หนุ่มสอยดาว
เกษตรกรเต็มขั้น อิทธิพล หนุ่มสอยดาว สาคร

หนุ่มสอยดาวเพื่อแชร์กับทุกสวนลำไยทั่วไทย


การทำลำไยในช่วงหน้าฝนถือว่าเป็นเรื่องท้าทายความสามารถมากสำหรับผม บอร์นี้ที่สร้างขึ้นมาเพื่อ จะแบ่งปันความรู้ร่วมแสดงประสบการณ์
มีต่อ

ไม่รู้ทุกคนเป็นอย่างไรกันบ้างครับ โปรดแสดงตัวด้วยครับ

หากมีเวลาข้าพเจ้าจะนัำความรู้อันน้อยนิดที่ได้จากการทำสวนลำไยมาเล่าให้ฟังครับเผื่อจะมีประโยชน์ ไม่น้อยก็มากครับ...ต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด

ยังไม่ได้อ่าน...และยังไม่เห็นหน้าค่าตานะคะ...หนุ่มสอยดาว...โปรดแสดงตัวด้วยค่ะ

เพิ่งหัดเล่นครับกำลังทำความเข้าใจอยู่ครับ

วันนี้ลำไยฉีกไปหนึ่งต้นเพราะไม้ค้ำหักหนักดอกมากเกินไป อุ้มน้ำฝน เสียดายมาก

tese  ครับ

เทสครับ

บล็อคนั้นโดนแบนครับ ใช้คำละเมิดหลายอย่าง ที่นี้ต้องระวังด้วยครับ ต้องขอโทษด้วยครับผมก็ทำผิดกฎหลายอย่าง okนะครับ ลำไยคุณแอ็ดเแ็นอย่างไรบ้างครับ วันนี้ผมราดสารเพิ่งพักทานข้าว เดีี๋ยวบ่ายไปใหม่ครับ

พี่หนุ่มสอยดาว คนบ้านใกล้  สวนอยู่ตรงไหน...คะ ว่างๆ จะแวะไปขอความรู้เพิ่มเติมบ้าง...ค่ะ

สวนเล็กๆครับไม่น่าชมหรอกครับ ตอนนี้มีปัญหาเท่าทีตระเวนดูหลายสิบสวนหลายพื้นที่ลำไยไม่ติดลูกกัน ดอกตัวผู้จะมาก

การทำลำไยในช่วงฤดูฝน เกษตรกรสามารถชักนำให้ต้นลำไยออกดอกได้ แต่ว่า....ทำไมลำไยจึงไม่ติดลูก

เรื่องนี้มีสาเหตุหลายประการค่ะ คุยกันยาว  เกษตรกรต้องกลับไปพิจารณาบริบทของสวนลำไยของตนเองว่า  เกษตรกรแต่ละท่านมีบริบท หรือได้ปฏิบัติเข้าข่ายในประเด็นใด ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ลำไยไม่ออกดอกได้  ไว้ยุ้ยจะนำไปเขียนใน www.Gotoknow.org ค่ะ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/543935

บทความเรื่อง "การทำลำไยในช่วงฤดูฝน เกษตรกรสามารถชักนำให้ต้นลำไยออกดอกได้ แต่ว่า....ทำไมลำไยจึงไม่ติดลูก"

คุณหน่มสอยดาวครับ ดอกที่บานออกมาส่วนใหญ่เป็นดอกตัวผู้ ต้องทำยังไงครับ

คุณแอ็ด ระยอง ที่นี่ก็เป็นครับผมไปตะเวนดูสวนแถวบ้านผม3ตำบล ส่วนใหญ่เป็นเหมือนกันหมดครับ คงจะต้องรอลุ้นดอกสุดท้ายที่ปลายช่อครับ สวนผมผ่าดอกไปสามวันที่แล้วหหลังจากฟ้าปิดมาหลายวัน หวังว่าเราคงจะไม่โชคร้ายเกินไปครับ

คุณหน่มสอยดาวครับ  "ผ่าดอก"  คืออะไรครับ

@คุณแอ็ด ระยอง คือการฉีดผ่าดอกครับ ในสถานะการณ์ที่จำเป็น เช่นฝนชุกช่วงดอกบานกลัวเชือราเข้าทำลายขั้วดอก หนอนม้วนดอกลำไย(มีใยเหมือนสไปเดอร์แมน) เลยจำเป็นต้องฉีดป้องกันครับ แต่จะมีผลข้างเคียงกับแมลงช่วยผสมเกสร เลือกใช้ยาเอาครับ ผมใช้อะบา แคปแทน แคล โบ ก็ประมาณนี้ครับ ถ้าเลือกได้ควรฉีดช่วงเย็นเป็นต้นไปครับเพราะแมลงช่วยผสมเกสรเริ่มกลับบ้านพักผ่อนกัน

อธิบายเพิ่มเติมหน่อย  จะได้เข้าใจว่าจะใช้อะไร  ไปเพื่ออะไร  

อาบาแม็กติน เป็นยากำจัดแมลงที่แรงมาก ใช้กรณีเกิดการระบาด และจะใช้เมื่องจำเป็นจริงๆ  

แคปแทน เป็นยากำจัดเชื้อราที่มีฤทธิ์อ่อนที่สุด เกษตรกร ที่เพิ่งเริ่มใช้  จะใช้ในการป้องกัน หรือใช้กำจัดเชื้อราในระยะแรกๆ  ซึ่งจะได้ผลดีกว่าใช้ยาแรงๆ  เพราะเชื้ออาจเกิดอาการดื้อยาได้

แคลเซียม โบรอน ใช้เพื่อบำรุงกิ่งก้าน และขั่วดอก ให้มีความยืดหยุ่นตัว ช่วยในการพัฒนาการเจริญเติบโตของดอกได้ดี...ค่ะ 

 

ส่วนเรื่องดอกลำไยตัวผู้มากกว่าตัวเมียนั้น  

 การบานของดอกและการผสมเกสร   ระยะเวลาตั้งแต่ช่อดอกเริ่มโผล่จนถึงดอกเริ่มบาน ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์  

ลักษณะการบานของดอกจะบานจากโคนไปหาปลายช่อ และการบานของช่อแขนงย่อย จะบานจากโคนไปหาปลายเช่นกัน ลำไยต้นหนึ่ง ๆ จะมีระยะการบานประมาณ 1-1.5 เดือน 

สำหรับลำดับการบานของดอกนั้นพบว่า มี 2 รูปแบบ หลักๆ คือ

รูปแบบ ที่ 1 ดอกตัวผู้บานก่อน โดยดอกตัวผู้จะบานต่อเนื่องกันตั้งแต่ดอกแรกถึงดอกสุดท้าย ใช้เวลา 25-28 วัน ส่วนดอกตัวเมียจะบานหลังดอกตัวผู้เริ่มบานประมาณ 14 วัน โดยดอกตัวเมียมีระยะเวลาการบาน 5-7 วัน แต่จะมีการบานมากที่สุดในวันที่สองของการบาน 

รูปแบบที่ 2 คือ ดอกตัวเมียบานก่อน และมีการบานอยู่สองช่วง โดยแต่ละช่วงมีระยะการบาน 4-7 วัน หลังจากดอกตัวเมียชุดแรกบานได้ 4-6 วัน ดอกตัวผู้จะเริ่มบานและบานต่อเนื่องกันไป 15-25 วัน  

ลักษณะของดอกตัวเมียที่บานเต็มที่และพร้อมที่จะรับละอองเกสร (receptive) สังเกตได้จากยอดเกสรตัวเมีย (stigma lobe) จะแยกออกเป็น 2 แฉก (bifurcation) และมี น้ำหวาน (nectar) ที่จานรองดอก และมีช่วงเวลาในการผสมเกสรอยู่ระหว่าง 7.00-10.30 น. ส่วนอับละอองเกสรมีระยะการแตกหรือเปิดต่อเนื่องกันประมาณ 4 ชั่วโมง หลังดอกบาน พบว่าอับละอองเรณูมีการเปิด 14% ในเวลา 11.00 น. 40 % ในเวลา 13.00 น. และ 27% ในเวลา 15.00 น. ส่วนที่เหลือจะมีการเปิดในเวลาอื่น  ดอกตัวผู้แต่ละดอกบานประมาณ 2-3 วัน

การผสมเกสรโดยธรรมชาติอาจเกิดได้สองกรณีคือ ผสมข้ามดอกภายในต้นเดียว (self pollination) และผสมข้ามต้น (cross pollination) การผสมทั้งสองกรณีจะสำเร็จ โดยอาศัยแมลงเป็นสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมลงพวกผึ้ง ส่วนลม และแรงดึงดูดของโลก มีบทบาทอยู่บ้างแต่น้อยมาก การปฏิสนธิ (double fertilization) จะเกิดขึ้นใน ถุงต้นอ่อน (embryo sac) ประมาณ 4 วัน หลังจากมีการถ่ายละอองเรณู...ค่ะ

คุณหน่มสอยดาวครับ  ที่สวนผมอาทิตย์แรกที่ดอกบาน จะเป็นดอกตัวเมียครับ  ผ่านมาอีก 1 อาทิตย์  วันนี้  28/07/56  ทั้งสวนมีดอกตัวผู้เกือบ  80%  ตั้งแต่ดอกเริ่มบานถึงวันนี้  รวม 2 อาทิตย์แล้วครับจะติดลูกไหมครับ

ตอบแทนหนุ่มสอยดาว...ละกัน

การติดผล  จะเกิดขึ้นภายหลังดอกลำไยบานไปได้ประมาณ 2 สัปดาห์  ซึ่งสังเกตได้จากกลีบดอกจะค่อยมีสีซีดลง และเหี่ยวไปในระยะ 3-4 วัน หลังจากการถ่ายละอองเกสร  

เพศดอกและสัดส่วนเพศดอก ผลลำไยเจริญมาจากดอกตัวเมียที่ได้รับการผสมเกสรจากดอกตัวผู้  การมีสัดส่วนเพศดอกที่เหมาะสม และมีจำนวนดอกตัวเมียต่อช่อมาก ย่อมมีโอกาสติดผลได้มาก  

ลำดับการบานของดอก  กิดขึ้นหลายๆรูปแบบ จากการสังเกตพบว่า ช่อดอกลำไยที่ดอกตัวเมียบานก่อนโดยไม่มีดอกตัวผู้ จากช่ออื่นๆ ภายในต้น หรือต่างต้นบานคาบเกี่ยว  ดอกตัวเมียทั้งหมดจะร่วงหล่นเนื่องจากไม่ได้รับการผสมเกสร  

แต่ถ้ามีดอกตัวผู้บานคาบเกี่ยว และมีแมลงช่วยผสม ช่อดอกที่มีดอกตัวเมียบานก่อน และบาน 2 รุ่น ก็จะมีการติดผล 2 รุ่น ในช่อเดียวกัน...ค่ะ

สัดส่วนเพศดอก ช่อดอกหนึ่ง ๆ  โดยปกติดอกตัวผู้จะมีมากกว่าดอกตัวเมีย แต่สัดส่วนเพศดอกจะผันแปรตามพันธุ์ การปฏิบัติดูแลรักษา และสภาพแวดล้อมในแต่ละปี หรือในแต่ละช่วง และการออกดอก ต้นลำไยที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดมีสัดส่วนดอกตัวผู้ต่อดอกตัวเมีย 5:1  ส่วนต้นที่ปลูกด้วยกิ่งตอนมีสัดส่วนของดอกตัวผู้ต่อดอกตัวเมียสูงกว่า คือพันธุ์แห้วมีสัดส่วน 6:1 เบี้ยวเขียว 7:1  พันธุ์อีดอ และ สีชมพู 9:1  การมีดอกตัวเมียอยู่สูงก็มีโอกาสติดผลต่อช่อสูงด้วย

ดังนั้น : สรุปว่า ที่สวนของคุณแอ็ด ระยอง  มีการพัฒนาในเรื่องของการออกดอกของต้นลำไย ถือว่าเป็นปกติดี...ค่ะ ส่วนสัดส่วนของดอกตัวผู้ ที่ว่ามีมากกว่าประมาณร้อยละ 80  ถือว่าเป็นปกติ  สำหรับลำไยพันธุ์อีดอ ที่ตอนกิ่งมาปลูก...ค่ะล   ำไยติดลูกแน่นอน  ขอให้ดูแลให้น้ำ ให้ปุ๋ย(ทางดิน) ให้ดี  และถ้าสามารถหาผึ้งมาผสมเกสรเพิ่ม จะช่วยได้มาก   แต่ถ้ามีดอกตัวเมียบานเพิ่มขึ้นมาในระยะนี้อีก  ก็มีโอกาสเกิดลำไยรุ่นที่ 2 ภายในช่อผลเดียวกันด้วย...ค่ะ

 

จากที่น้องยุ้ยอธิบายมาก็พอจะอุ่นใจหน่อยครับว่าน้องลำไยน่าจะติดลูก ผมล่ะไม่กล้าเข้าไปดูใกล้กลัวจะไปทำลายสมาธิของเหล่าแมลงผสมเกษร ได้แต่ลุันอยู่ห่างๆ เมื่อวานก็ซ้ำใบแปลงสุดท้ายของปีนี้ เรียกว่าฉีดผ่าฝนรินๆกันเลย ยังไม่เสร็จเลยครับ สู้ฝนไม่ไหววันนี้เอาใหม่ @คุณแอ็ด ระยอง ไม่ต้องกังวลครับ ดอกตัวเมียตบท้ายครับ ยกแรกใกล้จบแล้วครับแข็งใจอีกนิดนึงครับ

 

 

ถ้าดอกลำไยเริ่มโรย แล้วสังเกตุดีดีจะเห็น..บักห่ำน้อย(ขอยืมคำเรียกน้องยุ้ยครับ ผมว่าเป๊ะเวอร์ครับ)แสดงว่ามีโอกาสติดลูกครับ ระวังเชื้อรากับหนอนน้อยที่จะเข้ามาทำร้ายบักห่ำน้อยก็พอครับ ขอให้การทำสวนเป็นเรื่องสนุกและมีความสุขครับ....ปล.วันนี้วันพระ

ขอบคุณมากครับสำหรับ น้องยุ้ย  และหนุ่มสอยดาว ที่ให้กำลังใจครับ

สวัสดีครับ คุณหนุ่มสอยดาว และทุกท่าน นึกว่าผมจะไม่ได้ติดต่อกับพวกท่านเสียแล้ว

สวนผมใบกลืนหมดแล้วครับ และ ทดลองราดสารซ้ำไป ประมาณ สามสิบกว่าต้น เพื่อทดลอง สารจากเจ้าใหม่

ซึ่งหลายสวนได้ผลดีมาก โดยการฉีดสารโดยเครื่องพ่นยา ปรับหัวให้แหลมแทงลงบริเวณปลายราก 

1 ถังได้ประมาณ สิบกว่าต้นของผมได้ สิบต้นเพราะต้นใหญ่มาก ใบไม่เหลือง และไม่หล่น มีแค่สลดและบิดเท่านั้น

ซึ่งก็ตรงตามที่คนขายบอกมา ถ้าชุดนี้ได้ผล จะดึงใบส่วนที่เหลือแล้วราดประมาณ กันยา 

ไม่ทราบว่า เราใช้คำผิดตรงไหนบ้างครับ จะได้ระวัง เพื่อไม่ได้ถูกบล็อกอีก

@คนบ้านโฮ่ง พอจะทราบส่วนประกอบของสารตัวใหม่มัิยครับ เพราะทีืนี่ฉีดอัตราพอพอดีใบสลดเหลืองนิดๆแต่ไม่ร่วงมากเหมือนกันครับ อยู่ที่คนฉีดครับว่าเดินช้าเดินเร็ว*******สาเหตุที่ถูกบล็อคมีหลายอย่างครับเช่น นำรูปสินค้ามีลิขสิทธิ์ลง เอ่ยชื่อบริษัท ภาพลิขสิทธิ์ ผลงานวิจัย ขายสินค้าในบอร์ด ต่อไปหากจะลงขอให้เป็นคำที่พอรู้กันได้น่าจะดีกว่าครับ เช่นแพคโคบิวทราโซลของโซตุ๊ เคโมค่ะ ขำขำประมาณนี้ครับ พวกเราจะได้แชร์ความรู้ประสบการณ์ไปตลอด เพื่อลูกหลานเราในอนาคตตะกาลนานโพ้นครับ ขอให้การทำสวนเป็นเรื่องสนุกและมีความสุขครับ

จะใช่สารบรรจุซองเสร็จ ที่โฆษณาว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของคณะทำงานวิจัย ที่มีตรารับรองของหน่วยงานทางภาคเหนือ หรือเปล่า...ค่ะ ถ้าใช่  ก็ได้เคยดูแล้ว...ค่ะ

เขาไม่ได้เขียนส่วนผสมกำกับไว้ แต่เท่าที่มองดูเนื้อสารน่าจะเป็นส่วนผสมของ กำมะถัน,โปรแทสเซียมคลอเรต,โปรแทสเซียมไนเตรท และธาตุอาหารอื่นๆ ที่ำเป็นธาตุอาหารพื้นฐานในช่วงการปรับสภาพทางสรีรวิทยาเพื่อการออกดอก...ค่ะ

สารยี่ห้อนี้ เขากำักับว่าให้ใช้สำหรับพ่นทางใบ เห็นเขาเคยโฆษณาว่า ถ้าราดสารแล้วไม่ได้ผล ให้ใช้ตัวนี้พ่นซ้ำ แต่จะต้องไม่เกิน 25 วันหลังการราดสารในครั้งแรก...นะคะ  

แต่ที่สวนของยุ้ยไม่ได้ใช้ค่ะ  เพราะได้เรียนรู้มาว่า 13-0-46 อาจมีผลทำให้ลำไยรับสารนี้เข้าไปในเนื้อลำไยได้  

เมื่อผู้บริโภคลำไยเข้าไป จะทำปฏิกริยากับ "เอมีน" ในกระเพาะอาหาร หรือไปรวมตัวกับ ไนไตรซ์  ทำให้แปรสภาพเป็น "ไนโตรซามีน" ซึ่งเป็นสารกลุ่มหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้...ค่ะ

สารพวกนี้มีอยู่ในกระเพาะอาหารของเรา เพราะเราบริโภคเนื้อสัตว์เข้าไปด้วย  ซึ่งอาจทำให้เป็นมะเร็งตับ ไต หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร...ได้ค่ะ  รายละเอียดลองศึกษาดู...นะคะ

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=77

แต่ถ้าในสารบรรจุซองที่กล่าวถึงข้างต้น ไม่ได้มีส่วนผสมของ 13-0-46 ลงไปด้วย ก็ต้องกราบขออภัยมา ณที่นี่ด้วย..ค่ะ

แต่ถ้าให้ดี ผู้ผลิตควรจะได้กำกับส่วนผสมไว้ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องบอก % ก็ได้...ค่ะ  ถ้ากลัวว่าจะมีนักวิจัยอื่นๆ นำไปต่อยอดพัฒนาส่วนผสมให้มีประโยชน์สามารถใช้งานได้ดีขึ้น (แล้วเอามาขายแข่้ง)   

เพียงแต่ยุ้ยมอง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาผลผลิตลำไยในภาพรวม และเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประกอบในการพิจารณาตัดสินใจในการเลือกใช้...ค่ะ

เกรงว่า ถ้ามีการตรวจพบสารดังกล่าวในเนื้อลำไยที่ส่งออกในระดับที่สูงมาก  อาจทำให้มีผลกระทบต่อยอดการส่งออกลำไยของประเทศได้....ค่ะ

หรือใครมีความรู้  ในเรื่องผลกระทบจากการใช้ 13-0-46 ถูกต้อง หรือละเอียดกว่านี้ แบ่งปันความรู้กันบ้าง...นะคะ

ลองมาทำความเข้าใจเรื่องแม่ปุ๋ย ที่เราเข้าใจกันดูไหมครับ เมื่อก่อนผมก็เข้าใจว่า แม่ปุ๋ยเช่น 46-0-0

มีเนื้อปุ๋ย 46% ที่เหลือเป็นกาก หรือฟิลเลอร์ ไม่มีประโยชน์ แต่น่าจะเป็นความเข้าใจผิด 

ลองอ่านบทความที่ผมลอกเขามาลงให้ดูครับ

 

มาเรียนรู้วิธีหาสูตรของปุ๋ย 
      เคยสงสัยบ้างไหมทำไม  ยูเรีย(CO(NH2)2) มีสูตร 46-0-0,  แคลเซียมไนเตรต(Ca(NO3)2.H2O) มีสูตร 15-0-0+Ca19%,   โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต(NH4H2PO4) มีสูตร 12-60-0,  โพแทสเซียมไนเตรต(KNO3) มีสูตร 13-0-46,
     ในเรื่องของปุ๋ยนอกจากเราจะต้องรู้ชื่อธาตุ  สัญลักษณ์  ถ้าเรารู้น้ำหนักอะตอม(น้ำหนักตัวของแต่ละธาตุ)  รู้สูตรโครงสร้างเราก็สามารถคำนวณว่า  ปุ๋ยนั้นๆมีสูตรอะไร  มาเริ่มกันดู
      C   = 12     H   = 1     O   = 16
      N   = 14     P   = 31    K   = 39
      Ca = 40     Mg = 24    S   = 32
      
ยูเรีย (CO(NH2)2) =  12+16+14+14+1+1+1+1 = 60
ยูเรีย  60  หน่วยน้ำหนัก  มีไนโตรเจน N       =   28
ยูเรีย 100 หน่วยน้ำหนัก  มีไนโตรเจน N       =   28x100/60   =  46.66
       ยูเรีย มีสูตร  46-0-0

โพแทสเซียมไนเตรต (KNO3)  =  39+14+(16x3)  =  101
โพแทสเซียมไนเตรต    101 หน่วยน้ำหนัก  มีไนโตรเจน N     =  14
โพแทสเซียมไนเตรต    100 หน่วยน้ำหนัก  มีไนโตรเจน N     =  14x100/101   =  13.86

โพแทสเซียมไนเตรต    101 หน่วยน้ำหนัก  มีโพแทสเซียม K  =   39
โพแทสเซียมไนเตรต    100 หน่วยน้ำหนัก  มีโพแทสเซียม K  =   39x100/101  =  38.61

โพแทสเซียม K  =  38.61  แปลงเป็น  K2O  =  38.61x1.2  =   46.33
      โพแทสเซียมไนเตรต  มีสูตร  13-0-46

จากตรงจุดนี้ก็ต้องทำความเข้าใจเพิ่ม
  ตัวเลข  20-20-20  หมายความว่า  ในเนื้อปุ๋ย  100  กิโลกรัม  มี ไนโตรเจนทั้งหมด (total N) 20 กิโลกรัม
ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ (available  P2O5 )  20 กิโลกรัม  โพแทสเซียมที่ละลายน้ำ (water soluble K2O)  20  กิโลกรัม
  ฟอสฟอรัส P  พืชดูดไปใช้ไม่ได้  แต่ P2O5 จะละลายน้ำแล้วพืชดูดไปใช้ได้  เช่นเดียวกับ โพแทสเซียม K ต้องอยู่ในรูป K2O ถึงจะละลายน้ำแล้วเป็นประโยชนื

      แล้วย้อนกลับไปดูความคิดเห็นที่ 4 มีสูตรเยอะแยะ  ลองทำดู (ยิ่งรู้  ยิ่งเข้าใจ  ก็จะไม่ถูกหลอก  เพราะทุกๆอย่างมีที่มามีที่ไป  มีเหตุมีผลในตัวเอง  พิสูจน์ได้จับต้องได้)
      ผมได้แวะเยี่ยมเวปไซท์ของพวกเรามากมาย  เข้าไปดูข้อมูล  คำแนะนำ  สินค้าต่างๆ  พบว่าพวกเรายังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่มาก  แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำความกระจ่างให้ได้อย่างไร  จริงๆแล้วอยากนั่งพูดคุยด้วย  เพื่อจะได้รู้ที่มาที่ไป  และหาเหตุผลว่าข้อเท็จจริงคืออะไร  ผมเองก็ยังตามศึกษาอยู่  พยายามพิสูจน์ว่าสิ่งที่เรารู้เป็นจริง  เพราะฉะนั้นอ่านแล้วมีอะไรที่ไม่เหมือนที่รู้มา  ช่วยแย้งแจ้งมาให้ทราบด้วย  จะได้ไปค้นหาผู้รู้มาช่วยตอบ  ฝากทุกๆคนด้วย
   
http://www.krunid.com/board/index.php/topic,4599.0.html

ลอกมาให้อ่านครับ

ขอบคุณครับได้ความรู้เพิ่มเติมครับ ทีสวนผมลองทำสาร3สวน สรุป คือ ต้นพร้อม จะราด จะพ่น ยังไงก็ออกครับ ที่เหลือก็สู้กับธรรมชาติเช่นน้องน้ำฝน สภาพอากาศ

ปกติแล้ว สารที่บรรจุกระสอบ ผมเคยเอาไปเทสแล้ว ได้ 99.9% ซึ่งในความเป็นจริง ผมว่าไม่น่าจะถึง เอาง่ายๆคือผมไม่เชื่อ

ซึ่งอย่างที่หนุ่มสอยดาวเคยบอกไว้ ว่าสารที่เป็นถังเหล็ก จะเย็นกว่า ซึ่งเท่าที่เคยผสมน้ำดู โซเดียม เย็นที่สุดเท่าที่เคยลอง

ส่วนสาร ถังเหล็กยังไม่เคยลอง สำหรับคราวก่อนที่พลาดพอจะรู้สาเหตุพอสมควร 

มาถึงตรงนี้รบกวนหนุ่มสอยดาวช่วยร่ายรายละเอียดคร่าวๆอีกครั้งตั้งแต่เริ่ม ผสม ส่วนผสมต่างๆก่อนราดและวิธีราดด้วยครับ

คิดว่าจะเอามาประยุกค์ใช้คราวหน้า ครับ 

ยังมีอีกอย่างที่ผมเคยอ่านผ่านตาที่บล็อกเก่า คือคุณ ทศพร ซึ่งหวังอย่างยิ่งว่าจะเข้ามาแชร์ในบล็อกนี้ด้วย

ได้เอ่ยถึงส่วนผสมในการราดสารว่า มีส่วนผสมของ ฮิวมิค ซึ่งสารที่ผมใช้ครั้งล่าสุดที่ผ่านมา มันมีส่วนผสมนี้อยู่ด้วย

และได้ถามไปถึงคนขาย ได้บอกว่า ช่วยในการถนอมรากไม่ให้โดนสารเผาใหม้ 

และอีกเช่นกัน ฮิวมิค ยังเป็นส่วนผสมในสารพ่น บล็อกใบ ด้วยหลังราดสาร ถามอีกเช่นกัน มันช่วยป้องกันใบไม่ให้มันใหม้

มันยังมีสารอะไรอีกที่ช่วยให้การนำพาสารขึ้นไปยังต้นไม้และส่งเสริมให้ได้ประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม

ซึ่งมันจะช่วยให้การราดสารได้ผลเต็มที่และ ไม่เสียเวลา 

 

หนุ่ยสอยดาว ช่วยอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับ การคุมใบ ช่วง กำลังแตกตา หรือ ราดสารได้ 20-25 วัน 

คือมันเริ่มแทงออกมาแล้ว แต่ถ้าเราใช้ยาพวกกดใบ ที่มีขายทั่วไป จะทำให้ยอดมีสิทธิ ที่จะแห้งแล้วไม่พัฒนาต่อ 

แต่ถ้าเราเกิดปล่อยไว้ ก็มีอันจะทำให้ยอดที่ตั้งใจจะเป็นดอก กลับ ละความพยายาม กลายเป็นใบไปทั้งสวน เหมือนที่ผมเคยเจอ

และช่วงนี้ก็ ฝนบรรลัย ตกแบบ ตามใจ(กู)เหลือเกิน แบบว่ามืดมา จัดไป เอาเท่าไหร่ เต็ม ตุ่ม แน่นอน ประมาณนี้

จะพ่นยา ก็ ต้องวัดดวงกับมัน จำได้ อาทิตย์ก่อน อุตส่าไปรอฝนที่ปรอยๆ หวังว่าจะหยุด หยุดไป ชั่วโมงเดียวกำลังพ่นได้ถังเดียว

จากนั้น หล่นมายังกะ ฟ้ารั่ว พอมาอีกวัน แดดที้งวัน เลยต้องกลับมาพ่นอีกวัน 

คือตอนนี้ ผมใช้ชุด สาร ทั้งหมด ของเจ้านี้ดู มีทั้งสะสมอาหาร บล็อกใบ เปิดตาดอก ยืดช่อ ซึ่งราคาก็ไม่ถือว่าแพงมาก 

ถ้าลองแล้วได้ผลยังไง ก็จะเข้ามาแชร์อีกทีครับ 

 

การทำสวนลำไย หรือสวนผลไม้ต่างๆ นั้น ไม่มีสูตร หรือสารเคมีบรรจุึเสร็จใดๆ ที่สามารถใช้ได้ผลดีกับทุกสวน ทุกๆ ท้องถิ่นในประเทศไทยหรอก...ค่ะ  

ทุกอย่างขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละสวน ประกอบกับความรู้ความเข้าใจในวิธีการดูแลของเจ้าของสวน  

หากเจ้าของสวนเข้าใจเรื่องสรีรวิทยาของพืชที่เราจะปลูก  ได้ดูแลเขาอย่างดีให้เติบโตไปอย่างเป็นไปธรรมชาติ เขาก็จะให้ผลผลิตที่ดีแก่เราเอง  

แต่ถ้าหากเราต้องการให้เขาให้ผลผลิตที่ผิดไปจากธรรมชาติ  เช่นพยายามกำหนดให้เขาออกผลผลิตนอกฤดู  เรา่จำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้วิธีตามปกติ หรือวิธีการการควบคุมการเจริญเติบโตพืช  รวมไปถึงการใช้ปุ๋ย หรือสารเคมีอื่นๆ ตามที่เราต้องการได้

สวนของเกษตรกรใช้เวลามาเกือบตลอดชีวิต.....ดูแลมาด้วยตัวเอง   ดังนั้นเกษตรกรจึงควรเป็นผู้ตัดสินใจเลือกใช้วิธีการที่ตนเองคิดว่าถูกต้องที่สุด....ด้วยตัวเอง  ต้องพร้อมที่จะยอมรับผลที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นผลดี หรือผลเสีย

สวนของเกษตกรจึงไม่ใช่ที่ทดลองวิธีการ ยา หรือสารเคมี  ไม่ว่าจะเป็นสูตรสำเร็จ หรือสูตรมหัศจรรย์ที่ไหนของใคร.....ทั้งสิ้น  

ดังนั้นถ้าเกษตรกรได้ตัดสินใจเลือกใช้วิธีการปลูก การดูแ่ล หรือเลือกใช้สารเคมี หรือยาของกลุ่มใด หรือบริษัทใดไปแล้ว ใช้ได้ผลดี ก็่ขอร่วม....ดีใจด้วย  

แต่้ถ้าหากเลือกใช้แล้ว เกิดความผิดพลาด ก็ไม่ควรจะไปตำหนิ  หรือต่อว่าผลิตภัณฑ์ของเขาเหล่านั้นเลย..ค่ะ

อย่าโทษคนอื่น เพราะจุดสำคัญทีั่สุด คือ....เราเป็นคนเลือกใช้วิธีการนั้นเอง...ค่ะ

 

เคยได้มีโอกาสฟังคำพูดของเกษตรกรท่านหนึ่ง กล่าวว่า "ไ...พวกเรียนจบตรี จบโท หรือดอกเตอร์ทางเกษตรทั้งหลาย พวกนี้ไม่ได้เรื่อง ไม่ได้มีความรู้จริงหรอก ขุดดิน ปลูกสวนยังทำไม่เป็นเลย  เกษตรกรชาวสวนอย่างพวกผมที่ลงมือปฏิบัติต่างหาก....รู้เรื่องจริง...มากกว่า

ฟังแล้ว...พูดไม่ออกเลย  ไม่กล้าถาม ไม่กล้าถ่ายทอดความรู้ใดๆ ให้กับเกษตรกรท่านนี้อีก

แ่ล้วก็ได้แต่กลับมานั่งคิด  ว่าสิ่งที่เกษตรกรท่านนั้นกล่าวไว้ ่จะถือได้ว่าเป็นความจริง...หรือไม่

 

หรือใคร มีความเห็นอย่างไรกับคำกล่าวของเกษตรกร...ท่านนี้

@คนบ้านโฮ่ง ฮิวมิคในความคิดของผมนั้นช่วยกระตุ้นรากฝอยให้กินสารถ้าผสมสารทางดิน ถ้าผสมปุ๋ยเคมีอัตรา20-30กรัมต่อปุ๋ย50โลจะตุ้นให้กินปุ๋ย ถ้าผสมน้ำประมาณครึ่งโลหรือหนึ่งโลต่อน้ำพันลิตรพ่นหรือราดลงดินจะช่วยฟื้นรากฝอยที่ถูกสารทำลายครับ แต่ถ้าไม่ใช้ฮิวมิคประมาณ20กว่าวันรากฝอยก็จะค่อยๆออกมาใหม่เองครับ ยกเว้นถ้าใช้โซเดียมจะอันตรายมากถ้าใช้เยอะ ใบอาจเป็นลิ้นจี่ไปเลยครับผมเคยเห็นแล้วครับ

@น้องยุ้ย ที่น้องยุ้ยได้พบนั้นสำหรับผมเรียกว่าเกษตรแบบปิด คือ ปิดกั้นไม่ยอมรับรู้ มีความคิดเป็นของตนเอง แต่ถ้า

เขาลองคิดดูดีดี ยกตัวอย่างง่ายๆการราดสารลำไย ขั้นตอนต่างๆก็มาจากนักวิชาการทางการเกษตรทั้งนั้นแหละครับ รวมถึงปุ๋ย ยา เยอะแยะ เพียงแต่เขาไม่ทราบเท่านั้นเองครับเพราะเขาอยู่ปลายทาง ผมเองก็ไม่ได้จบเกษตรศาสตร์ ผมจบรัฐศาสตร์ถ้าผมไม่ความรู้จากนักเกษตรศาสตร์อย่างน้องยุ้ยก็คงทำสวนไม่เป็นหรอกครับ มีอะไรดีดี...เอามาแบ่งปันให้พวกเราดีก่าครับ สะบัดบ๊อบใส่ อย่าได้แคร์สื่อครับ ปล่อยไปสู่ธรรมชาติครับ....

ตอนนี้หนูตัดผมม้า....แล้วค่ะ อย่างนี้ต้องสบัดม้าใส่ แถมดีดอีกต่างหาก 555

ฝนตกทั้งคืนเลยครับ ฝากเพลงนี้ถึงน้องลำไยของทุกท่าน http://m.youtube.com/watch?v=vcyeuQl8tX4

 

 

ที่ผมสร้างบอร์ดนี้ขึ้นมาก็เพราะบอร์ดของคุณหนุ่มดอยเต่าโพสไม่ได้ บอร์ดของหนูยุ้ยไว้แนววิชาการเอาไว้ศึกษาเทียบเคียงครับซึ่งเป็นประโยชน์มากครับ บอร์ดนี้จึงอยากให้มีแนววิชาการ แนววิชาเกิน แนวประสบการณ์ สารทุกข์สุกดิบ เอามารวมกันให้หมด เพราะผมเสียดายประสบการณ์ของทุกท่านเกี่ยวกับลำไย เหมือนเช่นคุณหนุ่มดอยเต่าไดัทำไว้ครับ อะไรดีก็แบ่งปัน ไม่ดีก็บอกกัน สงสัยก็ถามเผื่อมีใครรู้ บอร์ดนี้เป็นของทุกท่านครับ หากเข้ามาดูไม่มีอะไรจะแบ่งปันลงเพลงให้ฟังก็ยังดีครับ แฟนพันธุ์แท้น้องลำไย.....ยังไงก็รัก

@คุณแอ็ด ระยอง ลำไยติดลูกเยอะมั้ยครับ ที่สวนผมติดใช้ได้เลยครับ

@คุณหนุ่สอยดาว  เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ไปพ่นผ่าดอกมาครับ  ลูกกำลังติดเท่าหัวไม้ขีดครับติดพอสมควรครับ ดอกชุดแรกโรยหมดแล้ว  ชุดที่ 2 ปลายช่อกำลังบานครับ  กำลังลุ้นชุดที่ 2 ที่กำลังบานครับว่าจะติดเยอะหรือเปล่า สนุกครับทำสวนลำไย ชีวิตผมพึ่งทำสวนครั้งแรกครับ

ไม่ทราบว่าเอาตัวไหนพ่นให้ ดอกติดลูกดีครับ

ลำไยหนุ่มสอยดาวปีที่แล้วราดวันที่อะไรครับ แล้วปีนี้ราดวันที่อะไรครับ

ต้นที่ติดดกปีที่แล้วปีนี้ยังติดดกเหมือนเดิมไหมครับ

 

@ตุณแอ็ด ระยอง ติดขนาดนั้นแล้วคุณแอ็ดคอยดูนะครับอีกซัก2-3อาทิตย์ แล้วจะรูว่ามันติดพอดีถึงติดมากขนาดต้องแต่งลูก อย่าลืมบันทึกไว้ด้วยนะครับ เห็นมั้นครับว่าการทำสวนลำไยมันสนุกขนาดไหน

 

@คนบ้านโฮ่ง ปีที่แล้วราดสารเมษาครับ ปีนี้ราด พ.ค. ครับ ปีที่แล้วติดประมาณ70% ปีนี้ประมาณ90% ต้นโค่นไปต้นครึ่งครับเพราะไม้ค้ำผุหักเพราะหนักดอกตอนฝนชุก ปีนี้ต้องตัดตต้นทิ้ง้พราะติดกันหมดแล้ว

http://m.youtube.com/watch?v=LBuH6yprHHw

 

เมื่อวานไปดูสวนลำไยคนรู้จักแถวบ้านซึ่งผมเป็นพี่เลี้ยงอยู่ สภาพก่นราดสารใบไม่พร้อมกันมีทั้งใบแก้ว ใบอ่อน เพสลาส ใบแก่ แต่เขายืนยันว่าจะเอายอดนีืเพราะขายใบไปแล้ว ผมก็อธิบายว่าถ้าจะราดตอนนี้จะมีอะไรเกิดขึ้นบาง สำหรับคนที่เคยทำลำไยคงจะพอเดาออกนะครับว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าเป็นผมจะใช้ปุ๋ยไล่ใบให้ใกล้เคียงกัน แต่เขายืนยันว่าจะเอายอดนี้ ก็โอเค วันที่7กค.ราดสาร ขอเล่าแบบย่อๆน่ะครับ หลังราดสารทางดิน5วัน บางต้นใบร่วงเกือบถึงยอด เนื่องจากเขาเดินพ่นสารทางดินช้า ดินเป็นดินปนกรวดดินประเภทนี้ควรจะเดินเร็วนิดนึง ขนาดใส่แค่40โลต่อพันลิตรนะครับ ซ้ำสารทางใบไปได้ครั้งเดียวเลยต้องหยุด เพราะสารนั้นขึ้นทะลุยอดไปสู้ท้องฟ้าเรียบร้อยแล้ว ขนาดมะละกอต้นเขื่องๆยังกะโดนพาราควอทเหลืองเป็นดีซ่านเชียว วันนัืนผมไม่ได้ไปกับการแสดงด้วย แต่ได้สั่งเสียไว้ก่อนแล้วว่าให้เดินเร็วนิดนึง แต่มารู้ทีหลังว่ากลัวไม่ออกดอกเลยจัดเต็ม ฤดูใบไม้ผลิคงจะเป็นเช่นนี้ละมั้งในใจนึก เลยเปลี่ยนแผนโดยด่วน เปลี่ยแผนเป็นดำรงรักษาไว้ซึ่งใบลำไยเอาไว้ให้มากที่สุด...ในที่สุดใบหยุด แต่สภาพสวนในตอนนั้นเหมือนสนามรบยังยังงั้นสงสารน้องลำไยมากครับ...ทีนี้ก็รอ รอใบใหม่.....สรุปเมื่อเย็นวานที่เขาไปสอดแนบ เห็าเจ้าของสวนกำลังพ่นยาต้นเล็กอยู่ ถาพ่วมต้นใหญ่90%รอดมาได้ราวปาฏิหารณ์

ดอกกำลังพุ่ง ผมเห็นแล้วบอกตรงครับขนผมลุกเลย ดีใจกับเขามาก เขาก็ดีใจมาก น้องลำไยก็คงขอบคุณผมอยู่ในใจนิดๆ ทีนี้ก็เหลือลำไยต้นเล็กเพราะเจอสารหนักมากตอนนี้เป็นใบเพสลาดก่อนหน้านั้นเป็นใบเยินๆ แต่สังเกตุดีดีจะมีไข่ปลาแทงออกมาคงจะออกช้าสักนิดหางรุ่นกันนานพอสมควร วันพรุ้งนี้จะเซ็ทปุ๋ยให้เขาสำหรับส่งดอก พยายามอธิบายให้เขาใช้ปุ๋ยให้เป็นแล้วแต่เขาก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เลยจัดเป็นเซ็ทให้เขาเดี๋ยวจะไม่ถูกใจน้องลำไย .สิ่งสำคัญในการใช้ยุทธวิธีสำหรับผมในสวนนี้คือสภาพลำไย พื้นที่ สภาพอากาศ ประวัติสวนย้อนหลัง สรุปเคสนี้เป็นเคสที่ท้าทายความสามารถผมที่สุดก็ว่าได้...ประทับใจมากครับ.....ขอให้มีความสุขกับการทำสวนครับ.....มีความสุข

หนุ่มสอยดาวครับ เขาใช้สารตัวเดียวกับท่านหรือปล่าวครับ

แล้วเอาปุ๋ยตัวไหน มาช่วยยันใบไม่ให้ร่วงหนักกว่าเดิมครับ

 

@คนบ้านโฮ่ง เป็นสารยี้ห้อพระอาทิตย์ครับ 40โลต่อพันลิตร ส่วนหยุดใบร่วงก็พวกเม็กนีเซี่ยม ปุ๋ยตัวท้ายสูง อมิโน แคลโบ และฝนตกหนักทำให้เจือจางสารไปบ้างครับ แต่เป็นของมีคุณภาพสักหน่อยครับเพราะเป็นกรณีเร่งด่วนครับ

คุณแอ๊ด เดี๊ยวนี้ไม่โพสต์รูป ให้เห็นพัฒนาการของสวนเลย...นะคะ

รายงานหน่อย....

สมชาย ไชยราช ศรีดอนฯ เทิง เชียงราย

หนุ่มสอยดาว และนู๋ยุ้ย ช่วยบอกที ลำไยในฤดุที่เชียงรายปีนี้ลูกไม่โต ป่านนี้ยังไม่มี aa ไม่ถึง 70%เลย

หรือช่วง มิย. ลำไยขาดน้ำ เร่งไม่ขึ้นเลย ที่สวนผม15 กค. ใส่ปุ๋ย 0-0-60 บวก 13-13-21 ก็ไม่เห็น

โตสักเท่าไหร่ ทำไงดี ราคานะพอรับได้ อีร่วง 22,14,6 ถ้ามีเอเอ70% ก็อยู่ได้  ขอบคุณครับ

 

ไม่ใช่แต่เชียงรายครับ ลำพูนก็เหมือนกันครับ ไม่มีลูกใหญ่เลยครับ

ส่วนมาก จะลงที่ เอ เดียว และ บี เป็นส่วนใหญ่ครับ เนื่องจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน ฝนทิ้งช่วงนานตอนหน้าร้อน

สวนที่ว่า เคยใหญ่ๆ ปีนี้ไม่มีเลยครับ เล็กและแกร็น ไปเยอะ สีผิวก็ไม่ค่อยดี

ส่วนสวนพ่อตา ปีนี้ลูกโตพอได้ครับ เพราะใช้ปุ๋ยทางใบเสริมเข้าไปบ่อย ทำให้ลูกเสมอ(เลี้ยน) กันดี

แต่สวนข้างเคียงมีทั้งเล็ก ทั้งแตก ดังนั้น การใช้ปุ๋ยทางใบเสริมจะช่วยเรื่อง สภาวะแวดล้องผิดปกติได้พอสมควรครับ

ลองใช้ปุ๋ยทางใบช่วยดูครับ ปุ๋ยตัวท้ายสูงบวกอะมิโนแคลซี่ยม เปลือกต้องดีนะครับ น่าจะช่วยได้ครับ

ตอนนี้ลำไยอยู่ในช่วงดอกบาน  แต่มีดอกตัวผู้มากเลย  และบางช่อก่อมีแต่ก้านไม่ติดลูก  ควรทำอย่างไรดี  เพราะยังมีสวนอีก  2  ที่  ท่ีดอกยังไม่บาน  ต้องใช้ปุ๋ยทางดินสูตรไหนเสริมครับ  รบกวนด้วยครับ

 

@คุณหนุ่สอยดาว  ตั้งแต่ดอกบานชุดแรกถึงทุกวันนี้  ฝนตกแทบทุกวันเลย ทางนู้นเป็นไงกันบ้างครับ

 

@น้องยุ้ย   บอร์ดนี้ผมยังลงรูปไม่ได้ครับ  ไม่รู้ต้องทำยังไง

@คุณอภิชัย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมพบเจอมาครับ ในเขตหลายตำบลแถวบ้านผมส่วนใหญ่ไม่ว่าใครก็แล้วแต่ที่ราดสารในช่วงพฤษภา ประมาณวันที่20เป็นต้นไปจนเกือบสิ้นเดือน คล้ายๆผมกับคุณแอ็ด ระยองหากจำไม่ผืดนะครับ จะมีปัญหาดอกตัวผู้ติดเยอะมากๆ จริงๆแล้วดอกตัวเมียก็มากนะครับ แต่จังหวะที่จะผสมนั้นไปอยู่ในช่วงที่ฝนเข้าพอดีตกติดต่อกันหลายวัน เกสรเปียกฝน แมลงไม่ออกผสมเกสร เชื้อราลงขั้วดอก และอีกประเด็นนึงอันนี้ผมเดาเอาครับ ปุ๋ยหรือยาประเภทยาร้อนทำให่เป็นดอกตัวผู้มาก

 

ส่วนเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าครับ ที่สวนลำไยโซน ต.ทับช้าง มีสวนใหญ่อยู่สวนนึงจากจำนวนหลายสิบสวน มีลำไยประมาณ1000ต้น ดอกออกดีมาก ปีนี้คาดว่าน่าจะได้ประมาณ6-7ล้านบาท  แต่ตอนนี้ดอกร่วงเกือบหมด น่าจะได้2-3ล้านบาท ในขณะที่มีสวนป้าคนนึงอยู่แถวๆนั้นเป็นสวนเดียวที่รอดมาได้ติดลูกแบบติดพอดีจนถึงต้องแต่งออก มีแต่คนไปถามแกว่าทำยังไงใช้อะไร ผมรู้แต่ไม่สามาถบอกได้เดี๋ยวจะโดนแบนด์อีกครับ บอกได้เพียงว่าแคลเซี่ยมโบร่อนเท่านัืนในช่วงดอกที่จะทำให้ดอกแข็งแรง มีอายุยาวนานกว่าที่ควรจะเป็นได้อีกพอสมควร เป็นคีเลทผงสีขาว หากเป็นน้ำนั้นผมคิดว่าจะต้องมีNเป็นตัวแคลโบนำเข้าไป ซึ่งดอกไม่น่าจะชอบในหน้าฝน(ผมเดาเอา) ในหน้าฝนจะต้องฉีดผ่าดอกหนึ่งครัิงป้องกันเชื้อรา ปุ๋ยทางดิน16-16-16=50โล 15-0-0=10โล ลองดูครับ

เรื่องการใช้ยาเชื้อราในการผ่าดอก ผมใช้แคปแทน80% หากจะใช้คาเบนเลือกเอาของดีดีหน่อยครับ เพราะสารตัวทำละลายในคาเบนถูกๆอาจทำให้ดอกร่วงได้ทั้งสวนเลยครับยิ่งกว่าเชื้อราอีก พ่นป็นละออง เดี๋ยวจะมาตกม้าตายตอนยังไม่ได้เข้าท้องเรื่องครับ ขอให้ผ่านเข้ารอบต่อไปครับได้ครับ(ยังกะบอลโลก!) สู้ๆครับ


@น้องยุ้ยและผู้รู้ทุกท่าน ผงโบรอนเดี่ยว17% (1โล)ถ้านำมาละลายน้ำไว้ใช้ต้องใช้ปริมาณน้ำเท่าไหร่ครับ และนำไปใช้อัตราเท่าไหร่ครับ ใช่แบบเดี่ยวครับ

@คุณหนุ่สอยดาว   ลำไยลูกเท่าหัวไม้ขีดไฟ แล้วครับต้องทำยังไงต่อครับ

@คุณแอ็ด ระยอง ทางใบก็พ่นปุ๋ยยาทุก15วันครับ ทางดินก็ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอครับทุก20วัน ถ้าติดดกมากก็สลับกับสูตรตัวหน้าสูงครับ

@คุณหนุ่สอยดาวครับ   ปุ๋ยทางใบใช้สูตรไหนครับและปริมาณเ่ท่าไหร่ครับ

 

 

 

หลังจากที่พลาดไปรอบก่อน รอบนี้ราดซ้ำ ได้ ยี่สิบกว่าวันแล้วครับ ออกประมาณนี้ทั้งหมด

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด คาดว่าน่าจะเป็นช่อแน่นอน เพราะรอบบนี้ราดตอนใบเพสลาด และโคนช่ออ้วนดี

@คุณแอ็ด ระยอง ครั้งแรกใช้กลุ่มพวกฮอร์โมนรวมก่อนครับ แคลโบ ครั้งต่อไปค่อยใสปุ๋ยครับ อัตราตามฉลากเลยครับ

ทำไมโพสต์ที่ตอบคำถามคุณอภิชัย ที่ได้เ่ขียนลงไแล้ว จึงหายไป...คะ

คุณหนุ่มสอยดาวลบไป....หรือ

หรือว่าไม่อยากให้เขียนเชิงวิชาการ....ยาวๆ

ตอนนี้ลำไยอยู่ในช่วงดอกบาน  แต่มีดอกตัวผู้มากเลย  และบางช่อก่อมีแต่ก้านไม่ติดลูก  ควรทำอย่างไรดี  เพราะยังมีสวนอีก  2  ที่  ท่ีดอกยังไม่บาน  ต้องใช้ปุ๋ยทางดินสูตรไหนเสริมครับ  รบกวนด้วยครับ

 

ตอบคุณอภิชัย

สรุึปว่ามี 4 คำถาม...นะคะ

1. ดอกลำไยเริ่มบาน แต่เป็นตัวผู้ไปมาก  จะแก้ไขอย่างไรดี

2. บางต้นมีแต่ก้านไม่ค่อยติดลูก จะทำอย่างไรดี

3. ต้องแก้ไขอย่างไรดี (คิดว่าคงหมายถึงคำถามทั้งสองคำถาม)

4. ต้องใส่ปุ๋ยทางดินสูตรไหนช่วย หรือไม่

 

คำถามสั้นๆ แต่คำตอบ ต้องอธิบายให้เข้าใจระบบสรีรวิทยาของลำไย..ค่ะ

1. ดอกลำไยเริ่มบาน แต่เป็นตัวผู้ไปมาก  จะแก้ไขอย่างไรดี

        ไม่ต้องตกใจ...นะคะ  เป็นปกติของการออกดอกของลำไย...ค่ะ

การบานของดอก และการผสมเกสร 

           - ระยะเวลาตั้งแต่ช่อดอกเริ่มโผล่จนถึงดอก เริ่มบานใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์

           - ลักษณะการบานของดอกจะบานจากโคนไปหาปลายช่อ และ

           - การบานของช่อแขนงย่อย จะบานจากโคนไปหาปลายเช่นกัน

           - ลำไยต้นหนึ่ง ๆ จะมีระยะการบานประมาณ 1-1.5 เดือน 

 

สำหรับลำดับการบานของดอกนั้นพบว่า มี 2 รูปแบบ หลักๆ คือ

           รูปแบบ ที่ 1 ดอกตัวผู้บานก่อน โดยดอกตัวผู้จะบานต่อเนื่องกันตั้งแต่ดอกแรกถึงดอกสุดท้าย ใช้เวลา 25-28 วัน ส่วนดอกตัวเมียจะบานหลังดอกตัวผู้เริ่มบานประมาณ 14 วัน โดยดอกตัวเมียมีระยะเวลาการบาน 5-7 วัน แต่จะมีการบานมากที่สุดในวันที่สองของการบาน 

           รูปแบบที่ 2 คือ ดอกตัวเมียบานก่อน และมีการบานอยู่สองช่วง โดยแต่ละช่วงมีระยะการบาน 4-7 วัน หลังจากดอกตัวเมียชุดแรกบานได้ 4-6 วัน ดอกตัวผู้จะเริ่มบาน และบานต่อเนื่องกันไป 15-25 วัน 

               

           ลักษณะของดอกตัวเมียที่บานเต็มที่ และพร้อมที่จะรับละอองเกสร (receptive) สังเกตได้จาก

                 - ยอดเกสรตัวเมีย (stigma lobe) จะแยกออกเป็น 2 แฉก (bifurcation) และ

                 - มี น้ำหวาน (nectar) ที่จานรองดอก และมี

                 - ช่วงเวลาในการผสมเกสรอยู่ระหว่าง 7.00-10.30 น. 

                 - อับละอองเกสรมีระยะการแตกหรือเปิดต่อเนื่องกันประมาณ 4 ชั่วโมง หลังดอกบาน จากงานวิจัยของมนตรีและคณะ (ไม่ระบุปีที่พิมพ์) พบว่าอับละอองเรณูมีการเปิด

                        - 14% ในเวลา 11.00 น.

                        - 40% ในเวลา 13.00 น. และ

                        - 27% ในเวลา 15.00 น. ส่วนที่เหลือจะมีการเปิดในเวลาอื่น 

            ดอกตัวผู้แต่ละดอกบานประมาณ 2-3 วัน

 

การผสมเกสรโดยธรรมชาติอาจเกิดได้สองกรณีคือ

      - ผสมข้ามดอกภายในต้นเดียว (self pollination) และ

      - ผสมข้ามต้น (cross pollination)

 

การผสมทั้งสองกรณีจะสำเร็จ โดยอาศัยแมลงเป็นสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมลงพวกผึ้ง  ส่วนลม และแรงดึงดูดของโลก มีบทบาทอยู่บ้างแต่น้อยมาก

การปฏิสนธิ (double fertilization) จะเกิดขึ้นในถุงต้นอ่อน (embryo sac) ประมาณ 4 วัน หลังจากมีการถ่ายละอองเรณู...ค่ะ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.gotoknow.org/posts/519598

 

2. บางต้น มีแต่ก้านไม่ค่อยติดลูก จะทำอย่างไรดี

   ถ้าดอกยังบานไม่มาก ให้หาแมลงมาช่วยในการผสมเกสร...ค่ะ  พวกผึ้ง หรือชันโรง  จะช่วยได้มาก  แถวจันทบุรีที่ยุ้ยอยู่ อาศํยเช่าผึ้งมาช่วยในการผสมเกสร...ค่ะ

   แต่ถ้าดอกบานมาก แต่ไม่ได้รับการผสม ก็จะร่วงหลุดไปค่ะ  หากว่าได้ร่วงไปแล้ว คงไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากป้องกันดอกที่เหลือไม่ให้ร่วงเพิ่ม...ค่ะ

 

สาเหตุการร่วงของดอกลำไย

     - ดอกเกสรตัวเมียไม่ได้รับการผสมเกสร

             วิธีแก้ไข อย่างที่บอก..ค่ะ ให้หาแมลงมาช่วยผสมดอกลำไยที่เหลือ

     - หนอนเจาะขั่วดอก จะมาเจาะขั่วดอก ดูดน้ำเลี้ยง แต่ะทำให้ดอกร่วง...ค่ะ 

             วิธีแก้ไขให้ใช้ยา "อิมิดาคลอพิค" เป็นยาดูดซึม..ค่ะ (ควรใช้ชนิดผงผสมน้ำ ที่มีขายอยู่กล่องละ 10 ซอง ราคาประมาณ 530.-บาท ถ้าซื้อแยกถุงละ 60.-บาท...ค่ะ)  1 ซองละลายน้ำได้ 200 ลิตรค่ะ  ฉีดพ่นที่ช่อดอก ในขณะที่ยังเป็นตุ่มอยู่ แต่ถ้าดอกบานแล้ว พ่นไม่ได้...ค่ะ จะทำให้แมลงผสมเกสรหนีไปหมด..ค่ะ

     - การพ่นปุ๋ยน้ำ จะทำให้น้ำหวานในจานรองหายไป ส่งผลให้การถ่ายละอองเรณูไปยังถุงต้นอ่อน เป็นไปได้ยากค่ะ           

             วิธีแก้ไขคือ หยุดการพ่นปุ๋ย หรือสารเคมีกำจัดแมลงทุกชนิดในช่วงดอกบาน...ค่ะ

     - การพ่นยากำจัดแมลง  นอกจากจะไล่แมลงได้แล้ว ยังไล่ผึ้ง และแมลงผสมเกสรอื่นๆ ไปด้วย ทำให้ลำไยไม่ได้รับการผสมเกสร...ค่ะ

             วิธีแก้ไขคือ หยุดการพ่นสารเคมีทุกประเภทในระยะที่ดอกเริ่มบาน..ค่ะ

 

กรณี ไม่ออกดอกทั้งต้น หรือออกกระหล่อม กระแหล่ม  แสดงว่าต้นลำไยยังไม่พร้อมในการออกดอก ซึ่งก็มีปัจจับหลายประการ

1. พักต้นลำไย ให้แตกใบใหม่ยังไม่ครบ 3 ยอด

2. ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตรบำรุงช่อดอก 8-24-24  ไว้ก่อน 1 เดือน ก่อนจะราดสารฯ

3. ไม่ได้เตรียมสภาพต้นให้พร้อมรับการออกดอก ด้วยการพ่นธาตุอาหารทางใบ (แคลเซียม โบรอน ม๊กนิเซียม และซิงค์) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับต้นลำไย ก่อนราดสารฯ

ดูลายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/534037/edit

 

3. ต้องแก้ไขอย่างไรดี (คิดว่าคงหมายถึงคำถามทั้งสองคำถาม)

        คิดว่าได้อธิบายไปแล้วในข้อที่ 1 และ 2 ค่ะ

 

4. ต้องใส่ปุ๋ยทางดินสูตรไหนช่วย หรือไม่ 

         เ้ข้าใจว่าคำถามนี้น่าหมายถึง  ปุ๋ยชนิดใดที่จะช่วยให้เกิดการติดดอก และช่วงไม่ให้ดอกรวง...ใช่หรือไม่ 

        เรื่องของการที่ลำไยจะติดดอกหรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับว่าต้นลำไยมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด  นั้นหมายถึงเกษตรกรได้มีการเตรียมการที่ดีในเรื่องของ  การพักต้น เพื่อให้ได้ใบ 3 ชุด สำหรับลำไยอายุน้อย หรือ 2 ชุดสำหรับลำไยอายุมาก หรือเพียง 1 ชุด  สำหรับต้นลำไยขนาด 20 ปีขึ้นไป และใส่ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ผ่านมาในปีก่อน  ได้ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นมาถูกต้องแล้วหรือไม่  ถ้าถูกต้อง ก็คงไม่ต้องกังวลใจหรอก...ค่ะ  ดอกจะออกมาแน่นอน

 

แต่้ถ้าไม่ทำ  หรือทำมาแต่ไม่ถูกต้อง  นี่สิ..งานเข้า

         อย่างไรก็ตาม ขอให้ช่วย ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการเตรียมความพร้อม และการใส่ปุ๋ย การใช้สารเคมี และขอทราบประเภท และ อัตราส่วนของการใช้สารฯ  หรือมีการนำสารเคมีอย่างอื่นผสมลงไปในสารฯ ที่จะใช้ราดลำไยหรือไม่ เพื่อจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า เกิดอะไรขึ้นในสวนลำไยของคุณอภิชัย...ค่ะ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/534037

@น้องยุ้ยและผู้รู้ทุกท่าน ผงโบรอนเดี่ยว17% (1โล)ถ้านำมาละลายน้ำไว้ใช้ต้องใช้ปริมาณน้ำเท่าไหร่ครับ และนำไปใช้อัตราเท่าไหร่ครับ ใช่แบบเดี่ยวครับ

ตอบคุณหนุ่มสอยดาว

สงสัยจริงๆ กับคำถามนี้ ผงโบรอนเดี่ยว 17 %  

                แต่ถ้าหากหมายถึง มีความประสงค์่จะทำสารละลายแคลเซี่ยมโบรอนไว้ใช้เอง เพื่อความประหยัด น่าจะหมายถึงการใช้  แคลเซี่ยมไนเตรด หรือที่รู้จักกันในนาม ปุ๋ยสูตร15-0-0  นำมาผสมกับ กรดบอริก ใช่หรือไม่

 

ถ้าใช่ ขอตอบคำถามดังต่อไปนี้...ค่ะ

              1. ให้ใช้ แคลเซี่ยมไนเตรด ( 15-0-0 )  จำนวน 1,200 กรัม

              2. กรดยูริค จำนวน 400 กรัม

              3. น้ำสะอาด 20 ลิตร

              4. ธาตุอาหารเสริม อื่นๆ (ชนิดผงละลายน้ำ บรรจุซอง) ที่ต้องการ

การผสม

                 1. เทน้ำสะอาด 10 ลิตร ผสมกับแคลเซี่ยมในเตรด 1,200 กรัม คนให้ละลายเข้ากัน ผสมใหม่ๆ จะขุ่น ตั้งทิ้งไว้

                 2. เทน้ำสะอาด 10 ลิตรทีเ่หลือ ผสมกับกรดยูริค 400 กรัม  คนให้ละลายเข้ากัน  เหมือนกัน ผสมใหม่ๆ จะขุ่น ตั้งทิ้งไว้

                 3. เมื่อตกตะกอนได้น้ำใสๆ แล้ว ให้ใช้เฉพาะน้ำที่ได้่จากสารละลายทั้งคู่  นำมาผสมกัน  เป็นอันเสร็จ

หมายเหตุ : จะเติมสารที่มีประโยชน์ต่อพืชอย่างอื่นเช่น เเม๊กนิเซียม หรือธาตุึอาหารเสริมชนิดซองที่มีวางขาย (ชนิดผงละลายน้ำ) อย่างอื่นไปด้วยก็ตามใจ  แต่อย่าให้มากนัก เนื่องจากจะเพิ่มไปความเข้มข้นให้สารละลายสูงมาก ไม่ค่อยเป็นผลดีต่อพืชเท่าไร 

                เมื่อเสร็จสรรพ เราจะได้สารละลายแคลเซี่ยมโบรอน 20 ลิตรมาใช้  โดยใช้งบประมาณไม่น่าจะเกิน 400.-บาท...ค่ะ 

ปกติเวลาเราไปซื้อแคลเซี่ยมโบรอนทีเขาผสมขาย ขวดละ 1 ลิตรราคา 250.-/ 20 ลิตร กี่บาทคูณเอาเอง .......ประหยัดกว่าเยอะ

การนำไปใช้

              เวลาจะใช้  ก็นำสารละลายที่ได้นี้มาผสมน้ำ 10 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร   หรือ 100 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร  หรือ 500 ซีซี/น้ำ 1,000 ลิตร  ก็เหมือนๆ กับที่เขาผสมขายนั้นแหละ

              สารละลายแคลเซี่ยมโบรอนที่ยังไม่ใช้  ให้เก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท และเก็บในที่ร่ม...นะคะ            

ผู้ผลิตมาจำหน่ายเรา (ที่มีวางขายในร้านเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร) บางรายนิยมเติมสี (สีผสมอาหาร)  หรือสารเพิ่มความหนืด ลงไป เพื่อให้สารละลายที่ได้ ดูมีแตกต่าง ไปจากน้ำใสๆ...ค่ะ

ตอนนี้  เกษตรกรรู้หรือยังค่ะ ....ว่าเสียตังส์ ไปกับค่้าแคลเซี่ยมโบรอน  กี่หมื่นแล้ว...ล่ะ

 

คิก..คิก..

@น้องยุ้ย ขอบคุณมากครับ ถามต่ออีกนิดครับ และถ้าหากอยากจะใช้แบบโบร่อนเดี่ยวๆ17%ล่ะครับ จะต้องใช้ในปริมาณกี่กรัมต่อน้ำ200ลิตรครับ

ตั้งแต่เริ่มศึกษาหาความรู้มา เจ้าของสารเจ้านี้เหมือนเราต้องพับตำราไว้เลยครับ

เริ่มตั้งแต่ไม่ต้องเอาลำด้านในออก เพราะลำด้านใน ลูกผิวสวย ถ้าจะเอาออกก็เอาที่ลำเล็กๆออก

ก่อนราด หนึ่งวัน ต้อง ราดน้ำก่อนให้เปียกๆ 

พ่นสารโดยการแทงปรับหัวให้แหลมๆแทงลงเป็นเส้น ไม่ใช่พ่นให้ทั่ว 

ไม่ได้ใส่ปุ๋ยทางดินก่อนราด

ไม่ได้พ่นสะสมอาหารก่อนราด เอาไปรวมกันตอนเราพ่นหลังราดสารแล้วก็ได้ (สวนผม) สวนอื่นอาจจะพ่นก่อนราด

อัตรการใช้สารต่อถังน้อยมากเพียง 5 กก. แต่ราดได้มากกว่า สิบต้น ต้นเล็กอาจถึง ยี่สิบต้น

หลังราดสารแล้ว ไม่มีใบไหนเหลือง และร่วงเลยแม้แต่ใบเดียว แม้จะเป็นใบเก่าข้ามปี

ไม่กลัวฝน ยิ่งฝนตกยิ่งดี ยกเว้นตอนดอกบาน

 

หลังจาดราดสารได้ยี่สิบวันแล้วผมสังเกตว่า ต้นหญ้าเริ่มแทงขึ้นมาให่มบริเวญที่เราราดสาร ซึ่งเมื่อหลังราดใหม่ๆ ตายหมด

จึงคาดว่า อัตราความเข้มข้นของสารที่มีในดินคงเจือจางลงแล้ว รากฝอยไม่ดำ 

ผมเคยเกริ่นไว้ก่อนราดสารว่า ถ้าราดสารรอบนี้ออกผมยอมรับว่าสารเจ้านี้เทพจริงๆ 

แต่ก่อนหน้านี้ 7 วันมีอีกเจ้าที่ราดก่อนผม ใช้สารเดียวกัน เชื่อไหมครับว่า

ลำไยแต่งสาว เมื่อมีนาที่ผ่านมา เหลือแต่ก้านคือสกีนเฮดเลย ใบออกมาเพียงสองยก

ยาวออกมาศอกกว่าๆ ถ้าเป็นท่านทั้งหลายจะกล้าราดไหมครับ แต่ สวนนี้ราดครับ และออกเต็มต้นครับ

 

 

 

 

 

@คนบ้านโฮ่ง พอจะวิเคราะห์ลักษณะของสารได้มั้ยครับ กลิ่น เนื้อสาร เป็นอย่างไรครับ

ผมไม่ถนัดเรื่องวิเคราะห็เสียด้วยครับว่ามันเป็นสารแบบไหน มีส่วนผสมของอะไรบ้าง

และก็ไม่กล้าถามเขาด้วยครับ แต่ส่วนผสมตอนราดมี สองชุด

คือ ชุดสาร และ ปุ๋ย เนื้อสารสีขาวหนึ่งถุง ไม่เกิน ห้า กก. อีกชุดเป็นปุ๋ยเพื่อส่งเสริมให้สารขึ้นต้นได้ดี ถุงพอๆกับเนื้อสาร

1 ชุด มีสารผสม ให้พ่นทางใบอีกสองครั้งแถมมาให้ ถ้าเราไม่ได้เตรียมต้นมาเหมือนผม จะต้องซื้อชุดสะสมอาหาร

เพื่อผสมไปในรอบที่จะพ่นทางใบอีก 2 ชุด งง ไหมครับ คือเช่น เราราดสารไป 100 ต้น กะว่า พ่นทางใบอยู่ 4 ถัง

เขาก็จะแถมสารพ่นให้ 8 ชุด เพิ่อพ่นทางใบ สองครั้ง แบบนี้ครับ

หลังจากนั้น ก็มา ชุดยืดช่อ สองครั้ง เป็นอันจบ คอสแรก จบคอสนี้จะแทงให้เห็นเกือบทุกยอดแล้ว

ผมยังอยู่ในขั้นตอนนี้ ยังจะต้องมีคอส บำรุงช่ออีก ซึ่งตัวยาส่วนใหญ่ก็ให้เราไปหาซื้อมาเองและมีให้เราซื้อของเขา เพียงอย่างเดียว

ส่วนผสมที่ผมใช้ในการยืดช่อคือ โบร่อนเดี่ยว สังกะสีเดี่ยว น้ำตาลทางด่วนแบบน้ำ และมีส่วนผสมของเขาอีก หนึ่งอย่าง

ราคาก็ชุดละ 250 ต่อถัง เป็นผงขาวๆ คาดว่าเป็นปุ๋ยตัวท้ายสูง แต่ไม่ใช่ซะทีเดียว เพราะผลที่ได้คือ

ช่อไม่แห้งใบกลับแห้ง ส่วนช่อเจริญต่อ ถ้าเป็นสารพวกปลิดใบอ่อน ช่อจะมีอาการบ้างแต่นี่ไม่เลย

และที่ผมว่าไม่น่าเป็นปุ๋ยอย่างเดียวก็เพราะคราวก่อนผมก็ทำคล้ายๆแบบนี้แต่ผลที่ได้คือใบออกมา สวยงามมาก

 

ตอนนี้ผมเองก็ยังไม่กล้ายืนยันว่าต้นผมจะแทงช่อออกมาแบบที่คาดหวังไว้ เพราะเคยผิดหวังมาแล้ว ฝันสลายมาแล้ว

แต่ก็เห็นต้นที่กำลังแทงแล้ว คิดว่ารอบนี้ไม่ผิดแน่ แต่ก็ยังต้องลุ้นกันต่อไป

เจ้าของสารเองก็รับซื้อลำไยเข้าล้งซึ่งคงจะเป็นเครือข่ายเดียวกัน และย้ำกับพวกเราเสมอว่า

จะซื้อเฉพาะลำไยที่ ใช้ปุ๋ยและกำมะวิธีของเขาเท่านั้น และจะต้องคัดคุณภาพเท่านั้น เพราะรู้ๆกันอยู่

ว่าลำไยทางเหนือ ชอบยัดใส้ ของไม่มีคุณภาพ แต่ลำไยท่านจะไปขายไหนก็ได้แต่ถ้าซื้อจะซื้อที่เขาดูแล

เพราะควบคุมคุณภาพได้ ดูจากคำพูดแล้วเขาก็ไม่ได้จะแค่ขายสารอย่างเดียวแต่ ช่วยดูแลเรื่องคุณภาพให้ด้วย

 

สวนผมเองก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไร ทำลำไยก็เป็นเพียงงานรอง คือมีงานหลักๆอยู่ทั้งผมและแฟน แต่เจียดเวลาไปทำ

เพราะใจรักและอยากใช้ชีวิตบั้นปลายเป้นชาวสวน สำหรับผมถ้าได้ที่ดินอีกสักยี่สิบไร่ ก็คงเกินกำลังผมแล้วหละ

มีข่าวอัพเดทวันก่อนว่าสวนที่เขาทำให้เดือนเมษา ตอนนี้ติดมัดจำแล้ว เขาใช้สารไป 30 ชุด ตอนนี้ขายแล้ว สองจุดห้า...หน่วยอะไรไม่บอกครับ

 

@คุณหนุ่สอยดาวครับ   ปุ๋ยทางใบใช้สูตรไหนครับและปริมาณเ่ท่าไหร่ครับ

@คุณแอ็ด ระยอง ใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตรเสมอครับ3ขีดต่อ200ลิตรแคลโบ ธาตุอาหารรวม ช่วงแรกไม่ต้องใส่เยอะครับแค่ปรับต้นเฉยๆแล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นทีละนิด แล้วจะเริ่มหนักช่วงเม็ดเริ่มเปลี่ยนสีจนเริ่มใกล้เก็บ ทางดินก็ปุ๋ยอินทรีย์บวกเคมี ช่วงท้ายก็เคมีเพียวๆ ถ้าเป็นไปได้ทางดินใส่น้อยแต่ใส่บ่อยๆจะดีมากครับ

อัพเดท ได้ 33 วันครับ เติ่มเห็นชัดกว่า 70 % แล้วครับ

ส่วนที่เหลือกำลังทะยอยแทงออกมา คาดว่า อาทิตย์หน้า น่าจะพร้อมกันแล้ว

ถ้าเป็นท่านหนุ่มสอยดาว แทงออกมาลักษณะนี้ จะเป็นช่อแบบไหนครับ และจะบำรุงแบบไหนต่อดี

เท่าที่ผมสังเกต ช่อมันยาวมากแต่ก็ยังไม่แทงออกด้านข้างเสียที 

 

ก้านช่อ ยาวมากแต่ก็ยังไม่ยอมแตกออกด้านข้างเลย

 

รวมๆจะประมาณนี้ กว่า 70% แล้วครับ รอบนี้ใบสวยมาก ไม่หล่น ไม่เหลือง เขียวเข้มจัดมากตอนแรกกลัวไม่ออกเพราะใบเขียวมาก

@คนบ้านโฮ่ง ดูลักษณะที่ดอกแทงออกมาแล้วใบข้างโดนปลิดทิ้งน่าจะเป็นลักษณะของปุ๋ยดึงดอกตัวท้ายสูงบวกกับโบรอนหรือสังกะสี เน้นพุ่งออกมาก่อนพร้อมปลิดใบอ่อน หลังจากนั้นทำอ้วนและพุ่งออกข้างทีหลังดูดีครับ ดึงดอกลักษณะนี้ใช้สองครั้งพอครับ หากใช้เกินกว่านี้ดอกแดงแข็ง ต้องแก้กัอีกครับ อนาคตดอกตัวผู้จะมากกว่าปกติครับ อันนี้ผมเดาเอาครับ ถ้าเป็นแบบนี้ผมจะใช้6-20-30บวกแคลโบ ธาตุอาหารรวมนิดหน่อยครับ แล้วหนักอีกนิดตอนส่งดอกครับดูอีกที

หนุ่มสอยดาวอัพเดท สวนบ้างนะครับ ตอนนี้ผลขนาดเท่าไหร่แล้ว ถ่ายมาให้ดูก็ดีครับ

ไม่ทราบว่าปัญหาหนอนไยม้วนช่อ ปราบด้วยอะไรดีครับ

ผมตอนนี้ใช้อะบา ครับ

 

@คนบ้านโฮ่ง ตอนนี้ที่สวนราบรื่นดีครับ ไม่มีปัญหา ปีนี้เป็นปีแรกที่ทำสวนแล้วไม่เครียดครับ และเป็นปีที่เจอความท้าทายหลายรูปแบบมากแต่ก็พอผ่านไปได้ด้วยดีครับ ผมใช้มือถือเล่นเลยลงรูปไม่ได้ครับ เรื่องหนอนม้วนช่อก่อนดอกบานใช้เมโทมิลน้ำครับบวกด้วยอิมิดาน้ำเอาให้จบที่เดียวก่อนดอกจะบานเลยครับ ถ้าจำเป็นจริงๆค่อยผ่าดอกอีกครั้งนึงครับ ถ้ายาเชื้อราเจ็งสุดออกฤธิ์นานต้องอมิสตายายครับแต่แพงครับ ลำไยรุ่นสุดท้ายที่สวนผมคงต้องจัดเต็มที่ครับ

หนุ่มสอยดาวครับ บางส่วนของผมเป็นแบบนี้ เรามีวิธีแก้ไหมครับ หรือช่วยทำให้มัน ยืดออกมาให้ติดผล พอดีๆ

@คนบ้านโฮ่ง เหมือนที่ผมคาดเอาไว้เลยครับ ผลกระทบของชุดดึงดอกปลิดใบอ่อน ถ้าฝนแรงไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่ แต่ถ้าฝนแล้งก็น่าเแ็นห่วงอยู่ครับ ก่อนหน้านี้ใช้อะไรไปบ้างครับ พื้นรวมเป็นย้งไง ฝนมากมั้ยครับ ช่วยตอบด้วยครับ

ครั้งล่าสุด พ่นช่ออ้วน ผสมโบร่อน และ น้ำตาลทางด่วน ไปเมื่อวันอาทิตย์

พื้นที่ฝนดีครับ ตั้งแต่ราดสารมายังไม่ได้ให้น้ำเลยเพราะหน้าดินชื้นตลอด

พื้นที่โดยรวม ช่อยาวออกมาประมาณ คืบ แต่ ไม่ขาว ยังมีอาการเหมือนช่อจะไม่ยอมเดินต่อและสีออกคล้ำๆ

และดอกเริ่มจะบานแล้ว ตอนนี้ได้ 44 วันแล้ว ช่อบางช่อยาว แต่ ตัวดอก ไม่อ้วน คือจะเริ่มบานแล้ว 

และตอนนี้ ต้นที่เริ่มแทงออกมา มีอาการเหมือนใบจะแรงด้วยครับ 

รวมๆ ถ้าช่อที่แทงออกมา สามารถให้ผลได้ช่อละ 20-30 ผล ก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ

แต่กลัวมันจะแห้งไป และ ดอกไม่ยอมติดผลครับ

หนุ่มสอยดาวพอมีวิธีแก้ไหมครับ ตอนนี้เริ่ม ใจไม่ค่อยดีมาอีกแล้ว

 

@คนบ้านโฮ่ง ถ้าเป็นที่สวนผมจะเลือกฉีดพ่นครับ ถ้าเป็นดอกใช้10-52-17 อะมิโน ทางด่วน แคลโบคีเลท ซิ้งคีเลท ธาตุอาหารรวม น่าจะได้ผลครับ ส่วนที่ใบอ่อนแรงใช้ปุ๋ยตัวท้ายสูงเช่น6-20-30 แคลโบคีเลท อะมิโนนิดหน่อยครับ พอดอกเดินใบนิ่งแล้วค่อยส่งดอกทำอ้วนทีหลังครับ ผมไม่ทราบว่าเขาใช้อะไรดึงดอก ถ้ารู้น่าจะพอแก้ได้ครับ ที่ให้ใช้แบบคีเลทเพราะเป็นกรณีแร่งด่วนครับหลายวันแล้วครับ แล้วแต่จะพิจารณาครับ พอจะวิเคราะได้มั้ยครับว่าผิดพลาดตรงจุดไหน แล้วสูตรนี้สวนอื่นเป็นเหมือนกันมั้ยครับ

@คบบ้านโฮ่ง พ่นที่เป็นดอกลืมไปอีกอย่างครับ สาหร่ายทะเล

ยาป้องกันเชื้อรามี กี่แบบครับ ตัวไหนใช้แล้วดีมั้งครับ

@คุณหนุ่สอยดาวครับ  ยาป้องกันเชื้อรามี กี่แบบครับ ตัวไหนใช้แล้วดีมั้งครับ

@คุณแอ็ด ระยอง ยาเชื้อรามีหลายแบบครับ ที่สวนคุณแอ็ด ระยองใช้คาเบนดาซิมก็ได้ครับ ของบริษัทโซตุ๊ดหรือเคโมค่ะก็ดีครับ แต่คาเบนที่ดีสุดยอดในสายตาของผมคคือชือการค้า”บาวิสติน”ติน ลองหาดูครับขวดละ4xx พอเม็ดดำค่อยดูอีกทีครับ

เงียบเลยครับ  ไปไหนกันหมด

มีใครเคยใช้เวนจูรี่ปั้มมบ้างครับ ให้ปุ๋ยในสวนลำไย

@หนุ่มสอยดาว เวนจูรี่ยังไม่เคยเห็นครับ มันมีข้อเสียตรงที่ว่า เมื่อปลายสายมีแรงดัน จะทำให้น้ำในถังปุ๋ย

แทนที่จะดูดจะกลายเป็นดันออกแทนครับ เหมาะสำหรับ ปลายสายปล่อยน้ำปล่าวแต่ถ้าเป็นสปริงเกอร์หรือน้ำหยดจะมีปัญหา

ส่วนใหญ่จะผสมปุ๋ยในถังแล้วทำท่อเข้าทางท่อดูดของปั้มแทนครับ กรณีปั้มหอยโข่ง

แต่ถ้าอย่างสวนผมที่เป็นซับเมิสหมดสิทธิ์ครับ อยากลองใช้ปั้มติ๊กเล้กๆดูดและปล่อยไปกับท่อเหมือนกันครับ ยังไม่เคยลอง

 

หลังจากอาทิตย์ก่อนใส่ปุ๋ยทางดินเพิ่มเข้าไป และพ่นด้วยแคลโบ สาหร่าย รู้สึกจะดีขึ้นมาพอสมควรครับ

ปัญหาสำคัญอีกอย่างคือ ตอนนี้เกษรตัวเมียเริ่มบานแล้วแต่ตัวผุ้ยังไม่ค่อยบาน มีบ้างแต่ไม่มาก

ปกติเกษรตัวเมียจะสามารถบานอยู่ได้นานเท่าไหร่ครับ ก่อนที่จะร่วงไม่ได้รับการผสม ผมห่วงเรื่องนี้เหมือนกันครับ

ที่สวนมีแมลงมากเพราะติดป่า ชันโรงและผึ้งมิ้น เยอะครับ วันสองวันนี้ฝนตกเช้า บ่ายมาแดดออกครับ

ช่อส่วนใหญ่ประมาณนี้ครับ แต่บางส่วนก็ยังไม่ยาวแต่พอใจในระดับหนึ่งแล้วครับเเหลือลุ้นเพียงให้ติดผลครับ

ยังจำช่อนี้ได้ไหมครับเลื่อนขึ้นดูข้างบน มีสูตรไหนให้ติดผลดีๆไหมครับหนุ่มสอยดาว

 

 

@คนบ้านโฮ่ง ดูแล้วไม่น่ามีปัญหาอะไรครับ ช่วงดอกกำลังบานที่สวนผมถ้าไม่จำเป็นจริงก็ปล่อยเลยครับ สูตรทีทำให้ติดดีไม่ทราบเลยครับ ผมใช้แต่แคลโบฉีดพ่นครับ แค่นี่เองครับ ส่วนสูตรผสมเทียมที่โฆษณากันนั้นผมว่าไม่น่าจะใช้ได้จริงเพราะสวนข้างๆใช้แล้ว สวนผมไม่ได้ใช้ ผมว่าผมติดดีกว่าเขาครับ ปัจจัยที่ทำให้ติดลูกมีเยอะมากครับ เช่น สภาพอากาศ ลมโยก ฝน ร้อนหนาว อันนี้บังคับไม่ได้จริงๆครับ

คาดว่าจะพ่น แคลโบกับสาหร่ายอีก รอบเดียวก่อนบานหมด ที่สวนไม่มีหนอนรบกวนแล้วคาดว่าจะไม่ใส่ยา หรือว่าไงดีครับ

ส่วนรูปนี้ถ่ายจากมือถือ ราดก่อนผม อาทิตย์นึง ทำสาวเมื่อมีนาที่ผ่านมา ใบออกเพียงสองยกแล้วสะสมอาหารแล้วราดเลย

ไม่น่าเชื่อว่าจะออกช่อเพราะ กิ่งยังมีนิดเดียว

@คนบ้านโฮ่ง ใส่ยาป้องกันเชื้อราไว้บ้างก็ดีครับ รูปสวนข้างๆที่ลงให้ดูออกดอกดีนะครับ สูตรนี้ผมเคยเห็นที่นี่ ถ้าเป็นที่นี่ครับอนาคตต้นลำไยจะโทรม ลักษณะใบจะเล็กลงใบเรื่อยๆคลายใบลิ้นจี่ แตกยอดออกมายอดก็จะเล็ก เหมือนจะหงอยๆ ไม่รู้เขาใสสารอะไรเข้าไปด้วยทำให้ลำไยออกแบบฝืนธรรมชาติ ปีหน้าใบและยอดจะน้อยแว่าเดิม คอยสังเกตุด้วยครับเพื่อจะได้แก้ไขได้ทัน ผมเห็นหลายสวนที่สี่โดยเฉพาะสวนเช่า เช่นเช่า4ปี่3ล้าน ออกทุกปี ทั้งๆที่ลำไยโทรมใบเล็กแกล็นๆ พอหมดสัญญา ลำไยเกือบทั้งสวนกลายเป็นสวน บอนไซลำไยไปเลยครับ ต้องดูผลระยะยาวด้วยครับ

ตอนนี้ที่สวนกำลังประสบปัญหาดอกตัวเมียบานชุดแรกเยอะเกินไปประกอบกับมีฝนเข้ามากเกินไป เหล่าแมลงผสมเกษรก็ไม่ค่อยออกมาทำงานเพราะกลัวฝน ได้แค่ส่งกำลังใจให้น้องลำไยอย่างเดียวเท่านั้น

ใช่เลยครับหนุ่มสอยดาว ส่วนมากดอกตัวเมียบานก่อนและบานมากเลยทีเดียว

ผมลองไปนับดูบางช่อบานทีเป็นร้อย แต่ตัวผู้ไม่ยอมบานเลย

และมีฝนมาช่วยกดดันให้ช่อไม่ติดอีกต่างหาก

ทำให้มีผลทำให้ช่อที่ยาวเป็นศอกติดลูกกระพรอมกระแพรม

ผมลองนับที่ติดลูกบางช่อมีไม่เกิน 20 ลูก ซึ่งยังจะต้องมีสลัดทิ้งอีกจำหนวนหนึ่ง

ตอนนี้จึงเริ่มลุ้นกันเยอะเลยทีเดียว

แต่ช่อส่วนใหญ่ที่บานทีหลังคือบานหลังเพื่อนประมาณ 4-5 วัน พวกนี้มีช่อตัวผู้บ้านเสริมทัพมาบ้างแล้ว

จึงมีผลทำให้เกษรตัวเมียมีการผสมกับตัวผู้จึง ทำให้ติดผลดีพอสมควร 

งานนี้ มีลุ้นกันตั้งแต่เริ่มราดยันติดผลกันเลยทีเดียว หลังจากติดผลแล้วคง ผ่อนคลายลงไปบ้าง

แต่ ยังมีอีกส่วนที่ผมจะราดต้นเดือน พย. งานนี้คงมีเวลาเตรียมต้นอีกพอสมควรคงต้องได้ลุ้นกันใหม่

 

@คนบ้านโฮ่ง วันนี้ตกตั้งแต่เช้าตอนนี้ทุ่มกว่าๆยังตกอยู่เลยครับ ลุ้นน่าดูครับ อีก2-3วันถ้าฟ้าเปิดว่าจะผ่าดอกอีกครั้งครับ กลัวเชื้อรากับหนอนม้วนดอกจะมาครับ ส่วนรุ่นแรกๆน่าจะเก็บได้อีกสองอาทิตย์ครับ ดักข่ายค้างคาวอยู่ครับ

ดีค่ะ... ไม่ได้มาซะนาน ช่วงนี้มีสอบเยอะมาก

มึนตึ๊บอยู่...กับการเตรียมสอบ และการสอบ

แวะมาเยี่ยม เป็นกำลังใจให้พี่หนุ่มสอยดาว...ลุยตอบคำถาม

และเป้นกำลังใจให้กับชาวสวนทุกคนที่กำ่ลังลุ้นลำไยของตัวเองทุกระยะๆ

ลุ้นว่าจะออกดอกไหม

ลุ้นว่าช่อจะยืดไหม

ลุ้นว่าดอกจะบานไหม

ลุ้นว่าจะมีตอกตัวผู้ ตัวเมียออกมาเหมาะสมกันไหม

ลุ้นว่าจะมีแมลงมาผสมเกษรไหม

ลุ้นว่าจะติดลูกได้เห็น ลำไยระยะ "บั๊กห่ำน้อย" ไหม

ลุ้นว่าลูกลำไยจะร่วงไหม

ลุ้นว่าลูกลำไยจะโตไหม

ลุ้นว่าลูกลำไยจะขยายไหม

ลุ้นว่าลำไยจะผิวสวยไหม

ลุ้นว่าปริมาณลำไยที่เก็บขายจะได้ตามเป้าหมายไหม

ลุ้นว่าขายแล้ว หักหนี้ล๊ง และหนี้รอบทิศแล้ว ปีนี้ จะเหลือเงิน พอเป็นทุนปีหน้าบ้างไหม

 

ลุ้นต่อไปนะคะ

อีก 4 ปี  ก็เตรียมใจ และหาทางหนีทีไล่ กับแนวโน้มราคาลำไย....ให้่ดีละกัน...ค่ะ

กับผลผลิตลำไย ล้นตลาด แถมมีลำไยกัมพูชา เข้ามาดั๊มราคา เหมือนที่เคยดั๊มราคาข้าวโพด..มาแร๊ว...

แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้พวกเรา...ชาวสวนลำไยทุกคน  รวย รวย แล้วก็รวย...ค่ะ

เกษรตัวเมียบานก่อน แล้วถ้าผสมไม่ทัน ก็จะร่วงไป แล้วจะเกิดเกษรตัวผู้บานจนเต็มสวน

หลังจากนั้นเกษรตัวผู้จะเริ่มโรยจนเกือบหมด จะมองเห็นดอกที่ยังไม่บาน เหลือเป็นจุดๆ

คือ กิ่งแขนงหนึ่งจะเหลือไม่เกิน 10 จุด ดอกตัวนี้แหละจะบานหลังเพื่อน และจะเป็นดอกตัวเมีย หรือจะเป็นดอกกระเทยด้วย

คือมีทั้งเกษรตัวเมียและผู้ในดอกเดียวกัน ถ้าฝนไม่ซ้ำเติมจนเกินไป ถึงไม่มีแมลงมากก็ยังติดผล

 

   ตอนนี้เจอปัญหาใหม่มาอีกแล้วคือ ก้านดอกจะแห้ง และ ตายไปเป็นจุดๆเคยเจอไหมครับ

อาการนี้จะมี แมลงชนิดหนึ่งเจาะทำรังวางไข่ไว้ที่ก้านช่อ ส่วนมากเป็นแขนงช่อ

พอไข่ฟักออกมา จะกัดกินตรงจุดที่วางไข่ทำให้ ช่อลำไย แห้งตายและส่วนที่ปลายหลังจากนั้นก็จะ ตายไป

สังเกตุดีๆจะมีลักษณะเป็นปมๆพอมันออกมาจะเป็นรูดำๆ และช่อหลังจากตรงจุดนั้นไป ตายไปหมด

ไม่ทราบว่าเป็นแมลงอะไรครับ แล้วเอายาตัวไหนช่วยได้ครับ หนุ่มสอยดาวเคยเจอไหมครับ

 

 

 

 

 

 

@คนบ้านโฮ่ง มีรูปให้ดูมั้ยครับ ผมยังไม่เคยเห็นเลยครับ ที่เห็นก็มีแต่หนอนกินดอกครับ

 

เด็ดมาเมื่อวานครับ สังเกตุ เวลามันเจาะจะมีปม และ เมื่อมันออกไปแล้วจะเป็น หลุมดำๆ ยอดที่ต่อปลายออกไปแห้งตายครับ

อาการเหมือนหนอนเจาะขั้ว แต่มันไม่เห็นว่าเป็นอะไรครับ เพราะแรกๆไม่มีอาการเลย

เป็นแบบนี้หลายช่อเลยทีเดียวครับ น่าจะเกิน ร้อยแน่นอน แต่คิดว่าถ้ามันไม่ลุกลามมากกว่านี้คง ไม่เป็นไร

แต่คิดว่า รอบหน้าหาทางป้องกันดีกว่าครับ

 

ดูจากรูปแล้วถ้าเป็นหลายๆช่อก็น่ากลัวอยู่ครับ อยากเห็นหน้าตาเจ้าแมลงนี้จริงๆ

ผมก็อยากรู้ว่ามันเป็นตัวแบบไหน แต่จริงๆแล้วอยากรู้ว่าจะแก้ยังไง มากกว่าครับ

น่าจะมาตอนก่อนผมพ่นช่ออ้วนครับ เพราะตอนนั้นผมเว้นการพ่นไปเกือบสิบวัน จึงเป็นสาเหตุให้มันมาวางไข่ได้

จากรูปมันจะมีตุ่มพองๆ บางส่วนที่ลำมันโตน้ำเลี้ยงไม่ถูกตัดขาดจะเกิดแค่ปมครับ ยังไม่แห้งไป บางส่วนที่ผมเห็นยังมีแห้งไปเป็นจุดๆ

 

 

มาว่ากันถึงช่อบ้างครับ

ช่อที่ตัวเมียบานก่อนมากๆ ผมดูแล้วไม่ติดเลยครับ พอต่อมาตัวผู้บานทั้งยวง เลยพานทำให้ทั้งช่อไม่ติดผลเลย

ช่อในรูปจะเป็นช่อที่บานและโรยเกือบหมดแล้วแต่จะยังเหลือ ช่อยกสุดท้าย ลองดูดีๆนะครับ

ผมว่าบอร์ดนี้ไม่มีคนสังเกตุจริงๆมองไม่ออกนะครับ จะเป็นช่อตัวเมียและ หรือ เป็นดอกกระเทยครับคือมีตัวผู้และเมียในดอกเดียว

เดี๋ยววันหลังถ่ายมาให้ดูครับ รูปนี้ถ่ายเมื่อวานครับ จากเมื่อวานมาฝนยังไม่ตกแดดทั้งวัน ผมหวังว่าดอกที่เหลือคงผสมติดนะ เอิ๊กกก

 

คุณหนุ่มสอยดาวคะ

มีข้อสงสัยเกี่ยวกับระยะเวลาในการให้ปุ๋ยนะค่ะ  

  ช่วงการเตรียมต้น  จะต้องให้ปุ๋ยทางดินสูตร 8-24-24 ก่อนการราดสาร 1 เดือน เช่น จะราดสารเดือน  ธ.ค ก็ต้องให้ปุ๋ยเดือน  พ.ย ใช่ไหมคะ  แต่ถ้าเป็นพื้นที่สูง - บนดอย ช่วงเดือน พ.ย จะแล้งไม่มีน้ำเราจะให้ปุ๋ยช่วงเดือนก.ย - ต.ค ได้ไหม  เพราะช่วงนี้ฝนตกอยู่  และจะมีผลต่อลำไยอย่างไรบ้าง  

 

หนุ่มสอยดาว ตอบด่วน มีคนถามเรื่องการให้ปุ๋ย...ค่ะ

@คุณนพมาศ สำหรับสวนแบบนี้แสดงว่าไม่มีน้ำให้ใช่ไหมครับ เน้นปลูกในฤดู เพราะแถวๆบ้านผมก็มีแบบนี้เยอะครับ

ผมเคยคุยกับคนที่เขาขายปุ๋ยยามา ซึ่งเขาบอกว่า ให้ใส่ 8-24-24 ได้เลย แล้วก็ค่อยมาทำใบอีกรอบโดยการพ่นทางใบ

เช่น ลำไยใบแรกออกแล้ว พอมันแก่ ก็ใส่ ปุ๋ยที่ว่ามา แล้วหลังจากนั้นก็ พ่นดึงใบยกสอง พอใบเพสลาดก็สะสมอาหารแล้วราดเลย

ประมาณว่า ให้ก่อนดีกว่าไม่ให้เลย ส่วนมากปุ๋ยเคมี ต้นไม้กินได้ประมาณ 15 วัน จากนั้นก็จะเจือจางไปแล้ว

ยังไงรอ หนุ่มสอยดาวมาบอกอีกที 

ผมว่าการทำลำไยให้ได้ผลดี ปุ๋ยที่ใส่ต้องใส้ให้ถูกจังหวะ จะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ ตั้งแต่ ตอนช่อ จนถึงเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว

@คนบ้านโฮ่ง ช่อดอกชุดสุดท้ายในรูปผมเดาเอาว่าเป็นดอกตัวเมียยกชุด ที่สวนผมบางต้นก็รอชุดสุดท้ายแบบนี้เหมือนกันครับ เมื้อเช้าเข้าไปเช็คหนอนกับเชื้อราปกติดีครับ หนอนกินดอกนิดหน่อสพอรับได้ครับ เว้นพ่นยามา15วันแล้วครับ บ่ายนี้ว่าจะใส่ปุ๋ยทางดินเสริมนิดๆครับ เพราะเย็นนี้ฝนน่าจะตก

@คุณนพมาศ ในความคิดของผมนะครับ ก่อนราดสารใส่8-24 ประมาณ20-30น่าจะดีกว่าครับ ถ้าหากใส่ก่อนราดนานมากไป พอถึงจังหวะที่ลำไยแตกยอด8-24ที่ใส่ใบจะใบบำรุงใบ แทนที่จะสะสมอยู่ในต้นเพื่อรอเวลาออกดอก แต่ถ้าหากลำไยแตกใบมา3ยอดแล้ว ที่สวนผมจะไม่ใส่8-25ครับ แต่จะเน้นพ่นสะสมทางใบแทนครับ แต่สภาพพื้นที่ไม่เหมือนกันครับ อย่างรุ่นพี่ผมแถวคลองหินขาว น้องยุ้ยน่าจะรู้จัก เขาเอาดินไปตรวจ ที่สวนเขามีธาตุPมาก เรียกว่าไม่ต้องใส่8-24ไปอีก5-6ปีเลยทีเดียว เขาเลยใส่แค่0-0-60ก่อนราด ดินเนินเขาผมไม่ทราบเลยครับว่าเป็นแบบไหน ความรู้ผมมีเพียงเท่านี้ครับ

@หนูยุ้ย สำหรับสูตรทำแคลเซี่ยมโบรอนผสมเอง ผมได้ทำแล้ว ปรับปรุงเพิ่มนิดหน่อยโดยการเติมน้ำส้มสายชูนิด ธาตุอาหารรวมสูตรคีเลท ใส่สีนิดหน่อย เพิ่มสารกัวกัมให้หนืดนิดนึง ใส่สารกันบูดนิดหน่อย แหล่มเลยครับ แจกเพื่อนแจกญาติยังไม่หมดเลย ใช้เสริมจากที่เคยใช้ น่าจะดีครับ ถ้าใช้หมดคราวหน้าจะปรับปรุงสูตรอีกนิดครับ ขอขอบคุณไว้ณที่นี้และที่นั้นด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท