ยาเสพติด เป็นภัยต่อชีวิต เป็นพิษต่อสังคม ประชาชนอ่อนแอ ประเทศชาติย่อยยับ


                                   บทความเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ประจำปี ๒๕๕๕

                     “ยาเสพติด เป็นภัยต่อชีวิต เป็นพิษต่อสังคม ประชาชนอ่อนแอ ประเทศชาติย่อยยับ”

                                                              --------------------------------

                                                                                                                     ถวิล  อรัญเวศ

                                                                                                      รอง ผอ.สพท.ชำนาญการพิเศษ

                                                                                                              สพป.นครราชสีมา เขต ๔

ความเป็นมา

             ปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะยาม้า หรือยาบ้า ฝิ่น เฮโรอิน ฯลฯ ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญและรัฐบาลแต่ละสมัยได้ถือเป็นนโยบายในการที่จะป้องกันแก้ไขหรือเอาชนะมาโดยตลอด แม้กระทั่งในระดับโลกก็เช่นกัน ชาวโลกถือว่ายาเสพติดเป็นมหันตภัยต่อประชาคมชาวโลก จะเห็นได้จากเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ องค์การสหประชาชาติได้ได้ประกาศให้วันที่ ๒๖ มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติด จึงว่า ๒๖ มิถุนายน เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลกตั้งแต่นั้นมา

  สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีเมื่อ ปี ๒๕๓๑ ได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๑ ให้วันที่ ๒๖ มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดตั้งแต่นั้นมา

ความหมายของยาเสพติด

                ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสารที่สังเคราะห์ขึ้นเมือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลายๆ ครั้ง

 ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการและอาการแสดงต่อผู้เสพ ดังนี้

 ๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในปริมาณมากขึ้น
 ๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
 ๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
 ๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

ความหมายโดยทั่วไป

                ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆ เป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม จะทำให้

 ๑. บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว
 ๒. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ หรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง
 ๓. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ

ความหมายตามกฎหมาย

             ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยา เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวมถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมี ที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่ได้หมายความถึงยาสำคัญประจำบ้านบางตำรับตามที่กฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอย

  ประวัติยาเสพติด  ในประเทศไทย ยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาของชาติอยู่ในขณะนี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างไรเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน  ยาเสพติดบางชนิดก็ให้ทั้งคุณประโยชน์และโทษ บางชนิดก็มีแต่โทษภัยเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมียาเสพติดชนิดต่าง ๆ ในท้องตลาดมากกว่า ๑๒๐ ชนิด อย่างไรก็ตามยาเสพติดชนิดแรกที่คนไทยรู้จักก็คือ


 ฝิ่น

                 ฝิ่นเข้ามาในประเทศไทยในสมัยใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด เท่าที่มีหลักฐานครั้งแรกเป็นประกาศใช้กฎหมายลักษณะโจร ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๓ หรือ ประมาณ ๖๐๐ กว่าปีล่วงมาแล้ว ตามกฎหมายฉบับนี้ ได้บัญญัติการห้ามซื้อ ขาย เสพฝิ่นไว้ว่า  "ผู้สูบฝิ่น กินฝิ่น ขายฝิ่นนั้น  ให้ลงพระราชอาญาจงหนักหนา ริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง ทเวนบกสามวัน ทเวนเรือสามวัน  ให้จำใส่คุกไว้จนกว่าจะอดได้ ถ้าอดได้แล้วเรียกเอาทานบนแก่มันญาติพี่น้องไว้แล้วจึงให้ปล่อยผู้สูบขายกินฝิ่นออกจากโทษ" แม้ว่าบทลงโทษจะสูง  แต่การลักลอกซื้อขายและเสพฝิ่น ก็ยังมีต่อมาโดยตลอด กฎหมายคงใช้ได้แต่ในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ส่วนหัวเมือง และ เมืองขึ้นที่ห่างพระเนตรพระกรรณไม่มีการเข้มงวดกวดขัน ซึ่งปรากฏว่า ผู้ครองเมืองบางแห่งก็ติดฝิ่นและผูกขาดการจำหน่ายฝิ่นเสียเองด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ปัญหาการขายฝิ่น เสพฝิ่น จึงเลิกไม่ได้ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา


                ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแจกกฎหมายป่าวร้องห้ามปรามผู้ขายผู้สูบฝิ่นแต่ก็ยังไม่มีผล ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์จึงได้ทรงตราพระราชกำหนดโทษให้สูงขึ้นไปอีกโดย "ห้ามอย่าให้ผู้ใดสูบฝิ่น กินฝิ่น ซื้อฝิ่นขายฝิ่น และเป็นผู้สมซื้อสมขายเป็นอันขาดทีเดียว ถ้ามิฟังจับได้ และมีผู้ร้องฟ้องพิจารณาเป็นสัจจะให้ลงพระอาญา  เฆี่ยน ๓ ยก  ทเวนบก ๓ วัน  ทเวนเรือ ๓ วัน  ริบราชบาทว์ บุตรภรรยา  และ ทรัพย์สิ่งของให้สิ้นเชิง ให้ส่งตัวไปตะพุ่นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมิได้เอาความมาว่ากล่าวจะให้ลงพระอาญาเฆี่ยน ๖๐ ที "

             ในรัชกาลที่ ๓ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่ตรงกับสมัยที่ประเทศอังกฤษนำฝิ่นจากอินเดียไปบังคับขายให้จีนทำให้มีคนจีนติดฝิ่นเพิ่มขึ้นและในช่วงเวลานั้น ตรงกับระยะที่คนจีนเข้ามาค้าขายในเมืองไทยมากขึ้นจึงเป็นการนำการใช้ฝิ่นและผู้ติดฝิ่นเข้ามาในเมืองไทยตลอดจนมีการลักลอบนำฝิ่นเข้ามาในเมืองไทยด้วยเรือสินค้าต่าง ๆ  มาก จึงเป็นเหตุให้การเสพฝิ่นระบาดยิ่งขึ้น พระองค์จึงได้ทรงมีบัญชาให้มีการปราบปรามอย่างเข้มงวดกวดขันในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ ทำให้การค้าฝิ่น และสิ่งอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายเข้าไปอยู่ในมือของกลุ่มอั้งยี่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ และหัวเมืองชายทะเล สร้างความวุ่นวายจากการทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มอั้งยี่ต่าง ๆจนต้องทำให้ทหารปราบปราม



              ในสมัยรัชกาลที่ ๔  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าการปราบปรามไม่สามารถขจัดปัญหาการสูบและขายฝิ่นได้และก่อให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายขึ้นจึงทรงเปลี่ยนนโยบายใหม่ ยอมให้คนจีนเสพและขายฝิ่นได้ตามกฎหมาย แต่ต้องเสียภาษีผูกขาดมีนายภาษีเป็นผู้ดำเนินการ ปรากฏว่าภาษีฝิ่นทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยมาก ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรวบรวมไว้ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ใน "ตำนานภาษีฝิ่น"  ว่าภาษีที่ได้นั้นประมาณว่าถึงปีละ ๔ แสนบาท  สูงเป็นอันดับที่ ๕ ของรายได้ประเภทต่าง ๆ และได้มีความพยายามห้ามคนไทยไม่ให้เสพฝิ่นแต่ก็ไม่ได้ผลเต็มที่  ใน พ.ศ. ๒๕๐๑ คณะปฏิวัติซึ่งปกครองประเทศไทยอยู่ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่าการเสพฝิ่นเป็นที่รังเกียจในวงการสังคมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพและอนามัยอย่างร้ายแรง ประเทศต่าง ๆ ได้พยายามเลิกการเสพฝิ่นโดยเด็ดขาดแล้วจึงเห็นเป็นการสมควรให้เลิกการเสพฝิ่น และจำหน่ายฝิ่นในประเทศไทย  จึงมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๗  ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๐๑ ให้เลิกการเสพฝิ่นและจำหน่ายทั่วราชอาณาจักรและกำหนดดำเนินการให้เสร็จสิ้นเด็ดขาดภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๐๒ โดยกำหนดการตามลำดับ ดังนี้

 ๑. ประกาศให้ผู้เสพฝิ่นขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เสพฝิ่นภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม  ๒๕๐๑ 

 ๒. ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๒ ห้ามมิให้ร้านฝิ่นจำหน่ายฝิ่นแก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตให้สูบฝิ่น
 ๓. ยุบเลิกร้านจำหน่ายฝิ่นภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๒
 ๔. ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันจัดตั้งสถานพยาบาล และพักฟื้นผู้อดฝิ่น
 ๕. ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ ผู้กระทำผิดฐานเสพฝิ่นหรือมูลฝิ่นได้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยฝิ่นเพิ่มโทษผู้ละเมิดให้สูงขึ้น ซึ่งได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ 
เป็นต้นมา  



             จากประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวข้างต้นเป็นอันว่านับแต่รุ่งอรุณของวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๒ การเสพ และจำหน่ายฝิ่นในประเทศไทยก็เป็นสิ่งผิดกฎหมาย นอกจากรัฐบาลจะได้จัดให้ผู้ติดฝิ่นเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูแล้วปรากฏว่าการปราบปรามก็ได้กระทำเด็ดขาดยิ่งขึ้นมีการประหารชีวิตผู้ผลิตและค้ายาเสพติด แต่ปัญหายาเสพติดไม่ได้ลดลง เพียงแต่การซื้อขายมีการดำเนินการซ่อนเร้นและมีวิธีการที่ลึกซึ้งแยบยลยิ่งขึ้น นอกจากนี้ตัวยาเสพติดได้เปลี่ยนรูปไปเป็นเฮโรอีน ซึ่งผลิตด้วยการเปลี่ยนตัวยาสำคัญในฝิ่นคือมอร์ฟีนด้วยวิธีทางเคมีเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าฝิ่นก็กลับระบาดในเมืองไทย พบครั้งแรกราวเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๐๒ เฮโรอีนได้ระบาดในหมู่ติดฝิ่นอยู่เดิมเพราะสูบได้ง่ายใช้เผาในกระดาษตะกั่วแล้วสูดไอไม่ต้องมีบ้องฝิ่น และไม่มีกลิ่นเวลาสูบ การหลบหนีกฎหมายก็ทำได้ง่ายกว่าการสูบฝิ่น ปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดที่ปรากฏอยู่ในหมู่คนไทยมีรูปแบบต่าง ๆ กันและลักษณะปัญหาแตกต่างกันออกไป ชาวไทยภูเขาที่อาศัยในภาคเหนือของประเทศไทย  ส่วนหนึ่งมีอาชีพหลักในการปลูกฝิ่น และมีจำนวนไม่น้อยที่สูบและติดฝิ่นด้วยในหมู่ชาวไทยในชนบทพื้นราบ ก็มีการสูบฝิ่น ใช้ใบกระท่อม กัญชา ยาม้าหรือยาขยันและยาแก้ปวด อยู่อย่างแพร่หลาย ปัญหาที่ร้ายแรงตามมาคือการแพร่ระบาดของการติดยาเสพติดหลายชนิดปนกันอยู่ในขณะนี้ทั้งในต่างจังหวัดและในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะ ยาม้าหรือยาบ้า ได้แพร่ระบาดเข้าในในแทบทุกชุมชน และหมู่บ้านซึ่งนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้ที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ไข 

การติดยาเสพติด

             การติดยาเสพติด พบว่ามีหลายสาเหตุ กล่าวคือ

 ๑. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ

 ๑.๑ อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไปและโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจประมาทไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นหรือถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิดเช่น เฮโรอีน แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้

 ๑.๒ ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตนในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่างๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึงถึงผลเสียหายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น

 ๑.๓ การชักชวนของคนอื่น  อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณาของผู้ขายสินค้าที่เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา  ทำให้มีจิตใจแจ่มใส  ทำให้มีสุขภาพดี  ทำให้มีสติปัญญาดี สามารถรักษาโรคได้บางชนิดเป็นต้น ผู้ที่เชื่อคำชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อนหรือเชื่อเพื่อนหรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อนจึงใช้
สิ่งเสพย์ติดนั้น



๒. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง

             ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีกซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้นๆ กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิดสังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง

ลักษณะการติดยาเสพติด

 ยาเสพติดบางชนิดก่อให้เกิดการติดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ยาเสพติดบางชนิด ก็ก่อให้เกิดการติดทางด้านจิตใจ เพียงอย่างเดียว

 ลักษณะทั่วไป

 ๑. ตาโรยขาดความกระปรี้กระเปร่า น้ำมูกไหล น้ำตาไหล ริมฝีปากเขียวคล้ำแห้ง แตก (เสพโดยการสูบ) 

 ๒. เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง พูดจาไม่สัมพันธ์กับความจริง
 ๓. บริเวณแขนตามแนวเส้นโลหิต มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีดให้เห็น
 ๔. ที่ท้องแขนมีรอยแผลเป็นโดยกรีดด้วยของมีคมตามขวาง (ติดเหล้าแห้ง ยา กล่อมประสาท ยาระงับประสาท)
 ๕. ใส่แว่นตากรองแสงเข้มเป็นประจำเพราะม่านตาขยายและเพื่อปิดนัยน์ตาสีแดงก่ำ
 ๖. มักสวมเสื้อแขนยาวปกปิดรอยฉีดยา โปรดหลีกให้พ้นจากบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว
เพราะจะทำให้ชีวิตพบแต่ความสุขสันต์ตลอดกาล

 ๗. มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยานั้นต่อไปอีกเรื่อยๆ
 ๘. มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของสิ่งเสพย์ติดให้มากขึ้นทุกขณะ
 ๙. ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพจะเกิดอาการขาดยาหรืออยากยาโดยแสดงออกมาในลักษณะอาการต่างๆ เช่น หาว อาเจียน น้ำมูกน้ำตาไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง ขาดสติ
โมโห ฉุนเฉียว ฯลฯ 

 ๑๐. สิ่งเสพย์ติดนั้นหากเสพอยู่เสมอๆ และเป็นเวลานานจะทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ   ๑๑. ทำให้ร่างกายซูบผอมมีโรคแทรกซ้อน และทำให้เกิดอาการทางโรคประสาทและจิตไม่ปกติ

  การติดยาทางกาย

 เป็นการติดยาเสพติดที่ผู้เสพมีความต้องการเสพอย่างรุนแรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพก็จะเกิดอาการผิดปกติอย่างมากทั้งทางร่างกายและทางจิตใจซึ่งเรียกว่า "อาการขาดยา" เช่น การติดฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เมื่อขาดยาจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หาว น้ำมูกน้ำตาไหล นอนไม่หลับ เจ็บปวดทั่วร่างกาย เป็นต้น

 การติดยาทางใจ

            เป็นการติดยาเสพติดเพราะจิตใจเกิดความต้องการ หรือ เกิดการติดเป็นนิสัย หากไม่ได้เสพยา
ที่ว่านั้นร่างกายก็จะไม่เกิดอาการผิดปกติ หรือ 
ทุรนทุรายแต่อย่างใด จะมีบ้างก็เพียงเกิดอาการหงุดหงิดหรือกระวนกระวายใจเท่านั้น

สังเกตอาการผู้ติดยาเสพติด

 เราจะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติดหรือไม่นั้น ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังต่อไปนี้

 ๑. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนังมีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ขยาย

 ๒. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตได้จาก เป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง พูดจา ก้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง  ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ  ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อยพบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ

 ๓. การสังเกตอาการขาดยา ดังต่อไปนี้  น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย  กระสับกระส่ายกระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด  ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง  เป็นตะคริว นอนไม่หลับ เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้ 

ประเภทของยาเสพติด

 จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท

 

๑. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีนเฮโรอีนยานอนหลับ ยาระงับประสาท

ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมา ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย

 ๒. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า  ยาอีกระท่อม  โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คน

ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น  ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้ ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน  ใช้บ่อยๆ ทำให้เกิดการเสพติด ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย

 ๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา

 ๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองเสพยาเสพติด

 ๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม

 ๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อมไปสู่ชีวิตของตนเอง

 ๕. รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล

 ๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงามจะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต

 ๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น

 ๘. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง

 การป้องกันการติดยาเสพติด

  การป้องกันการติดยาเสพติด สามารถทำได้ดังนี้

 ๑. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะติดง่ายหายยาก

 ๒. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกัน อย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้องคอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยาเสพติด หากมีผู้เสพยาเสพติดในครอบครัว ควรให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลให้หายเด็ดขาด การรักษาแต่แรกเริ่มติดยาเสพติดมีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ

 ๓. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้เพื่อนบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล

 ๔. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) และที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) สำนักนายกรัฐมนตรี

  ๕. มีคุณธรรมยึดเหนี่ยว ไม่โลภอยากได้ในสิ่งผิดกฎหมาย มีความพอเพียง ไม่อยากรวยทางลัด ไม่ใช้ยาเสพติดเป็นเครื่องทุนแรงชีวิตเพื่อให้ทำงานได้นาน แต่พึงระลึกเสมอว่า ยาเสพติด คือยาที่กระตุ้นให้ร่างกายทำงานผิดปกติ เมื่อสิ้นฤทธิ์ยา เหมือนสิ้นชีวิต

การรักษาผู้ติดยาบ้า

  ผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้าส่วนใหญ่ได้แก่ผู้ที่ทำงานในเวลากลางคืน เช่น ขับรถ ผู้ใช้แรงงาน หรือผู้ที่ต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น พนักงานขับรถโดยสารหรือรถบรรทุก ผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้หญิงที่ทำงานกลางคืน ตลอดจนนักเรียน นักศึกษาที่หักโหมในการดูหนังสือ เหตุที่เป็นคนเหล่านี้เพราะ คนเหล่านี้มักเข้าใจผิดคิดว่าหากใช้ยาม้าหรือยาบ้าแล้วจะสามารถทำงานหรือดูหนังสือได้นานมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ได้คำนึงถึงอันตรายและผลร้ายที่ตามมาภายหลัง ซึ่งได้แก่ สุขภาพจะทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะสมองถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา เมื่อยาหมดฤทธิ์จะอ่อนเพลีย เซื่องซึม เศร้าหมองและหลับนาน ถ้าใช้เกินขนาดจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  ดังนั้น การรักษาผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้าจะต้องประกอบไปด้วย

 ๑. การให้ความรู้เกี่ยวกับยาม้าหรือยาบ้าแก่ผู้เสพติดแล้ว ให้เข้าใจโดยถ่องแท้ถึงพิษของยาม้าหรือยาบ้า ที่มีต่อตัวผู้เสพติดทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อผู้เสพติดจะได้มีความกลัวต่อผลร้ายเหล่านั้น และมีความตั้งใจที่จะเลิกยาม้าหรือยาบ้าอย่างจริงจัง

 ๒. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมโดยรอบของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น ครอบครัวที่ขาดความเอาใจใส่ที่ดีพอ รวมทั้งเพื่อนฝูง หรือชุมชนโดยรอบๆ บ้านของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า ตลอดจนเพื่อนนักเรียนในโรงเรียนเดียวกัน ซึ่งต้องการการตรวจสอบหาข้อมูลอย่างจริงจัง หาข้อมูลให้ถึงแก่นแท้ของปัญหาจากสิ่งแวดล้อม และดำเนินการแก้ไขไปพร้อมๆ กับข้ออื่นๆ

  ๓. ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของผู้เสพติด และพ่อแม่ผู้ปกครองของผู้ที่ติดยาเสพติดที่จะต้องการละหรือเลิกเสพยาม้าหรือยาบ้าตลอดไปให้ได้

 ๔. ผู้เสพติดยาม้าหรือยาบ้า จะต้องไปรับการรักษาจากสถาบันทางการแพทย์ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะหายจากการเสพติดอย่างเด็ดขาด

 ๕. ความสำเร็จในการเลิกเสพติดยาม้าหรือยาบ้า ได้ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ ซึ่งนอกเหนือจากการช่วยตนเองแล้ว ท่านได้ช่วยเหลือครอบครัวของท่าน ท่านได้ช่วยเหลือสังคมโดยส่วนรวม อันหมายถึงประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรานั่นเองจะทำให้ประเทศชาติมีประชากรที่มีคุณภาพ

สรุป

                ยาเสพติด คือสิ่งที่คนเราเสพเข้าไปแล้วทำให้มีความต้องการอยากเสพอีก และเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ประการใด มีแต่จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย เป็นสิ่งที่หลอนประสาทคนที่เสพยาเสพติดให้โทษ เมื่อติดแล้วเท่ากับว่าเป็นทาสของยาเสพติดนั้นตลอดไป เมื่อตกเป็นทาสยาเสพติดแล้ว แน่นอน จะทำให้เรามีจิตใจที่ไม่ปกติ เป็นบ้าคลั่งก็มีถ้าไม่ได้เสพยานั้นตามต้องการร่างกายอ่อนเพลียเมื่อสิ้นฤทธิ์ยาเสพติด

หมายเลขบันทึก: 532914เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2013 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2013 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท