การขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษา: อีสานตอนบน_35 ตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ โรงเรียนบ้านป่านหนองอ้อ ร้อยเอ็ด


17 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการตรวจเยี่ยมเพื่อประเมินความพร้อมการขับเคลื่อน ปศพพ. ในโรงเรียนบ้านป่านหนองอ้อ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งประกอบด้วย ผอ.ธนิตา และครูวิไลวรรณ จากวัดป่าเรไรฯ ผอ.สวัสดิ์ จากห้วยค้อมิตรภาพ ๒๐๖  ศึกษานิเทศก์ สพป.เขต 1 ศน.วานิตย์  และกระผมเอง  ไปถึงโรงเรียนบ้านป่านตั้งแต่ 7:30 น.  จึงขอนำภาพกิจกรรมฝึกฝนตนเองของเด็กๆ มาให้ดูก่อนครับ

แข็งขันทำงาน ฝึกฝนตนเองให้มี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และจัดระเบียบจิตใจให้สะอาด ด้วยการรักษาความสะอาดอย่างฉลาดมีเหตุผล

จุดเด่นของบ้านป่านหนองอ้อ คือ  ผอ.ชาญชัย ที่ไม่ใช่เฉพาะให้ แต่ต้องบอกว่า "ถวายหัวใจ" แด่ "ในหลวง" และการขับเคลื่อน ปศพพ. สู่เด็กๆ  นอกจากนั้นแล้ว ยังได้รับการสนับสนุนจาก อปท. อย่างดียิ่งครับ สาวสวยที่ยืนอยู่ คือ สจ. คนใหม่ ที่มาด้วยใจ แจ่มใส เบิกบาน....   สู้ครับ ...

จุดเด่นของ โรงเรียนบ้านป่านหนองอ้อ มีดังนี้ครับ

  1. มี ผอ.ชาญชัย ที่หัวใจพอเพียงเป็นแกนนำหลัก 
  2. เป็นโรงเรียนที่มีฐานการเรียนรู้ด้านเกษตรที่สมบูรณ์ มาก่อน คือ นักเรียนได้ลงมือทำกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนอยู่แล้ว เหลือเพียงการ สร้างกระบวนการเรียนรู้ ถอดบทเรียน จากกิจกรรมโครงการที่ทำ จะสามารถพัฒนาการคิดของนักเรียนได้รวดเร็วมาก
  3. มีครูชัยสิทธิ์ ครูศิลปะ ที่ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิต แนวคิดและประสบการณ์ของท่าน หากนำมาเป็นแนวทางในการฝึกให้เด็กได้เรียนรู้ผ่าน การเน้นกระบวนการ ไม่เน้นการถ่ายทอด เน้นให้เกิดการลองผิดลองถูก  feedback จากครูชัยสิทธิ์ จะมีค่ายิ่งและจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล อีกทั้งเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตจริงได้ดีทีเดียว
  4. ครูทุกคนมีใจในการขับเคลื่อน ปศพพ. ไม้ท้อถอยเลยครับ

ในวันที่ไปประเมิน มีนักเรียนแกนนำที่ยังความประทับใจให้คณะกรรมการหลายท่าน อย่างไรก็ตามกรรมการก็ยังอยากให้ ทีมขับเคลื่อนของโรงเรียน ขยายผลให้เกิดกับนักเรียนจำนวนมากขึ้น วิธีการที่แนะนำคือ

  1. ครูหันมาเน้นการสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน เรียนรู้จากการปฏิบัติ ลงมือทำเอง คิดเอง แก้ปัญหาเอง
  2. ครูหันมาเน้นกระบวนการเรียนรู้ ไม่จำกัดความคิด ลดการบอกคำตอบ มอบหมายบอก ออกคำสั่ง หันมาตั้งคำถาม อดทนต่อการบอกคำตอบ (ไม่บอกคำตอบง่าย) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดเอง ให้มาก  หรือเราเรียกว่า  "สอนน้อย เรียนมาก" Teachless Learn more" 
  3. ท่าน ผอ.และครู หันมาสอนแบบเป็นทีม ทำงานเป็นทีม ช่วยกันออกแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ และอาจเปิดโอกาสให้เพื่อนครูเข้าไปนั่งสังเกตการสอน (ทำตัวเหมือนก้อนหินกระจก) แล้วสะท้อน(Reflect) ให้เพื่อนครูทราบ และปรับปรุงแก้ไข ช่วยกันประเมินผลที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ
  4. นักเรียนเรียนเป็นทีมเป็นกลุ่มมากขึ้น เพราะมีผลงานวิจัยชี้ชัดว่า การเรียนแบบทีม (ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป) ได้ผลสัมฤทธิ์ดีกว่าการเรียนแบบเดี่ยว

ด้วยความจริงใจครับ

ป.ล. ทดลองดูครับ

ฤทธิไกร


เด็กหญิงปิยนุช และ เด็กหญิงอรสา ได้รับคำชมมากทีเดียวครับ  กล้าคิด กล้าทำ กล้าพูด เป็นผู้นำ เกิดอุปนิสัยพอเพียงแล้ว


เด็กหญิงประภัสสร ก็ไม่ธรรมดาครับ.... ฉะฉาน คล่องแคล่ว โดยเฉพาะเรื่องฐานการเกษตรต่างๆ



หมายเลขบันทึก: 531697เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2013 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2013 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท