รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

วิจัยชั้นเรียน2) ให้วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการสอนตามปกติ...


                                   

วันนี้หยิบเอาแนวคิดการทำวิจัยในชั้นเรียน ของสุวิมล ว่องวาณิช(2544) มาฝากกันค่ะ

            การทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครูที่สอดคล้องกับวิถึชีึวิต

ของการทำงานปกติ  ควรมีลักษณะดังนี้  

            ๑. งานวิจัยของครู ควรเป็นงานวิจัยขนาดเล็ก มุ่งแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับการแก้ปัญหาในห้องเรียน   

เป็นกระบวนการที่ไม่ใช้เวลาในการดำเนินงานนานเกินไป จนทำให้งานหลัก(งานสอน) ได้รับผลกระทบ แต่ต้องดำเนิน

การให้เป็นส่วนหนึ่งของการสอนตามปกติ

            ๒. ในแต่ละภาคเรียนหรือภาคการศึกษา ครูสามารถทำการศึกษา ในประเด็นวิจัย หรือหัวข้อวิจัยได้

หลายประเด็น และสามารถดำเนินการได้พร้อมกันในขณะเดียวกัน

            ๓. การวิจัยของครูเน้นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แสวงหาคำตอบ เพื่อให้ได้ข้อค้นพบที่มี

ความหนักแน่น น่าเชื่อถือ และนำไปใช้ในการเรียนการสอนของตนเองได้จริง  ...ไม่ใช่มุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่  การนำ

เสนอผลการวิจัยจึงไม่ยึดรูปแบบที่เป็นทางการเหมือนกับที่มีการทำกันในการวิจัยเชิงวิชาการ

           ๔. การทำวิจัยของครู ต้องเกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยที่เกิดจากสภาพปัญหาที่เป็นจริงขณะนั้น และครู

ไม่สามารถใช้วิธีเดิม ๆ  แก้ปัญหาได้  จำเป็นต้องค้นหาวิธีการใหม่

          ๕. กระบวนการวิจัยของครูต้องเป็นไปอย่างง่าย ๆ สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในห้องเรียนมาใช้เป็นการ

ค้นหาคำตอบ...ต้องไม่คิดว่างานวิจัยเป็นงานนอกเหนืองานสอน

          ๖. การวิจัยของครูไม่ใช่การมุ่งสร้างผลงานทางวิชาการของตนเอง แต่ต้องเป็นงานที่ผู้เกี่ยวข้องกับการ

พัฒนาผู้เรียน คือ ครูทั้งโรงเรียนมาร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียน ...ทุกคนต้องมีส่วนร่วม ...เนื่องจากปัญหาในห้องเรียนส่วน

ใหญ่เป็นปัญหาที่มีความเกี่ยวพันหรือสัมพันธ์กัน  ครูคนเดียวอาจจะแก้ไขปัญหาด้วยตัวคนเดียวไม่ได้

              สรุปได้ว่า การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน  เป็นการ ทำงานวิจัย

ของครูเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของตนเอง และควรจะมีลักษณะ ดังนี้

                        

เป็นงานวิจัยขนาดเล็ก. <<<<<  มุ่งแสวงหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหา  <<<<< 

ทำการศึกษาได้ในหลายประเด็น<<<<< เน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์    <<<<< 

เกิดจากสถาพปัญหาที่เป็นจริงขณะนั้น <<<<< กระบวนการวิจัยเป็นไปอย่างง่าย 

ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในห้องเรียน   <<<<< วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

ไม่ใช่มุ่งสร้างผลงานเพื่อตนเอง  <<<<<ป็นการวิจัยที่ครูทุกคนต้องร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียน    

หมายเลขบันทึก: 532073เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2013 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในห้องเรียน   <<<<<วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน...

From abstracts I have read, most data generated by teachers "injecting" (subjecting students to) extra conditions in classroom and collecting only "good" data (fitting to statistical guidelines -- without explaining significance of the data or results in statistical terms). In short, most research use a fix formula and simply substituting values in the formula.

สวัสดีค่ะ การวิจัยในชั้นเรียน บางครั้งไม่ต้องการอธิบายทางสถิติ ที่ยุ่งยาก เพราะไม่ใช่การวิจัยเชิงปริมาณ

แต่น่าจะนำเสนอผลอย่างง่าย ๆ ในเชิงคุณภาพมากกว่า  สถิติที่ใช้ส่วนมาก ก็เพียง  ค่าร้อยละ  และ ค่าเฉลี่ย

แต่เพื่อให้ดูหนักแน่น  น่าเชื่อถือ  ก็สามารถ นำข้อมูลที่ได้ ไปเข้าสูตรซะหน่อย  ขอบคุณที่แวะมาแสดงความคิดเห็น

และมอบดอกไม้ให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท