอกับ"ผักควาบ"อยู่ใต้น้ำครับ....การ"เก็บภาพบัวสาย"หยุดลงทันที...มาเก็บภาพ"ผักควาบ"กันดีกว่าคร้าบ!!!

 

2.ย้อนกลับไปเมื่อผมยังเป็นละอ่อน อยู่นั้น "ผักควาบ"เ้ป็นผักที่ต้องนำมาเป็นผักจิ้มน้ำพริกอยู่แทบทุกมื้อครับ..."ผักควาบ"เป็นผักที่เกิดขึ้นอยู่บริเวณ"ใต้น้ำ"เราจะเห็น"ผักควาบ"อยู่ในแหล่งน้ำที่ใสสะอาดครับ...แ่ต่สำหรับวันนี้...ผมเห็น"ผักควาบ"ขึ้นอยู่ปนกับ"บัวสาย"ครับ...และ"ลุงจัด"ก็ได้ลงไป"เก็บผักควาบ"มาให้ผม 1 กอ ครับ....แต่...."ลุงจัด"เรียก"ผักควาบ"ว่าอะไรหนอ?????

 

3.ลุงจัดบอกว่า..ผักนี้คนพรานกระต่ายเรียกว่า"ผักสันตะวา"น่ะครับ.....เป็นผักที่นำมากินเป็นผักสด ๆ ได้ นิยมนำมาจิ้มน้ำพริก ใบจะมีลักษณะกรอบ และส่วนที่นำมากินได้ก็คือ"ส่วนของก้านและใบ"....ข้อมูลที่"ลุงจัดบอกผม"ตรงเป๊ะ!!!!!เพราะว่าบ้านผมก็กินเป็นผักสดเหมือนกัน...งานนี้ก็เลยบอกลุงจัดว่า...บ้านผมเรียก"ผักควาบ"ครับ..ที่มาของชื่อก็น่าจะมาจากลักษณะของ"ความกรอบของก้านและใบ"นี่เอง ฉะนั้นคนทางภาคเหนือจึงเรียกผักชนิดว่า"ผักควาบ" เทียบเคียงประมาณว่า"อะไรที่กรอบ ๆ พอหักหรือบีบจะแตกเสียงดัง..ควาบ...."น่ะครับ 5555555

 

4.และเพื่อเป็นการหาข้อมูลเกี่ยวกับ"ผักสันตะวา"หรือ"ผักควาบ"ของผม วันนี้จึงของสืบค้นข้อมูลใน Internet ซักหน่อยครับ และตามข้อมูลที่ได้มา เขาบอกเอาไว้ว่า "สันตะวา หรือสันตะวาใบพายเป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์เดียวกับสาหร่ายหางกระรอก ทางภาคอีสานเรียกว่า ผักโตวา หรือผักโหบเหบ ภาคใต้เรียกว่า ผักหวา พบทั่วไปในแหล่งน้ำจืดต่างๆ และเป็นวัชพืชในนาข้าว สันตะวาเจริญอยู่ใต้น้ำโดยมีรากยึดติดกับดิน ลำต้นสั้น ไม่มีไหล ใบเวียนรอบต้นถี่ๆ จนดูเป็นกอ ในบางค่อนข้างใสเป็นแผ่นใหญ่สีเขียวหรือเขียวอมน้ำตาล ขอบจีบย่นๆ ดอกสีขาว ๓ กลีบ เป็นดอกเดี่ยว มีก้านยาวชูจากซอกใบขึ้นมาเหนือน้ำ ผลค่อนข้างยาวมี ๓ ปีก มีเม็ดเล็กๆ จำนวนมาก ซึ่งเมื่อตกลงในดินจะงอกขึ้นมาเป็นต้นเล็กๆ ใช้เมล็ดขยายพันธุ์ได้อีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการแตก หน่อ ถ้าสภาพแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ดี สันตะวาจะเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อใดที่น้ำแห้ง สันตะวาก็จะแห้งตายไปด้วยคนไทยในชนบทรับประทานใบอ่อนและดอกเป็นผักสด แกล้มกับลาบ ก้อย แกงเผ็ด หรือใช้จิ้มน้ำพริก น่ะครับ"

 

5.เมื่อถึงบ้านของ"ลุงจัด"แล้ว วันนี้ผมจึงขอให้"ป้าอึด"มาเป็นนางแบบนำเสนอ "ผักควาบ"ให้ทุกท่านได้ชมกันอีกรอบ......งานนี้"นางแบบกิตติมศักดิ์"จึงภูมิใจนำเสนอย่างเต็มใจ พร้อมกับฝากบอกมิตรรัก G2K ทุกท่านว่า"หากจะมาชิม"สันตะวาใบพาย"แบบสด ๆ ก็ขอเชิญมาเยี่ยมชมและชิมได้นะคร้าบ!!!! 5555

สำหรับวันนี้.....สวัสดีครับ....

                                                                                     เพชรน้ำหนึ่ง

                                                                                    26/08/2556

ปล.ขอขอบคุณข้อมูล"ผักสันตะวา"จาก http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B2_(Ottelia_alismoides_Pers.) มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ.....

หมายเลขบันทึก: 546673เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

ขอบคุณมากสำหรับการติดตามผลงาน..ประทับใจครับกับผักพื้นบ้านที่สรรหามานำเสนอ

ตามมากินผักพื้นบ้านครับ ขอบคุณที่ทำให้รู้จักผักควาบครับ

ที่อีสานไม่แน่ใจเรียกผัก อะไร แต่ตอนเด็กๆเคยกินกับป่นปลา แซบ อีหลี เด้อ...

ตอนอยู่ที่อีสานกินบ่อยครับ  แต่ที่บ้านแม่ตาดไม่มีผักชนิดนี้เลย  เลยทำให้อดกินไปด้วย

อีสานที่แวงน้อยขอนแก่นเรียกว่า "ผักกะโตวา" อีสานที่ กุมภวาปี  อุดรธานี เรียกว่า "ผักพาย"

ทานกับป่น กับส้มตำ กรอบอร่อยดีค่ะ   ส่งส้มตำถาดมาให้ ทานกับผัก กะโตวา  ล้อมวงกันได้แล้ว...

 

              

ยังไม่เคยกิน..วันหลังไปพรานกระต่ายจะขอไปลองดูเน้อ

ขอบคุณสำหรับการติดตามผลงานเช่นเดียวกันค่ะ

ผักควาบ ผักหน้าใหม่ที่น่าลิ้มลอง (เป็นคนชอบทานผักค่ะ)

 

ย้อนหลังไปสักเกือบ ๆ 20 ปี ผักแบบนี้ แถว ๆ ริมคลองบ้านคุณมะเดื่อมีเยอะมาก ทราบว่ากินได้ แต่ไม่มีใครกินจ้ะ เดี๋ยวนี้หาทำยาหยอดตาไม่เจอแล้ว  แถว ๆ บ้านคุณมะเดื่อก็เรียกว่า สันตะวาเหมือนกัน 

มารู้จัก"ผักสันตะวา"หรือ"ผักควาบ" ค่ะคุณเพชร...ขอบคุณค่ะ

นึกออกแล้ว ที่บ้านเรียกว่า สันตะวา

เคยเก็บมาจิ้มน้ำพริกอร่อยมากๆๆๆๆ

  • สวัสดีครับ
  • เดินตามดูลุงจัดอยู่ครับ
  • ผักควาบ ดูเขียวสดใส น่ารับประทานจังครับ
  • ไม่รู้ จ.ตรัง จะมีไหมครับ? 555 (รับมุขหน่อย พี่ชายอุตส่าห์ตามมาแซวครับ)

ผมไม่เคยได้ยินชื่อ และไม่เคยเห็นภาพเลยครับ ...
แต่เท่าที่อ่านๆ มัน เจ๋ง ครับ ที่บ้านผม นครชัยศรี ไม่มี (หรือผมไม่ทราบว่ามี ก็ไม่แน่ใจครับ)
และบ้านพ่อที่ ชุมพร ก็ไม่เคยเห็นครับ ...
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ ^___^

-สวัสดีครับคุณชนะ

-ยินดีที่มาเยี่ยมบันทึกนี้ครับ

-จะพยายามหาผักพื้นบ้านแปลก ๆ มานำเสนอครับ

-ขอบคุณครัีบ

-สวัสดีครับคุณ nobita

-ผักแปลก ๆ อีกเช่นเคยครับ ฮ่า ๆ

-หากไปเดินตลาดสดลองหาดูนะครับเผื่อจะเจอ"ผักควาบ"

-ขอบคุณครับ

 

-สวัีสดีครับคุณ พ.แจ่มจำรัส

-ยินดีที่ีบันทึกนี้ได้ร่วมรำลึกถึงความหลังนะครับ..

-จิ้มป่นปลา...แซบอีหลี..

-ขอบคุณครับ..

-สวัสดีครับท่านอักขณิช..

-ที่แม่ตาดไม่มี"ผักควาบ"ก็เลยอด ฮ่า ๆ ๆ

-หากกลับบ้านศรีสะเกษท่านต้องนำพันธุ์ผักควาบไปขยายพันธุ์ที่บ้านแม่ตาดแล้วล่ะครับ 

-หรือไม่ก็มากินที่พรานกระต่ายได้นะคร้าบ!!!!!

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับครูมุก..

-ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ..

-ว่าแต่ตำบักหุ่งที่ีนำมาฝากน่ากินมาก ๆ ครับ

-จัดไป...หนึ่งถาด...ฮ่า ๆ

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับอ้ายสิงห์ป่าสัก

-ยินดียิ่งแล้ว..หากแขกแก้วมาเยือน..

-มา ๆ จะพาไป...ครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมนะครับ

-สวัสดีครับปัฐมานันท์

-ยินดีที่มาเยี่ยมนะครับคนชอบผัก..

-หากติดตามบันทึกของผมจะได้ชิมผักสด ๆ เป็นอาหารตาครับ.

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับครูมะเดื่อ..

-ยินดีที่ได้นำผักสันตะวามาฝากครูนะครับ..

-รำลึกถึงความหลังได้อีกหนึ่งอย่าง ฮ่าืๆ 

-ว่าแต่"ทำยาหยอดตา"คืออะไรอ่ะครับ..

-หรือเป็นเพียงคำเปรียบเทียบหนอ????

-ขอบคุณครับครู...

 

-สวัสดีครับ ดร.พจนา..

-ยินดีที่มาเยี่ยม/ให้กำลังใจครับ

 

-สวัสดีครับอาจารย์ขจิต...

-ดีใจจัง..อาจารย์เคยกินผักควาบ...

-บ้านอาจารย์ก็มีผักชนิดนี้ด้วย ฮ่า ๆ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยม/ให้กำลังใจบันทึกนี้ครับ...

-สวัสดีครับน้องว่าที่ครูอาร์ม

-ไม่รู้นะว่าเมืองตรังจะมีผักควาบไหม..แต่ที่แน่ ๆมีหมูหันเมืองตรังแน่นอน ฮ่า ๆ ๆ

-อีกอย่าง..เมืองตรังมีผักควาบใบสีชมพูคร้าบ!!!! 

-มีแซว ๆ ๆๆ

-ยินดีที่มาเยี่ยมครับ..

-สวัสดีครับ ดร.จูล

-ยินดีที่ได้แบ่งปันเรื่องผักพื้นบ้่านครับ

-เห็นเขาบอกว่าทางใต้เรียก"สันตะวา"ครับ..

-ลองหาดูนะครับ..เผื่อเจอ..

-ขอบคุณที่ีมาเยี่ยมบันทึกนี้ครับ..

น่าทานค่ะ  

วิวสวยมาก เห็นภาพชีวิตแล้วชอบค่ะ อยู่กับธรรมชาติ ของกินได้จากธรรมชาติ อร่อย สด ประหยัดด้วย ชื่นชมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

-สวัสดีครับคุณถาวร....

-ยินดีที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ..

-อยู่กับธรรมชาติ..สดชื่นดีจริง ๆ ครับ..

อาจารย์แม่จำได้ว่า ทางไปโรงเรียนบ้านขุมเงิน จะผ่านนาข้าวของชาวบ้าน และจะมีนาอยู่ 2 แปลงที่มี "ผักโหบเหบ" อาจารย์แม่ไอดินฯชอบความแปลกของมันที่จะมองเห็นใบยั้วเยี้ยเป็นเงาอยู่ใต้น้ำ อาจารย์แม่ไอดินฯ จะแวะเก็บไปให้แม่ขากลับจากโรงเรียน (ช่วงที่เรียน ป.๔)

-สวัสดีครับอาจารย์แม่ไอดิน...

-ผักโหบเหบ....รำลึกเมื่อครั้งเยาว์วัย...

-ดีใจ ๆ ที่อาจารย์แม่เคยกินผักควา

-รสชาติจะออกประมาณ"ใบบัวบก"น่ะครับ..

-ขอบคุณครับ..

น่าสนใจมากค่ะสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ"ผักสันตะวา"หรือ"ผักควาบ"

-สวัสดีครับป้าใหญ่

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ

-เคยเห็น"ผักควาบ"ไหมครับ??

 

 

ขอบคุณความรู้เรื่องผักควาบค่ะ

ไม่เคยกินเลยพี่ต้องขอลองดูค่ะ

เพียงแต่อาจนำไปห่อเมืี่ยวคำรับประทางเช่นเดียวกัยใบพลู 

ขอบคุณค่ะ

-สวัสดีครับ krutoiting

-ยินดีที่มาเยี่ยมครับ...

-ผักควาบ จะนำมาจิ้มน้ำพริก

-แต่หากนำมาห่อเมี่ยงคำก็น่าจะลองดู เผื่ออร่อย.55

-ขอบคุณครับ

เป็นความรู้ที่น่าสนใจมากเลยค่ะ คิดถึงผักชนิดนี้หากินยากมาก ดิฉันเป็นคนขอนแก่นผักชนิดนี้คนทางนี้ก็รียกว่าผักกะโตวาะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท