หากเป็นวิถีพุทธ การเยียวยาผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตวิญญาณนั้น ต้องให้ละชั่วก่อน ค่อยทำความดีให้ถึงพร้อม
ละชั่วก็คือละ ไม่ใช่ลดหรือทำให้น้อยลง แต่ให้หยุดทำเลย โดยเฉพาะ (๑)การเบียดเบียน(๒) การอยากได้(๓)การหมกมุ่นในราคะ(๔)การพูดปด เพ้อเจ้อ หยาบคาย (๕) การข้องเกี่ยวกับของมึนเมา
และยิ่งหากช่วยเด็กๆ ต้องช่วยสนับสนุนให้เขาปฏิบัติได้
ไม่ใช่พูดท่องได้ แต่ทำไม่ได้ ... มันก็ไร้ค่า
การปกป้องเด็ก คือ การปกป้องเขาไม่ให้ทำชั่ว
ไม่ใช่ปกป้องเขาจากคนที่ห้ามเขาทำชั่ว
สนับสนุนเด็กในทางที่ถูกต้อง อย่างเป็นสัมมาทิฐิ เพราะไม่อย่างนั้นเราจะเสียเด็กเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนให้กับโรคทางจิตวิญญาณ (ป่วยทางจิตใจซึ่งตกเป็นทาสของกิเลส อนุสัยกิเลส และอาสวะกิเลส)...
...
๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๖
จะกลบเกลื่อนไม่ได้หรอกว่า ไม่รับรู้ในพฤติกรรมที่ไม่ดีของเขา เพราะเมื่อคนเรามาสัมพันธ์กันแล้ว สิ่งที่พึงหยิบยื่นให้แก่กันคือ ความดีงามอันเป็นพุทธะ ...
ทั้งเราและเขา "ใจ" ควรจะเจริญขึ้น
ภายใต้ความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่เหตุบังเอิญ... บุคคลที่อยู่ตรงหน้าเราคือ คนที่มีความหมาย เมื่อเห็นเขากำลังจมลงไป เราพึงยื่นมือไปช่วย ถึงจะเรียกว่า เมตตาและกรุณา...
เรื่องนี้เป็นบทเรียนอีกหนึ่งบทเรียนที่ถอดออกมา...เพื่อนำไปสู่การได้ใคร่ครวญ
กว่าจะตกผลึกเรื่องนี้ได้ก็ผ่านมาถึงสองปี...
และเข้มข้นอีกหนึ่งเดือนหลังจากจบ case ถามว่าเสียดาย case นี้ไหม...ก็รู้สึกเสียดาย หากทุกคนตระหนักรู้และมองไปให้ไกลอย่างลึกซึ้ง ปราศจากอคติ และเชื่อมั่นในศีลแห่งคุณงามความดี เด็กคนนี้ก็พอมีโอกาส
ทำให้นึกถึง...เด็กกำลังถูกบ่งหนองออก แต่มีคนมาอุ้มเด็กออกไปหาว่าเด็กถูกทำร้าย
แล้วเด็กก็ไม่ได้รับการรักษาที่เหตุ ประคองแต่ปลายเหตุไป
สิ่งที่ข้าพเจ้าทำได้คือ วางลง...
คงเป็นบทเรียนที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เรื่อง อุเบกขาที่ละเอียดซับซ้อนขึ้น
...
๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๖
มาให้กำลังใจผู้เพาะบ่มและผู้ถูกบ่มเพาะที่น่ารักค่ะ
อ่านแล้วชื่นชมความเข้มแข็งที่อ่อนโยนของแม่ชีกะปุ๋มมากๆค่ะ ทุกคนมีกรรมของตนเองนะคะ ทหน้าที่ที่ควรทำแล้วก็ต้องปล่อยวาง
ภ