แนวคิดอารยะขัดขืนตอนที่ 7 หลักการทำอารยะขัดขืนของจอห์น รอลส์


อย่างไรก็ตามจอห์น รอลส์เสนอว่าการทำอารยะขัดขืนหรือการดื้อแพ่งโดยประชาชนต้องประกอบไปด้วยลักษณะ 2 ประการ ดังนี้ 1. การทำอารยะขัดขืนอย่างแคบ เช่น จอห์น รอลส์ 2. การทำอารยะขัดขืนอย่างกว้าง เช่น เช่น ธอโร และคิง

จอห์น รอลส์นิยามการทำอารยะขัดขืนไว้ว่า การกระทำทางการเมืองซึ่งมีลักษณะเป็นสาธารณะ (public) สันติวิธี (nonviolent) และมีมโนธรรมสำนึก (conscientious) ที่ขัดต่อกฏหมาย ปรกติเป็นสิ่งที่ทำโดยมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย (in the law) หรือในนโยบายของรัฐบาล” โดยการกระทำดังกล่าวต้องกระทำในสังคมที่ใกล้จะเป็นธรรมเท่านั้น

จากคำนิยามของจอห์น รอลส์ เราจึงอธิบายสาเหตุของการ “จำกัด” ให้การกระทำอารยะขืน เป็นการมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง “ในกฎหมายหรือนโยบาย” แต่ไม่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบอบการปกครอง เพราะรอลส์กำหนดให้การดื้อแพ่งหรือการทำอารยะขัดขืน กระทำเฉพาะในกรณีสังคมที่ใกล้จะเป็นธรรม (nearly just society) กล่าวคือ เป็นสังคมส่วนใหญ่มีการจัดระเบียบอย่างดี แต่มีการละเมิดความยุติธรรมปรากฏอยู่บ้าง (more or less just democratic state) การดื้อแพ่งหรือการทำอารยะขัดขืน เป็นการกระทำที่เหมาะสมในรัฐประชาธิปไตยที่ได้อำนาจมาโดยชอบธรรมและมีความเป็นธรรมอยู่บ้างเท่านั้น ไม่อาจประยุกต์ใช้กับรัฐบาลรูปแบบอื่นได้ สาเหตุที่ใช้ได้เฉพาะในบริบทของรัฐประชาธิปไตยที่ “ใกล้จะเป็นธรรม” เท่านั้น

การดื้อแพ่งหรือการทำอารยะขัดขืนนั้นต้องยอมรับการยอมรับบทลงโทษของรัฐ ซึ่งเป็นผลจากการละเมิดกฎหมายของผู้กระทำการดื้อแพ่งจากประชาชนหรือการทำอารยะขัดขืน  เงื่อนไขนี้เท่ากับเป็นการยอมรับความชอบธรรมของรัฐบาล ดังนั้น หากผู้กระทำการดื้อแพ่งจากประชาชนหรือการทำอารยะขัดขืน ในรัฐเผด็จการอย่างประเทศพม่าที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยการรัฐประหารแย่งชิงอำนาจจากฝ่ายชนะเลือกตั้ง จึงเท่ากับเป็นการยอมรับความชอบธรรมของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ที่ไม่มีความชอบธรรมอยู่เลยนั่นเอง


หนังสืออ้างอิง

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. อารยะขัดขืน. http://chaisuk.wordpress.com/2007/07/13/summary-civil-disobedience-chaiwat/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สมชาย ปรีชาศิลปะกุล. การดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชน.

http://www.openbase.in.th/http:/%252Fwww.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%25  เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สมชาย ปรีชาศิลปะกุล.แนวความคิดเรื่องการดื้อแพ่งของนักปรัชญาอเมริกัน John Rawls. http://www.spiceday.com/archiver/?tid-52063.html  เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อุเชนทร์ เชียงแสน. ว่าด้วยบันไดและอารยะขัดขืน: จากสมัชชาคนจนถึง Pmove. http://blogazine.in.th/blogs/uchane-cheangsan/post/4148  เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. การประท้วง. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%87  เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. อารยะขัดขืน. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%87  เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


หมายเลขบันทึก: 541680เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท