สถานศึกษากับการส่งเสริมภูมิปัญญา


 สถานศึกษามีหน้าที่ในการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและของชาติ โดยการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร ดังที่กระทรวงศึกษาธิการ (2551:11) กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดังนี้

  วิสัยทัศน์ :“มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เป็นมนุษย์ที่มี.......จิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก”

  จุดหมาย: “ให้ผู้เรียน..........มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย......”

  สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ :

  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย:สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐานการเรียนรู้ ท 4.1  เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

  อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการ (2548:คำนำ)กล่าวว่า วรรณคดีและวรรณกรรมเป็นภูมิปัญญาไทยที่สะท้อนภาพชีวิตและสังคม

 สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (2550:1) กล่าวว่าวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเป็นวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่าง ๆ ได้พัฒนาสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต รวมทั้งใช้ในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่คนในชุมชน ซึ่งถือว่าวัฒนธรรมเป็นทุนและศักยภาพที่สำคัญยิ่งของชุมชน ท้องถิ่น และสังคมไทย 

 
 

บรรณานุกรม

ศึกษาธิการ,กระทรวง.(2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น

  พื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ 

  ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

  ศึกษาธิการ,กระทรวง.(2548) แนวการอ่านวรรณคดีและ

  วรรณกรรม.กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.  กระทรวงวัฒนธรรม,สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

  (2550). คู่มือโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน.

  กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง

  ประเทศไทย จำกัด.


หมายเลขบันทึก: 541674เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท