สาระที่ 2 รูปแบบของหลักสูตร (Curriculum Design)


1.หลักสูตรแบบเน้นเนื้อหา (The Subject Matter Curriculum)

          เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้ในการสอนศาสนา ละติน กรีก อาจเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า
เป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาเป็นศูนย์กลาง (Subject-Centered-Curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการสอน
ของครูที่ใช้วิธีการ บรรยาย ปรัชญาการจัดการศึกษาแนวนี้จะยึดปรัชญาสารัตถนิยม(Essentialism)
และสัจวิทยา (Perennialism)

2.หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Correlated Curriculum)

          หลักสูตรสหสัมพันธ์ คือ หลักสูตรเนื้อหาวิชาอีกรูปแบบหนึ่ง แต่เป็นหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาวิชา
ของวิชาต่าง ๆ ที่สอดคล้องหรือส่งเสริมซึ่งกันและกันมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน แล้วจัดสอนเป็นเนื้อหาเดียวกัน
วิธีการดังกล่าวอาศัยหลักความคิดของนักการศึกษาที่ว่า การที่จะเรียนรู้สิ่งใดให้ได้ดีผู้เรียนต้องมีความสนใจเข้าใจความหมายของสิ่งที่เรียนและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนกับสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพราะฉะนั้นหลักสูตรสหสัมพันธ์จะกำหนดเนื้อวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหมวดใดหมวดหนึ่ง แล้วนำเนื้อหาสาระวิชาที่สัมพันธ์กันมารวมไว้ด้วยกัน

3.หลักสูตรแบบผสมผสาน (Fused Curriculum or Fusion Curriculum)

          หลักสูตรแบบผสมผสานเป็นหลักสูตรที่พยายามปรับปรุงข้อบกพร่องของหลักสูตรเนื้อหาวิชา เพราะฉะนั้นหลักสูตรแบบผสมผสานคือหลักสูตรเนื้อหาวิชาอีกรูปแบบหนึ่ง โดยการรวมเอาวิชาย่อย ๆ
ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาผสมผสานกันในด้านเนื้อหาเข้าเป็นหมวดหมู่

4. หลักสูตรแบบหมวดวิชาแบบกว้าง (Broad Fields Curriculum)

          หลักสูตรหมวดวิชาแบบกว้างหรือหลักสูตรรวมวิชา เป็นหลักสูตรที่พยายามจะแก้ปัญหาต่าง ๆ
ที่เกิดจากหลักสูตรเนื้อหาวิชา ซึ่งขาดการผสมผสานของความรู้ให้เป็นหลักสูตรที่มีการประสานสัมพันธ์
ของเนื้อหาความรู้ที่กว้างยิ่งขึ้น

5. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (Social Process and Life Function Curriculum) 

          หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม เป็นหลักสูตรที่มุ่งแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรที่ผ่านมาด้วยการรวบรวมความรู้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยยึดกิจกรรมต่าง ๆ ของคนไทยเป็นหลัก เป็นหลักสูตรที่ถูกคาดว่ามีคุณค่ามากที่สุดสำหรับผู้เรียน การจัดหลักสูตรแบบนี้ได้ยึดเอาสังคมและชีวิตจริงของเด็กเป็นหลัก เพื่อผู้เรียนจะได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพราะมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาวิชาในหลักสูตรกับชีวิตจริงของผู้เรียนหรือภาวะทางสังคมที่ผู้เรียนกำลังประสบอยู่ หลักการจัดหลักสูตรประเภทนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากความคิดของจอห์น ดิวอี้ กับปรัชญาการศึกษาสาขาพิพัฒนาการนิยม และปรัชญาการศึกษาสาขาปฏิรูปนิยม

หมายเหตุ : ค้นหาข้อมูลจาก http://course-4.blogspot.com/2010/07/blog-post_8214.html

รูปแบบของหลักสูตรตามความคิดของข้าพเจ้า

           รูปแบบของหลักสูตร มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาที่จะนำหลักสูตรรูปแบบใดมาใช้หรือนำหลักสูตรหลายๆ รูปแบบมาใช้ร่วมกันเพื่อทำให้ผู้เรียนมีความรู้ มีประสบการณ์ มีทักษะ และสามารถนำสิ่งต่างๆ
เหล่านั้น ไปวางแผนในการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีแบบแผนได้  ในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่สถานศึกษาจะเน้นหลักสูตรเป็นรูปแบบแบบบูรณาการ ครอบคลุมทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนรู้จักสังเกตปัญหา หาสาเหตุของปัญหา วิเคราะห์ปัญหา ผ่านการประเมินผล เพื่อนำไปสู่แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

หมายเลขบันทึก: 541698เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2013 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ลองเสนอความคิดเห็นว่ารูปแบบไหนที่เหมาะสำหรับประเทศไทยด้วยก็จะดีนะคะ

ลองฝึกการเขียนแบบที่ผสมผสานตัวตนของคุณลงไป มีการแสดงความคิดเห็น สอดแทรกประสบการณ์ เช่น บอกว่ารูปแบบไหนที่คุณชอบหรือเคยเห็น แทนการเขียนแบบคัดลอก/ตัดแปะเช่นนี้ จะทำให้สามารถประเมินได้ว่าคุณมีความเข้าใจสาระนี้ชัดเจนเพียงใดค่ะ

- จากความเห็นที่บอกว่า "หลักสูตรแบบบูรณาการ" นั้น ไม่เห็นอยู่ใน 5 แบบที่คุณเขียน 
- แน่ใจนะคะว่าเข้าใจว่ารูปแบบที่พูดถึงเป็นอย่างไร 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท