ไอศกรีมมังคุดทำได้เอง


ไอศกรีมมังคุดคลายร้อน ชื่นใจทำได้เอง


ไอศกรีมมังดุด



วิธีทำ

1. เนื้อมังคุดสด เนื้อและเมล็ดใหญ่ต้มสุก น้ำในลูกมังคุด 1 ถ้วย (จะใช้เนื้อมังคุกต้มสุกทั้งหมดก็ได้)

2. หัวกะทิ   2/4  ถ้วย

3. น้ำผึ้ง  1/4  ถ้วย

4.. น้ำมะนาว  1/4 ถ้วย

5. เกลือ  1/4  ช้อนชา

6. หัวกะทิใส่โถปั่น ใส่เนื้อมังคุดพร้อมน้ำและเมล็ดที่ต้มสุก

   ใส่เกลือ น้ำมะนาว น้ำผึ้ง ปั่นให้ละเอียด เทใส่ภาชนะที่จะแช่แข็งๆได้ ปิดฝา

7. แช่ตู้เย็นช่องทำน้ำแข็ง เมื่อแข็งแล้วนำออกมาสักพักเพื่อคลายความแข็งลง

   ใช้ช้อนตักอร่อยได้เลย  หรือมีที่ตักไอศกรีมเป็นก้อนๆก็ได้




การทำไอศกรีมเนื้อผลไม้กับหัวกะทิ ใช้ได้ทุกผลไม้ที่เป็นเนื้อไม่มีน้ำเนื้อไอศกรีมจะเนียนกว่าผลไม้ที่มีน้ำมาก ถ้าเป็นน้ำมากเนื้อไอศกรีมจะไม่เนียนจะเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ควรใช้ส่วนเนื้อผลไม้ 1 ส่วนหัวกะทิไม่มีหางกะทิรวมกับน้ำอย่างอื่น เช่น นมสด น้ำมะนาว นมข้น น้ำผึ้ง ฯ อีก 1 ส่วน ปั่นให้ละเอียดที่สุดแล้วก็นำแช่แข็ง ก็จะได้ไอศกรีมหวานเย็นหอมผลไม้สดที่อร่อยทำได้เองโดยไม่ต้องซื้อ ผลไม้บนต้นในบ้านที่ปลูกไว้ปลอดสารพิษ หรือจะซื้อมาก็ตาม เราจะควบคุมความหวานได้ด้วย ถ้าผลไม้หวานก็ไม่ต้องเพิ่มความหวานมาก เช่น ทุเรียนงอมๆ  น้อยหน่า  กล้วยหอม มะม่วงสุก ฯ ส่วน ท้อ อโวคาโด ใส่น้ำผึ้งจะอร่อยมาก   ผลไม้รสเปรี้ยวก็ไม่ต้องเพิ่มมะนาว การทำให้เด็กๆ ใส่นมข้น นมสดไม่ใช้กะทิก็ได้ หอมอร่อยได้เช่นกัน

ไอติมมังคุดทุเรียนสูตรพิเศษฝากอีกวิธีค่ะ  http://www.gotoknow.org/posts/542399


ด้วยความปรารถนาดี   กานดา แสนมณี


หมายเลขบันทึก: 541049เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2013 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

หน้าตาน่ากินจังเลยจ้ะพี่ดา่  ชอบ ๆๆๆๆๆๆ

-สวัสดีครับ...

-น่าสนใจมากครับ..ไอศครีมผลไม้...

-หลายวันก่อนดูทีวีรายการหนึ่งเขาทำไอศครีมมะปราง

-ทำง่าย  ๆ ครับ ปั่นเนื้อมะปรางให้ละเอียด เติมเกลือ น้ำเชื่อมนิดหน่อย ใส่ถุงและนำไปเขย่าในถังน้ำแข็งที่ใส่เกลือลงไปทำหมือนที่เขาทำน้ำอัดลมแท่งน่ะครับ ..ว่าจะลองทำดูเหมือนกัน 555

-ขอบคุณคร๊าบ!!



...น่ากินจังค่ะ...เพราะชอบมังคุด...มังคุดกวน...ขอบคุณค่ะ

พี่ดาขา

ชอบมากค่ะ 

ช่วงนี้สงสารชาวสวนนะคะ ผลไม้แสนถูกค่ะ

คนชอบผลไม้อย่างดิฉัน ทานแบบไม่ยั้งเลยล่ะค่ะ

แต่กับไอติมมังคุด ทำไมหนอคนเค้าถึงไม่ค่อยทำขายกัน ทั้งที่ก็คงจะอร่อยล้ำนะคะ

คำอธิบายจากอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภามาฝากนะคะ

Suwath Sapyaprapa "ในเนื้อเปลือกผลมังคุดมีสารแซนโทนมากกว่า 40 ชนิด สาร แอลฟา-แมงโกสติน เป็นผลึกสีเหลืองอยู่ภายในเนื้อเปลือก ก็เป็นสารแซนโทนตัวหนึ่งในกลุ่มสารแซนโทนที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่งละลายได้ในน้ำร้อน ยังมีสารแซนโทนตัวอื่นๆอีก ที่อยู่ในรูปของไกลโคไซด์ ละลายได้ในน้ำ นอกจากกลุ่มสารแซนโทนแล้ว ในเนื้อเปลือกผลมังคุดยังมีกลุ่มสารแอนโทไซยานิ และ กลุ่มสารแทนนิน แยกเป็นคอนเด้นซ์แทนนิน ไฮโดรไลซาเบิ้ลแทนนิน ซึ่งเป็นสารพวกโพลีฟีนอล เมื่อรวมกันเข้าแล้วจึงมีคุณสมบัติร่วมกันอย่างที่นำไปใช้กันอยู่ การต้ม หรือ การนึ่ง เป็นการป้องกันสารเหล่านี้ถูกออกซิไซด์ทำให้ประโยชน์ของสารเหล่านี้เสียไป เคียวด้วยไฟอ่อนก็เพื่อให้สารต่างๆที่มีอยู่ในเนื้อเปลือกดังกล่าวซึมออกมา การสกัดสารแบบนี้อาจจะได้สารที่เป็นประโยชน์ไม่มากนักอย่างที่เขาว่า แต่ก็เพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ซึ่งชาวบ้านทำตามได้ง่าย ก็เรามันนักวิจัยเท้าเปล่านะครับ วิจัยแบบลูกทุ่ง เกิดประโยชน์ได้ เท่านี้ก็พอใจแล้ว ส่วนนักวิจัยตัวจริงจะวิจัยต่อยอดให้ลึกกว่านี้ ก็ไม่มีใครห้ามนะครับ การนำเอาผลมังคุดต้มสุกไปสกัดแบบน้ำหมักเอนไซม์ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะได้สารต่างๆที่มีอยู่ในเปลือกผลมังคุด ซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานขึ้น แต่กว่าจะใช้ได้ก็ต้องรอนานเหมือนกัน ถ้าด่วนๆก็ต้มแล้วใช้เลย ดังนั้นจึงควรผสมผสานวิธีการนำสารในเปลือกผลมังคุด มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากขึ้น นักวิจัยอาสา ควรทดลองทำดูแล้วรายงานผล ก็จะช่วยกันพัฒนาการดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเอง เพื่อคนไทยมีสุขภาพดีกันถ้วนหน้าต่อไปครับ "

นำคำตอบจากอาจารย์มาฝากนะคะ

Suwath Sapyaprapa " ในเนื้อเปลือกผลมังคุดมีสารแซนโทนมากกว่า 40 ชนิด สาร แอลฟา-แมงโกสติน เป็นผลึกสีเหลืองอยู่ภายในเนื้อเปลือก ก็เป็นสารแซนโทนตัวหนึ่งในกลุ่มสารแซนโทนที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่งละลายได้ในน้ำร้อน ยังมีสารแซนโทนตัวอื่นๆอีก ที่อยู่ในรูปของไกลโคไซด์ ละลายได้ในน้ำ นอกจากกลุ่มสารแซนโทนแล้ว ในเนื้อเปลือกผลมังคุดยังมีกลุ่มสารแอนโทไซยานิ และ กลุ่มสารแทนนิน แยกเป็นคอนเด้นซ์แทนนิน ไฮโดรไลซาเบิ้ลแทนนิน ซึ่งเป็นสารพวกโพลีฟีนอล เมื่อรวมกันเข้าแล้วจึงมีคุณสมบัติร่วมกันอย่างที่นำไปใช้กันอยู่ การต้ม หรือ การนึ่ง เป็นการป้องกันสารเหล่านี้ถูกออกซิไซด์ทำให้ประโยชน์ของสารเหล่านี้เสียไป เคียวด้วยไฟอ่อนก็เพื่อให้สารต่างๆที่มีอยู่ในเนื้อเปลือกดังกล่าวซึมออกมา การสกัดสารแบบนี้อาจจะได้สารที่เป็นประโยชน์ไม่มากนักอย่างที่เขาว่า แต่ก็เพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ซึ่งชาวบ้านทำตามได้ง่าย ก็เรามันนักวิจัยเท้าเปล่านะครับ วิจัยแบบลูกทุ่ง เกิดประโยชน์ได้ เท่านี้ก็พอใจแล้ว ส่วนนักวิจัยตัวจริงจะวิจัยต่อยอดให้ลึกกว่านี้ ก็ไม่มีใครห้ามนะครับ การนำเอาผลมังคุดต้มสุกไปสกัดแบบน้ำหมักเอนไซม์ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะได้สารต่างๆที่มีอยู่ในเปลือกผลมังคุด ซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานขึ้น แต่กว่าจะใช้ได้ก็ต้องรอนานเหมือนกัน ถ้าด่วนๆก็ต้มแล้วใช้เลย ดังนั้นจึงควรผสมผสานวิธีการนำสารในเปลือกผลมังคุด มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากขึ้น นักวิจัยอาสา ควรทดลองทำดูแล้วรายงานผล ก็จะช่วยกันพัฒนาการดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเอง เพื่อคนไทยมีสุขภาพดีกันถ้วนหน้าต่อไปครับ "

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท