ทฤษฎีหลักสูตร


ก่อนที่ดิฉันจะอ่านเรื่องของทฤษฏีหลักสูตร ดิฉันได้ทำความเข้าใจกับคำว่าหลักสูตรก่อน ซึ่งจากที่ศึกษามาสามารถสรุปได้ว่า หลักสูตรจะแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหลักแยกกัน คือ 1. เรื่องของวิชาและเนื้อหาวิชา 2. เรื่องของประสบการณ์ ถ้าหากนำหัวข้อที่ 1 และ 2 มารวมกันก็จะสามารถสรุปรวมได้ว่า 

-หลักสูตร เป็นแม่บท หมายถึง เป็นข้อกำหนด แนวทางที่กำหนดให้โรงเรียนปฏิบัติตาม 

-หลักสูตรเป็นเอกสาร สื่อต่างๆ เช่น คู่มือครู ตำรา

-หลักสูตรเป็นกิจกรรม คือ การบริหารด้านวิชาการ การจัดกิจกรรมการสอน การสอบวัดผล

จากการได้อ่านทฤษฎีของไทเลอร์และทาบา สรุปได้ว่า องค์ประกอบของหลักสูตรมี 4 อย่าง ได้แก่ 1. ความมุ่งหมาย 2. เนื้อหาวิชา 3. การนำหลักสูตรไปใช้ 4. การประเมินผล ซึ่งจะอธิบายความหมายของแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้

1. ความมุ่งหมาย เป็นการกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา ต้องคำนึงถึงพื้นฐานทางสังคมและนโยบายการศึกษาชาติด้วย กระทรวงศึกษาธิการได้แบ่งส่วนนี้ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ "หลักการของหลักสูตร" เป็นแนวทางหรือทิศทางในการจัดการศึกษา ทุกฝ่ายจะยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ อีกส่วนหนึ่งก็คือ "จุดหมายของหลักสูตร" เป็นคุณสมบัติต่างๆที่ต้องการให้เกิดแก้ผู้เรียน

2. เนื้อหาวิชา คือ สิ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปสู่ความมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาวิชาจะประกอบด้วย โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหาหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร จะกำหนดรูปแบบของเนื้อหา หน่วยกิต เวลาเรียน ส่วนเนื้อหาหลักสูตร จะกำหนด หัวข้อเรื่อง ที่สำคัญของแต่ละรายวิชา ต้องสอนอะไรบ้าง จัดลำดับก่อนหลัง

3. การนำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งกล่าวได้ว่า "การสอนเป็นหัวใจของการนำหลักสูตรไปใช้" ครูต้องศึกษาหลักสูตรจนเข้าใจและสามารถนำไปดำเนินการจัดการเรียนรู้ได้ วิธีการของการนำหลักสูตรไปใช้ คือ 

3.1 การจัดการเรียนรู้  แยกออกเป็น ยึดครูเป็นสำคัญหรือยึดนักเรียนเป็นสำคัญ ขึ้นอยู่กับปรัชญาการศึกษา ซึ่งหลักสูตรในปัจจุบันเป็นแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือเน้นสอนคนมากกว่าสอนหนังสือ ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทาง ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาข้อสรุปและตัดสินใจเอง

3.2 สื่อช่วยสอน เพื่อช่วยเหลือครูในการใช้หลักสูตร สำหรับครู คือ แผนการสอน คู่มือการสอน เป็นต้น สำหรับนักเรียน คือ หนังสือ แบบฝึกหัด ใบงาน เป็นต้น

4. การประเมินผล เป็นตัวชี้ให้เห็นผลลัพธ์ของการปฏิบัติว่าสามารถทำได้ตรงตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ หลักสูตรที่ใช้เกิดผลสัมฤทธิ์แบบใด แนวทางนี้สามารถนำไปใช้ปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรได้ต่อไป

บรรณานุกรม

จีระ  งอกศิลป์.(2552). มาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. คู่มือเตรียมทดสอบความรู้: ส.วิทยาการพิมพ์.

คำสำคัญ (Tags): #หลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 541710เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้ว ยังไม่เห็นความชัดเจนว่าตรงไหนคือทฤษฎีหลักสูตรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท