เรียนรู้จากชีวิตของ บุรุษแห่งศตวรรษที่ 21 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ โดย Walter Isaacson


ผมอ่านหนังสือชีวประวัติของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่เขียนโดย Walter Isaacson ที่โด่งดัง ผมเคยอ่านอัตชีวประวัติของ สตีฟ จอบส์ ที่เขียนโดยผู้แต่งท่านเดียวกันนี้ และเขียนบันทึกตีความไว้ที่นี่ครับ  เล่มนั้นผมอ่านจบโดยใช้เวลาไม่นาน แต่เล่มนี้ผมใช้เวลาประมาณเกือบ 1 เดือน (เวลาคือปัญหาจริงๆ)  

ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความสุขและความทุกข์ ความสุขเกิดขึ้นระหว่างที่ได้เรียนรู้ความจริงของธรรมชาติ และรู้ว่า ความจริงแล้ว แม้แต่อัจฉริยะบุคคลอย่างไอน์สไตน์ ก็มีลักษณะบางอย่างที่ผมเองก็คิดว่าเป็นข้อบกพร่องของตนเอง แต่ที่ทุกข์เพราะบางเผลอจมเข้าในเนื้อหาที่แสนเศร้าสลดที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมาได้อย่างเห็นภาพและระทึกอยู่ตลอดเล่มเทียว  ผมอยากเก็บประเด็นหรือตีความเพื่อแลกเปลี่ยนกับทุกท่านที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ในประเด็นต่อไปนี้ครับ

  • อุปนิสัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เขาค้นพบ ทฤษฎีพลิกโลกพลิกจักรวาล อย่างทฤษฎี สัมพัทธภาพ คือ "นิสัยขบถ" ขบถต่อความเชื่อ ขบถต่อกระแสของสังคม 
  • ความสามารถที่โดดเด่นที่สุดของไอน์สไตน์ ที่เหนือกว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ คือ เขาสามารถจินตนาการเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติจริงๆ กับสมการทางคณิตศาสตร์  พูดง่ายๆ คือ เขาสามารถ มองสมการทางคณิตศาสตร์เป็นภาพที่สะท้อนความจริงในธรรมชาติได้ หรือพูดให้ง่ายกว่านั้นคือ "เขาคิดเป็นภาพเก่งแบบสุดๆ"
  • ไม้ตายของไอน์สไตน์ คือ การทำการทดลองในจินตนาการของตนเอง หรือพูดให้ง่ายคือ การห้องเลปในจินตนาการ
  • ตอนแรก ไอน์สไตน์มีความเห็นว่า คณิตศาสตร์ไม่ค่อยสำคัญ แต่ตอนหลัง กลับกลายเป็นว่า ความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเขาไม่เพียงพอต่อการ สร้างทฤษฎีสนามพลัง หรือแม้แต่ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ที่เขาได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนชื่อ กรอสแมนท์
  • ความเข้าใจที่ว่า ไอน์สไตน์ เคยสอบตกวิชาคณิตศาสตร์นั้นไม่ใช่เรื่องจริง และที่กล่าวกันว่า เขาคิดทฤษฎีสัมพัทธภาพิเศษได้ จากการเห็นคนตกตึก ก็ไม่เป็นความจริง แต่เขาสร้างจินตนาการเกี่ยวกับคนตกตึก แล้วเกิด "ปิ๊งแว๊บ" หลักแห่งความสมมูลขึ้น
  • ไอน์สไตน์ มีภรรยาคนแรกชื่อ มาริช เป็นภรรยาที่พ่อและแม่เข้าไม่ชอบเลย ถึงขั้นพยายามขัดขวางการแต่งงานทีเดียว  ที่น่าสนใจคือ ต่อมาเขาก็ไม่ชอบภรรยาของ ฮัล อันเบิร์ต ลูกชายคนแรกของเขา ถึงขั้นขัดขวางการแต่งงานเช่นกัน ..... อาจเป็น "กงกรรม กงเกวียน"
  • หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมเข้าใจธรรมชาติของคน "หัวขวา" มากขึ้นมาก คือคนที่ใช้สมองด้านขวา เก่งเรื่องจินตนาการ จะไม่ค่อยใส่ใจในรายละเอียดของความสุขสบายในชีวิตมากนัก สมถะ สันโดด จมอยู่กับจินตนาการและความคิดของตนเอง รักอิสระ แม้จะมีนิสัย "ขบถ" แต่ก็ อ่อนไหว ไปกับอารมณ์ความรู้สึกได้ง่าย ขี้ลืม เช่น ครั้งหนึ่งไอน์สไตน์ ไปซื้อของแต่ลืมกระเป๋าตังค์  ครั้งหนึ่งไปฟังบรรยายแต่เขาขอยืมดินสอจากคนที่นั่งข้างๆ (อันนี้แม้ผมจะมักเป็นแบบนี้ แต่ผมก็จะพยายามปรับตัวนะครับ...ฮา)
  • ผมคิดว่า ไอน์สไตน์ เป็นอัจฉริยะ เพราะเขามี "พลังสมาธิ" สูงมาก อาจเป็นเพราะการทำตนให้มี ฉันทะ กับสิ่งที่ทำเสมอ คือทำตนเองให้มีความสุข ผ่อนคลาย กับเรื่องที่เขาทำเสมอ การเล่นโดนตรีคลาสสิกด้วยไวโอลินที่เขาถนัด น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งของ "พลัง" ซึ่ง่ใช้ในการ "จินตนาการ" และ เป็นเหตุของการ "หยั่งรู้"
  • ไอน์สไตน์ เป็นนักสันติวิธี ในตอนแรก ตอนหลังเขาเห็นด้วยที่จะมีสิ่งที่เราเรียกว่า "ตำรวจโลก" เพื่อสร้างสันติ....คิดถึง โจโฉ รวมแผ่นดินจีนในสามก๊ก ...ฮา
  • อ่านแล้ว ผมมีข้อสงสัยว่า ทำไม ฮิตเลอร์ สตาริน มุโสรินี ทำใมคนเยอร์มัน ถึงได้เกลียดคนเชื้อสาย "ยิว" มากนัก ... คงต้องหาคำตอบต่อไปครับ
  • ไอน์สไตน์ มีความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า.... แต่เขาเชื่อในมุมมองที่ต่างจากคนนับถือศาสนาทั่วไป  มีคนถามเขาว่า เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ เขาตอบว่า เชื่อ เพราะเขายังไม่สามารถเข้าใจสิ่งลี้ลับที่เขาเห็นว่ามีในธรรมชาติได้ด้วยเหตุผล เขาไม่เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าประเภทที่มาเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมมนุษย์ 
  • เขาเป็นคนสำคัญที่พัฒนาทฤษฏีฟิสิกส์ยุคใหม่ (Modern Physics) ทั้ง 2 ที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบันคือ ควอนตัมฟิสิกส์ และ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ  แต่ตัวเขาเองก็ยังไม่ยอมรับว่า ทฤษฎีควอนตัมสมบูรณ์
  • เขาใช้เวลาทั้งชีวิตในการค้นหาทฤษฎีหนึ่งเดียวที่สมบูรณ์ ที่เขาเรียกว่าทฤษฎีสนามรวม (Grand Unified Field Theory) แต่ยังไม่สำเร็จ
  • หากไม่มีสงคราว เขาอาจทำสำเร็จ เพราะสงคราม ทำให้ไอน์สไตน์ ต้องเสียเวลาไปกับการเมือง มากทีเดียว
  • ฯลฯ

ให้ผมเขียนตีความ คงไม่จบง่ายๆ เพราะผมประทับหลายอย่างในหนังสือเล่มนี้จริงๆ อยากเชิญให้นิสิตทุกคนที่เรียนวิชาฟิสิกส์ 1 อ่านหนังสือเล่มนี้ให้จบ แล้วมาตีความกันดูจะสนุกกว่า


หมายเลขบันทึก: 538226เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 02:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 02:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)


การได้อ่านหนังสือที่ดีมีคุณค่า...สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้อย่างยอดเยี่ยมนะคะ

สุดยอดเลยครับอาจารย์  ผมได้ความรู้ และconcept จากหนังสือเล่มนี้ที่ไม่เคยทราบมาก่อนเยอะเลยครับ  ต้องติดตาม อ่านทุกเรื่องย้อนหลัง ที่อาจารย์ได้บันทึกไว้

เป็นหนังสือที่น่าสนใจมาก

คิดว่า เขาเป็นคนที่มีจินตนาการมาก แถมมีความเพียรสูงครับ

พลังสมาธิสำคัญจริงๆ นะครับ

อ่านจบแล้วรู้สึกว่าตอนเองกำลังจะเป็น Scientist


 

ขอบคุณท่านอาจารย์ที่แนะนำหนังสือดีดี ครับ

ผมขออนุญาตวิเคราะห์ต่อจากบทความของท่านอาจารย์น่ะครับ จากการที่ได้ศึกษาประวัติของไอสไตน์ ก็ทราบมาว่า เขาไม่ได้เข้าโรงเรียนเรียนเองที่บ้าน (non-formal education) เลยคิดว่า การที่เขามีทักษะการใช้จินตนาการในการสร้างทฤษฎี อาจเป็นเพราะประสบการณ์ที่ได้เห็น และได้เรียนรู้ในวัยเด็ก ประจวบกับการที่ได้เรียนรู้ตามความชอบของตนเองที่บ้าน  จึงเป้นที่น่าสนใจ ว่าคนเก่ง ที่มาถูกทาง มีความสามารถหลายคน ไม่ได้สำเร็จการศึกษาในสถานศึกษา  หรืออาจจะเป็นเพราะว่า เขาเหล่านั้นได้เรียนรู้แบบ Creative-based learning โดยไม่รู้ตัว กันแน่

ผมเคยอื่นหนังสือ ไอสไตน์ พบ พระพุทธเจ้าเห็น ของนักเขียนท่านหนึ่งขออภัยที่จำไม่ได้ ก็พบว่า บุคคลทั้ง 2 ท่านน่าจะมีการเกี่ยวโยงกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท