การประชุมการพัฒนายุทธศาสตร์การทำงานด้านสัญชาติ สำหรับผู้มีปัญหาสถานะบุคคล ของสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


       

วันอังคารที่ 30 เมษายน 2556 ที่ ห้องวิกตอรี่ โรงแรมวิก 3

การจัดประชุมครั้งนี้จัดโดย สสส. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

      1.  ทบทวนความเข้าใจในสถานการณ์ที่ตรงกัน

       2.  กำหนดเป้าหมายการทำงานร่วมกัน

       3.  พิจารณากลไกและบทบาทในการทำงานร่วมกัน

       4.  พิจารณากลยุทธ์ในการเคลื่อนกระบวนการทำงานร่วมกัน

             สิ่งแรกคือต้องมีการนิยามคำว่าสถานะบุคคลเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน  จะได้กำหนดเป้าหมายและแก้ไข้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

สถานการณ์ปัญหา

        1.  กลุ่มชาติพันธุ์ ครม.มีมติให้อาศัยอยู่560,000คน (มีหลักเกณฑ์กำหนดสถานะบุคคล)

        2.  กลุ่มที่อ้างว่าเป็นญาติพี่น้องกับคนกลุ่มแรกซึ่งได้รับการสำรวจเมื่อปี 2549 มีจำนวน 120,000คนให้อาศัยอยู่ชั่วคราว

        3.  กลุ่มชาติพันธุ์ที่ตกสำรวจ

นอกจากนี้มีการจำแนกเป็นประเภทคือ

        1.  ประเภทที่เข้ามาอาศัยอยู่มานาน(ชนกลุ่มน้อย) 500,000 คน

         2.  นักเรียนในสถานศึกษา64,000คน

          3.  คนไร้รากเหง้า 30,000 คน

          4.  ทำคุณประโยชน์33คน

สาเหตุปัญหา

                สาเหตุปัญหา ไม่ได้อยู่ที่กฎหมายแต่อยู่ที่ทางปฏิบัติ จึงต้องมีการสร้างจิตสำนึกให้มีความรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ซึ้งเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้ร่างคิดต่างจากผู้บังคับใช้

กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ร่วม และแนวทางในการทำงานร่วมกัน

                 ประเด็นยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์

            1.  ผลักดันกฎหมายและนโยบายที่เอื้อต่อการรับรองสถานะบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นใครที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเบื่อแรกต้องทำให้ชอบด้วยกฎหมาย

             2.  การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐที่เอื้อต่อการเข้าถึงสิทธิสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มผู้มีปัญหาสถานะบุคคล และหน่อยงานที่เกี่ยวข้อง

             3.  การพัฒนาผู้นำและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มผู้มีปัญหาสถานะบุคคล  ผู้นำที่มีความสามารถและรัฐและ สาธารณะชนการซึ่งสามารถสื่อสารปัญหาและความต้องการไปยังหน่วยงานรวมกลุ่มที่เข้มแข็งของผู้มีปัญหาสถานะบุคคลรวมและ เป็นกลไกในการทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้มีปัญหาสถานะบุคคลได้

              4.  การพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรพัฒนาเอกชนเนื่องจากองค์กรเหล่านี้เป็นตัวประสานระหว่างผู้มีปัญหาสถานะบุคคล และหน่วยงานต่างๆ

              5.  การศึกษาวิจัยและจัดการความรู้

              6.  การสื่อสารสาธารณะเพื่อให้สาธารณะชนรับรู้และเข้าใจถึงสภาพปัญหา และมีทัศนะคติที่ดีกับคนกลุ่มนี้

              7.  การสนับสนุนกองทุนผู้มีปัญหาสถานะ เพื่อเป็นเงินทุนในการดำเนินงาน

                     การทำงานจะแบ่งออกเป็นเรื่องๆ เช่น เรื่องกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติ กลุ่มโครงการเด็ก กลุ่มโครงการคนที่มี work permit แต่ละโครงการจะมีผู้รับผิดชอบโครงการ โดยมีผู้จัดการกลางคอยประสานงาน และมีการสนับสนุนทางด้านนโยบาย และสนับสนุนทางด้านวิชาการ

                      มีการเสนอว่าควรจะจัดการกับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนก่อน คือ กลุ่มเด็ก กลุ่มคนชรา และคนพิการ เพราะเพียงแค่พิสูจน์ความเป็นมนุษย์ และอายุ หรือความพิการ ไม่ต้องพิจารณาเรื่องอื่น

หมายเลขบันทึก: 534403เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2013 01:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2013 01:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"  มีการเสนอว่าควรจะจัดการกับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนก่อน คือ กลุ่มเด็ก กลุ่มคนชรา และคนพิการ เพราะเพียงแค่พิสูจน์ความเป็นมนุษย์ และอายุ หรือความพิการ ไม่ต้องพิจารณาเรื่องอื่น"

คนชาบขอบได้รับการดูแล   สสส.ให็ดอกาส

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท