ทบทวนประวัติศาสตร์ จะมีประโยชน์พอเพียง กระตุ้นจิตใจ ให้มีพลังและความหวัง หรือไม่


  ว่าด้วย โรงเรียนแพทย์   เมื่อเริ่มตั้ง  ของประเทศไทย  จดหมายประวัติศาสตร์ 


โรงเรียนแพทยากรเปิดประกาศรับสมัครนักเรียนเข้าฝึกหัดวิชาแพทย์แผนปัจจุบันในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2432 เริ่มเปิดสอนในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2433 การสอนในช่วงแรกในชั้นปีที่ 1 และ 2 การเรียนมีเฉพาะวิชาการแพทย์แผนตะวันตก พอถึงชั้นปีที่ 3 (พ.ศ.2435) จึงเพิ่มวิชาการแพทย์ไทยโดยกรมพยาบาลได้จัดหม่อมเจ้าเจียก ทินกร เจ้ากรมแพทย์สำนักพระราชวังหลวงเป็นอาจารย์สอน (จรัญพัฒน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, บรรณาธิการ, 2482)

  เกี่ยวกับการสอนวิชาแพทย์ไทยเพิ่มเข้าไปนั้น เกิดเนื่องจากพระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มีถึงกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เมื่อคราวที่กรมหมื่นดำรงราชานุภาพมีหนังสือกราบบังคมทูลถึงการรับสมัครนักเรียนแพทย์ซึ่งต้องทำสัญญารับทุนกับกรมพยาบาลและขอพระราชทานตั้งเงินเดือนนักเรียนและค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ด เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2433 พระองค์ได้เตือนให้เห็นถึงความสำคัญของการแพทย์ไทยไว้ดังนี้

      “อนุญาต แต่ขอเตือนว่า หมอฝรั่งนั้นดีจริง แต่ควรให้ยาไทยสูญฤาหาไม่ หมอไทย

จะควรไม่ให้มีต่อไปภายน่า หฤาควรจะมีไว้บ้าง   

     ถ้าว่าส่วนตัวฉันเอง ยังสมัครกินยาไทย แลยังวางใจหฤาอุ่นใจหมอไทยมาก

     ถ้าหมอไทยจะรักษาอย่างฝรั่งหมด ดูเยือกเยนเหมือนเหนอื่น ไม่เหนพระเหนสงฆ์

เลยเหมือนกัน 

     แต่ตัวฉันก็อายุมากแล้ว เหนจะไม่ได้อยู่ไปจนหมอไทยหมดดอก  คนภายน่าจะ

พอใจอย่างฝรั่งกันทั่วไป จะไม่เดือดร้อนเช่นฉันดอกกระมัง เปนแต่ลองเตือนดูตามหัว

เก่า ๆ ที่หนึ่งเท่านั้น”


  พระราชหัตถเลขาดังกล่าว ทำให้มีการบรรจุวิชาแพทย์ไทยลงในหลักสูตรแพทย์ ดังจดหมายกราบบังคมทูลของกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ความตอนหนึ่งว่า

 

  ด้วยข้าพเจ้าได้รับพระราชทาน พระหัตถเลขา  ร. ที่ ๘๑ /๑๐๙  ลงวันที่ ๑๘ พฤสจิกายน     พระราชทานกระแสพระราชดำริห์  ทั้งการสอนวิชาแพทย์อย่างไทย แลอย่างฝรั่ง ในโรงเรียนแพทยากร  นับเป็นพระเดชพระคุณ เป็นล้นพ้น อย่างหาที่สุดมิได้

     การสอนวิชาในโรงเรียนแพทยากรนี้  ข้าพระพุทธเจ้าได้ตั้งใจ แลคิดด้วยเกล้าฯ ว่า 

  จะให้ฝึกสอนทั้งวิธีฝรั่งและยาไทย เลือกแต่ที่ดีทั้ง   ๒ ฝ่าย มาประสมกัน คือ ฝึกสอนให้นักเรียนรู้ลักษณะร่างกาย การฝึกสอน การผ่าตัดแลเย็บบาดแผล  แลการแยกธาตุ ตรวจสรรพคุณยา โดยวิธีเคมมิสตรี เป็นต้น วิชาฝรั่งเหล่านี้คิดด้วยเกล้าว่าฯ จะฝึกสอน  ส่วนวิธีไทย คือ สรรพยาและวิธีพยาบาลเป็นต้น ก็จะฝึกสอน และคิดบำรุงให้เจริญขึ้นเต็มกำลัง

     การที่ฝึกสอนอยู่เดี๋ยวนี้ ก็อยู่ในทางนี้  มิได้ยอมให้ทิ้ง วิธีไทย    ข้าพระพุทธเจ้าตั้งใจ จะจัดการ โรงเรียนวิชาแพทย์ สนองพระเดชพระคุณโดยเต็มกำลังให้เจริญ เป็นแบบแผนสืบไปจงได้


ควรมิควรแล้วแต่จะทรงโปรดเกล้า

ข้าพระพุทะเจ้า  ดำรงราชนุภาพ   ขอเดชะ




แต่ดูเหมือน  เราเลิก สอนไปนาน  จนผสมผสามเข้ามาใหม่ ไม่ได้  ส่วนหนึ่งเนื้อหาวิชาแพทย์สมัยใหม่ก็มาก  จนไม่มีเวลา ที่จะเพิ่มการสอน หรือตัดวิชาอื่นออก

ส่วนใน หลักสูตรการแพทย์แผนไทย ในมหาวิทยาลัยต่างๆ  ก็สอนให้ใช้ยาไทย  จะใช้ยาฝรั่งง่ายๆ ดีๆ ราคาถูกก็ไม่ได้  ก็เป็นข้อจำกัด เสียอีก

ยกตัวอย่าง ผป. รักษา กับแพทย์แผนปัจจุบัน  แพทย์จะสั่งยายาสมัยใหม่ ให้น้ำเกลือ  และ ให้สมุนไพรได้ด้วย

หากรักษา กับแพทย์แผนไทย  จะฉีดยาอื่นไม่ได้ สั่งให้น้ำเกลือไม่ได้  ได้แต่ให้ยาสมุนไพร


หากผป. ไข้เลือดออก  สนใจรักษา กับแพทย์แผนไทย เมื่อถึงจุดที่อาการทรุดมาก อาจจะให้ น้ำเกลือ  แพทย์แผนไทย จะต้องส่งต่อผป.ไปยัง  รพ.อื่น หรือ ให้แพทย์แผนปัจจุบันดูแลต่อ   ก็เป็นข้อจำกัดของแพทย์


เรื่อง การสอนผสมผสานกัน ทั้สองแผน ได้เรื่องได้ราว อย่างในอดีต จึงยากเย็น ในระบบของประเทศไทย

ในจีน ปัจจุบัน สามารถผสมผสานสอนทั้งสองแผนได้ดี    แต่ก็ยังมีหลักสูตรแพทย์จีนเฉพาะโดยตรง  ไว้สอน นศ จากต่างประเทศ    


ส่วนในประเทศไทย เท่าที่ทราบ  มีอาจารย์กลุ่มสถาบัน  การศึกษาแพทยืแผนไทย กำลังจะจัดทำหลักสูตร แพทย์แผนไทยผสมผสาน 6 ปี  ไม่รู้ว่า ตั้งใจ จะให้ใช้ยาฝรั่ง ได้เพียงใด     ส่วนตัวอยากให้สามารถสั่งจ่ายได้ระดับหนึ่ง

ตามข้อตกลง ภายในสถาบัน นั้นๆ    ดีกว่าห้ามหมด หรือ  เปิดให้สั่งจ่ายยาฝรั่งอิสระหมด    เรื่องนี้ยังต้องถกเถียงกันอีกนานครับ


ผู้เรียนรู้รุ่นหลัง


คำสำคัญ (Tags): #แพทยากร
หมายเลขบันทึก: 539991เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2013 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2013 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท