ตำรับ บอระเพ็ด ความลับ ของ อย. กรมวิทย์ และ บริษัท ที่ประชาชนต้องรู้ทัน


เริ่มจาก  ประเด็น ว่า  หากมีแนวโน้มว่า  ยาบอระเพ็ด  น่าจะใช้ได้ กับผู้ป่วยไข้เลือดออก

1  ยาบอระเพ็ด   ในท้องตลาด มาตรฐานเดียวกัน หรือไม่

2  ยาบอระเพ็ด หากแตกต่างกัน จะใช้ กันอย่างไร

3  ขนาดยาที่เหมาะสมกับ การใช้ในผป. ไข้เลือดออก  เป็นอย่างไร

4  สถานการณ์บอระเพ็ด  ใน ระดับ รพ.  และ ระบบบริการ เป็นอย่างไร


คำตอบ

1  บอระเพ็ด  ในท้องตลาด มีมาตรฐานต่างกัน พอสมควร  ต้องเลือกด้วยข้อมูล

        มีแหล่งผลิตยา จำนวนน้อยมาก ที่ได้รับรอง มาตรฐานคุณภาพสมุนไพร จากกรมวิทย์ศาสตร์การแพทย์   ก .สาธารณสุข    ที่พอจะได้รับรอง คือ บาง โรงพยาบาลชุมชน  

  แหล่งข้อมูล คุณภาพสมุนไพร ในแต่ละปี           http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/plant/mpri/h_year.shtm

      นอกจากนี้ ตำรับ บอระเพ็ด  แต่ละบริษัท จะมีส่วนประกอบ ส่วนผสมยาอื่น ไม่เหมือนกัน ตามแต่ละบริาัทจะยื่นขอทะเบียน

      แต่จะมีหลักการ ของ อย. ควบคุมเหมือนกัน คือ ให้มีบอระเพ็ด ได้ไม่เกิน ร้อยละ 60  ของ น้ำหนักยา

 และที่น่าสนใจ  เกือบทุกบริษัท จะไม่ระบุ ( เพราะ  กฎหมายไม่บังคับไว้ ) ว่า ยาผสมอื่นๆ คืออะไร

 เท่าที่ติดตาม พบเพียงบริษัท เดียว คือ ธงทองโอสถ จาก จังหวัด ฉะเชิงเทรา   ที่ระบุส่วนประกอบให้ทราบหมด  คือ

 500 มก.  ประกอบด้วย บอระเพ็ด 300 มก 

                 ฟ้าทะลายโจร 50 มก. ใบพิมเสม 50 มก. จันทน์แดง 50 มก. จันทนืเทส 50 มก.

      นอกจากนี้ ในท้องตลาด บางยี่ห้อ   โรงงานไม่ได้ผ่านมาตรฐาน การผลิตที่ดี GMP    ต้องเลือกกันให้ดี ด้วย


2  เนื่องจาก มีความแตกต่างในส่วนประกอบ  เวลาใช้จริง จึงอาจจะมีผลการรักษาแตกต่างกัน  ในแต่ละโรคได้  แต่คงจะไม่มีใครสามารถพิสูจน์  และ คงไม่มีใครอยากให้ทุนวิจัย


3    หากใช้ในกรณีไข้เลือดออก ต้องใช้ในขนาดที่สูงกว่า ในฉลากยา   ส่วนใหญ่ฉลากยา ให้ใช้ครั้งละ 1-2 เม็ด               วันละ3-4 ครั้ง     ซึ่งน่าจะไม่ค่อยได้ผล เพราะยาน้อยไป     ฉลากจะรบุ แก้ไข้ แก้ร้อนใน  ตามข้อกำหนด ของ อย.

       ข้อกำหนดตรงนี้ อาจจะใช้ได้ สำหรับ กรณีไข้เล็กน้อย  ซึ่ง อย จะกำหนดฉลากยา  หากกลัวว่า หากใช้มาก อาจจะมีโทษ    ก็ดีในแง่คุ้มครองผู้บริโภค   แต่ไม่ดีในเวลาที่ใช้จริง กับโรคบางโรค


4  ปัจจุบัน ยังมีการผลิต ใช้ และจำหน่าย ยาที่ได้มาตรฐานในบาง รพ. ชุมชน   เท่าที่ทราบข้อมูล ไม่มี รพ.ใหญ่ แห่งใด ผลิตได้มาตรฐาน  ( รพ. หญ่ ที่ผลิต พอมีบ้าง   แต่ไม่พบในรายชื่อ ที่ได้มาตรฐานคุณภาพ )  

      บอระเพ็ดแคปซูล ไม่เคยผ่านเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติ  สักครั้ง   และล่าสุด ปี 2553  กรมบัญชีกลาง ห้ามเบิกจ่าย จากระบบสวัสดิการ  จึงเข้าใจเอาว่า น่าจะไม่มีการซื้อมาใช้ใน รพ ทั่วไป ของ ราชการ    

     แต่ระดับ รพ. ชุมชน ที่ผลิตเอง จัดเป็น ยาตำรับ รพ.  ยังเบิกค่ายาได้ จาก กรมบัญชีกลาง


ผู้เรียนรู้รุ่นหลัง





         


คำสำคัญ (Tags): #บอระเพ็ด
หมายเลขบันทึก: 540082เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2013 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2013 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณหมอ

ติดตามอ่านเรื่องไข้เลือดออกที่กรุณานำเสนอในบันทึกเร็วๆนี้...รอลุ้นว่าจะเป็นยาสมุนไพรตัวไหน   .เลยเพิ่งทราบในบันทึกนี้ว่า ยาสมุนไพรที่ใข้คือ...ยาบอระเพ็ด..

การได้รับข้อมูลจากบันทึกนี้เพื่อ ..รู้เท่าทันจริงๆ   ..   ยาจากธรรมชาติ ที่บรรพชนได้คิดค้นและใช้กันมา และได้ใช้กับผู้ป่วยแล้ว สังเกตุและบันทึกว่าเห็นผลในการรักษา ควรได้รับการนำเข้ามาบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ  ผู้ป่วยจะได้นำมาใช้และมีิสิทธิเบิกจ่ายได้  ..แต่รพ. ชุมชนยังมีทางออกอยู่บ้างนะค่ะ  ...รอลุ้นให้มีการใช้กว้างขวางขึ้น จะได้ช่วยลดความเสียหายจากโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก....ขอบคุณค่ะ 

จริงๆ แล้ว ผมคิดว่า   ต้องใช้มากกว่า บอระเพ็ด  ตัวเดียว   

การจะแนะนำให้ใช้มากกว่า บอระเพ็ด  หรือ ตัวอื่น ก็เป็นประเด็นสังคมไปเสียแล้ว  เช่น วงการแพทย์ ยอมรับ  หรือไม่  กระทรวงสาธารณสุข ยอมรับ หรือไม่

หรือ ระบุ ชื่อยาอื่นๆ   จะหายากเกินไปสำหรับ ประชาชน หรือไม่  เช่น ยา ตำรับ จันทน์ลีลา   ยาตำรับ ห้าราก

ในนาทีนี้ จึง แนะนำ ตัวนี้ แต่ก็มีความไม่แน่นอน  ไม่เท่ากัน ของ ยาที่มีขาย

นอกจากนี้  การเลือกใช้ยา มากกว่า หนึ่งตัว ขึ้นกับ ความรุนแรง ของโรค      

โรคเบา    ผู้ป่วยไม่มีความเสี่ยง รุนแรงอื่น   ก็ใช้ยาน้อย

โรคหนัก ผู้ป่วยมีความเสี่ยง  ก็ใช้สมุนไพร หลายรายการเพิ่มขึ้น

แต่บางครั้งผป. และญาติ ที่กังวลมาก ก็อยากทานยามาก  หลายขนานเพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน  แต่หาซื้อไม่ได้ ก็จะกลายเป็น ความกังวล   หรือแม้แต่ อาจจะไปตอแย ถามหา กับแพทย์ท่านอื่นที่ดูแลว่า  อยากลองใช้ ช่วยสั่งจ่าย

หากแพทย์ไม่ได้มีความสนใจ และ เคยใช้ยา ก็คงจะอึดอัดกันใจ กับญาติ และ ผป  กันเสียเปล่าๆ


ก็ลองติดตาม  และ หาประสบการณ์กันไป     มีครูต้อยติ่ง ท่านใช้ใบรางจืด กับลูกชาย ที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกมาแล้ว บอกว่าดี



เรียนถาม..มาณ..ที่นี้...รพ. อภัยภูเบศ ปราจีนบุรี..มีชื่อในการผลิตยาสมุนไพร..และ..มีหมอ..ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการ..และวิจัย...ทำไมจึง..ไม่แพร่หลายหรือยอมรับกันในวงการแพทย์แผนปัจจุบัน...(ใน ทิเบต..ท่านดาไลลามะให้ทุนสนับสนุน..การเรียนแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่หรือหลังจบการศึกษาด้านแผนโบราณ..เมืองไทยน่าจะหันมามองดูบ้าง..นะเจ้าคะ..)ยายธี

ผมไม่แน่ใจ สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่   อภัยภูเบศ มีชื่อเสียง คือผอ.รพ  สนับสนุน เภสัชกร ผลิตยาสมุนไพร   ส่วนแพทย์ใน รพ.ปราจีน  สนใจใช้สมุนไพรจริง ยัง มีน้อยครับ  


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท