ตัวอย่างหลักธรรมาภิบาลขององค์กรชั้นนำในประเทศไทย


สำนักงานปลัด  กระทรวงการคลัง

       สํานักงานปลัดกระทรวงการคลังมีการบริหารงานในทุกกระบวนการหลักอย่างมีธรรมาภิบาล

โดยการดําเนินงานจะคํานึงถึงดุลยภาพระหว่างองค์กรผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยยึดหลัก

ธรรมาภิบาลสากล ซึ่งมีองค์ประกอบ 9 ประการได้แก่

 1. การมีส่วนร่วม(Participation)

 2. นิติธรรม (Rule of Law)

 3. ความโปร่งใส (Transparency)

 4. การตอบสนอง (Responsiveness)

 5. การมุ่งฉันทามติ (Consensus Oriented)

 6. ความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรม (Equity and Inclusiveness)

 7. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness)

 8. ภาระรับผิดชอบ (Accountability) และ

 9. วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธศาสตร์ (Strategic Vision)

       และมีการกําหนดผู้รับผิดชอบตลอดจนกลไกในการส่งเสริมและตรวจสอบดูแลธรรมาภิบาลในทุก

กระบวนการอย่างชัดเจน



การประปานครหลวง

  หลักธรรมาภิบาลหรือหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ กปน. ประกอบด้วยหลัก 6 ประการ

  1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)

หมายถึง การมีกฎ ระเบียบ ที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย มีการบังคับใช้อย่างเสมอภาค และไม่มีการเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐาน (Double Standard) มีการดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปตามกรอบของกฎ ระเบียบ และกรอบเวลาการปฏิบัติ ไม่ให้มีการใช้ไปแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ มีกรอบการปฏิบัติที่เคารพสิทธิและเสรีภาพ และมีการปรับปรุงกฎระเบียบให้ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์

2. หลักคุณธรรม (Virtue)

หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อร่วมสร้างสรรค์ให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งความซื่อสัตย์ จริงใจ อดทน มีระเบียบวินัย และประกอบอาชีพด้วยความสุจริต โดยไม่กระทำหรือไม่สนับสนุนการคอร์รัปชัน พร้อมทั้งร่วมมือกันควบคุมไม่ให้เกิดการคอร์รัปชันในองค์กร

3. หลักความโปร่งใส (Transparency)

หมายถึง การมีความโปร่งใสเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สามารถตรวจสอบได้ในทุกๆ ด้าน อาทิ การมีระบบงานที่ชัดเจน เปิดเผยได้ มีกระบวนการให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ และมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างตรงไปตรงมา ถูกต้อง โปร่งใส สอดคล้องกับเวลาและสถานการณ์

4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)

หมายถึง การกระจายโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมทางการจัดการและการบริหารที่เกี่ยวกับการให้ข้อเสนอแนะและการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรขององค์กร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน พนักงาน และเจ้าของ โดยการให้ข้อมูล การรับฟังและแสดงความคิดเห็น ให้คําแนะนําปรึกษา ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ตลอดจนการควบคุมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

5. หลักความรับผิดรับชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ (Accountability)

หมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบ การใส่ใจ การกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา การเปิดโอกาส และพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ ประเมินผลที่สะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่และจากการดำเนินงาน

6. หลักความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency& Effectiveness)

หมายถึง การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม สร้างสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้และดูแลรักษาสังคม สิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์ยั่งยืน โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน และมีองค์กรหรือบุคคลที่เป็นอิสระและเป็นที่ยอมรับของสังคมทำหน้าที่เป็นผู้ประเมิน


ธนาคารกรุงไทย

  ธนาคารได้ส่งเสริมการปฏิบัติงานด้านบรรษัทภิบาล โดยกำหนดแนวทางการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับยึดถือปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานโดยรวมของธนาคารให้เป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาลของหน่วยงานกำกับภายนอก โดยเคร่งครัดในเรื่องจริยธรรม ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังได้ขยายผลการปฏิบัติงานด้านบรรษัทภิบาล และสร้างความรู้ความเข้าใจด้านบรรษัทภิบาลเพิ่มขึ้นผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักบรรษัทภิบาลของทุกหน่วยงานของธนาคารโดยมีการประเมินจากภายนอกซึ่งเป็นการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของธนาคาร และประเมินจากภายในซึ่งเป็นการประเมินผลการจัดกิจกรรมด้านบรรษัทภิบาลของทุกหน่วยงาน

  2. จัดโครงการ KTB FIRST: Firm – Corporate Governance Awards เพื่อมอบรางวัลให้กับหน่วยงานที่ปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลดีเด่น

  3. จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานตามหลักบรรษัทภิบาลเพื่อให้พนักงานรับทราบ และนำไปปฏิบัติร่วมกัน   

  4. เผยแพร่บทความ และข่าวสารเกี่ยวด้านบรรษัทภิบาล ผ่านทาง E-Mail ของพนักงานในชื่อ “CG TIMES” พร้อมให้พนักงานทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมในรูปแบบการตอบคำถาม 

  5. จัดกิจกรรมวัน “CG&CSR Day” (เดือนมีนาคมของทุกปี) เพื่อเผยแพร่ และส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาล   

  6. มีการเผยแพร่ข้อมูลด้านบรรษัทภิบาลในรายงานประจำปี, Intranet และInternet

  7. จัดการบรรยายเรื่องบรรษัทภิบาลให้กับพนักงานในหลักสูตรต่างๆ

  8.จัดประชุมสัญจรคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม ในภูมิภาคต่างๆเพื่อมอบนโยบายและติดตามผลการดำเนินงาน

  9.กำหนดให้เรื่องบรรษัทภิบาลเป็น 1 ใน 10 วิชา ในเนื้อหาการเรียนรู้ Core Course ที่ใช้ทดสอบพนักงานตามโครงการพัฒนาบุคคลากรในการปฏิบัติงานของธนาคาร



ซีไอเอ็มบี  ไทย

  การกำกับดูแลกิจการ เป็นระบบการจัดให้มีโครงสร้างและกระบวนการความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และความร่วมมือกันของคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นกรอบในการกำหนดทิศทาง วัตถุประสงค์ และวิธีการต่างๆ เพื่อให้องค์กรบรรลุตามเป้าหมายและพันธกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และมูลค่าในกิจการ อันนำไปสู่ความเจริญเติบโตและความมั่นคงในระยะยาว

ธนาคารได้กำหนดกรอบโดยยึดหลักการสำคัญอันเป็นหลักมาตรฐานสากลสำหรับคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ดังนี้

1.ความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ และการกระทำที่สามารถอธิบายและชี้แจงได้ (Accountability)

2.ความสำนึกรับผิดชอบในภาระหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ด้วยขีดความสามารถ สำหรับการกระทำของตนที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลายโดยเฉพาะต่อผู้ถือหุ้น (Responsibility)

3.การเคารพในสิทธิและการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน (Equitable Treatment)

4.การเปิดเผยข้อมูลด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ (Transparency)

5.ยึดถือหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณเป็นพื้นฐานในการประกอบธุรกิจ (Code of Conduct and Code of Ethics)

6.สร้างความเจริญเติบโตให้กับธนาคารและเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว (Creation of Long Term Value Added) โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นประกอบ ประสานดุลยภาพที่ดี ระหว่างความแตกต่างของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มและกับธนาคารด้วยความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย




หมายเลขบันทึก: 532790เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2013 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2013 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท