"น้ำอ้อยงบ" บ้านบ่อโพง!!!!


ชมวิธีทำ"น้ำอ้อยงบ"ที่บ้านบ่อโพง หมู่ 14 ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย เมื่อเช้านี้...หลังจากที่รอมาหลายปี...วันนี้...โชคดีที่ได้ดูและนำมาแบ่งปันทุกท่านครับ..

                              -ยามบ่ายวันนี้.....มี"ของหวาน ๆ" มาฝากทุกท่านครับ....หลังจากที่หายไป"ซุ่มเงียบ" พักใหญ่ (555) วันนี้ได้โอกาสขอนำเอาเรื่องราวหวาน ๆ มาแบ่งปันกันซักหน่อย....หากเก็บไว้นาน ๆจะทำให้ความหวานจืดชืดไป....เอาเป็นว่าวันนี้ภูมิใจนำเสนอความหวานของ"น้ำอ้อยงบ" จากบ้านบ่อโพง ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย นี่เองครับ....เพราะตั้งใจไว้นานแล้วที่จะไปดูเขาทำ"น้ำอ้อยงบ" และสาย ๆ ของวันนี้เมื่อมีโอกาสไปดูวิธีการทำ"น้ำอ้อยงบ" จึงเก็บภาพมาฝากมิตรรัก G2K ครับ...


1.ครอบครัวของ"พี่จำรัส" ยังคงสืบสานภูมิปัญญาเรื่องการทำ"น้ำอ้อยงบ" อยู่ ซึ่งตอนนี้ในอำเภอพรานกระต่ายเหลือคนทำน้ำอ้อยไม่มากแล้ว ฉะนั้น จึงถือว่าโชคดีที่เราได้ดูวิธีทำทุกขั้นตอนครับ...เริ่มต้นด้วยจะต้องใช้ "อ้อยพันธุ์สีนวน" ที่ตัดมา พี่เขาบอกว่าต้องใช้้อ้อยพันธุ์นี้อย่างเดียวเท่านั้นถึงจะได้น้ำอ้อยงบที่ได้คุณภาพครับ.....


2.ขั้นตอนแรกก็นำเอาลำอ้อยมาคั้นน้ำด้วยเครื่อง"หีบอ้อย" สมัยก่อนเขาจะใช้แรงงานจากสัตว์เลี้ยงเช่้น วัว,ควาย มาช่วยหมุนเครื่องหีบอ้อย.....แต่สมัยนี้ไม่มีแล้ว...แต่ถึงจะใช้วิธีใหน ๆ สิ่งที่ต้องการคือ"น้ำอ้อย" นั่นเองครับ...


3.ได้"น้ำอ้อย"แล้วก็นำมา"ต้ม" บนเตาที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง....ช่วงนี้ต้องปล่อยให้น้ำอ้อยเดือด และคอยช้อนเองฟองน้ำอ้อยออก กว่าจะได้น้ำอ้่อย....ต้องรอ ๆ ๆ ๆ ๆ 


4.ต้มไปจนกระทั่งได้ที่ คำว่า"ได้ที่" ผมว่าต้องใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมมานาน เพราะถ้าเป็นมือใหม่คงจะดูไม่ออกว่า"ได้ที่"เป็นอย่างไร? แต่สำหรับ"พี่จำรัส"แล้ว ผมว่าคง"ได้ที่"แบบไม่ยากคร๊าบ!!!!!!



5."ความสามัคคี"ในครัวเรือน คงต้องเป็นส่วนสำคัญในการทำ"น้ำอ้อย" เพราะว่าต้องช่วยกัน พอน้ำอ้อยได้ที่แล้วก็ตักออกจากกระทะ พร้อมกับเติมน้ำอ้อยสดลงไปเคี่ยวต่อทันที...งานนี้"ร่วมแรงร่วมใจ" ครับ..หากพลั้งเผลออาจได้รับอันตรายได้ คิดดูสิครับว่า"มันร้อน" ขนาดไหน.....


6.หลังจากเปลี่ยนกระทะน้ำอ้อยแล้ว ก็ได้เวลากวนให้เย็น ขั้นตอนนี้ต้องใช้ประสบการณ์อีกแล้วหละครับ ขืนดูไม่ดีมีหวังแข็งโป้ก!!!! ขั้นตอนนี้"พี่จำรัส" จึงต้องดูแลเป็นพิเศษ....และพิมพ์"งบน้ำอ้อย" ก็ถูกเตรียมไว้ ที่สำคัญต้องแช่น้ำก่อน..ไม่งั้นติดหนับ 555


7.พร้อมแล้วก็ได้เวลาหยอดลงพิมพ์ "ความเร็ว" สำคัญที่สุดครับ.....หาก"ชักช้า" คงจะไม่เป็นแผ่นแน่ ๆ 


8.ทิ้งไว้สักพัก ก็ได้เวลาแกะ"น้ำอ้อย"ออกจากพิมพ์ พักไว้ให้เย็นสนิท ก็ทำเป็นตั้ง ๆ ตามมาดูกันต่อครับ...


9. 1 ตั้ง มี 10 แผ่น คิดแล้ว ราคาส่งให้พ่อค้าก็แผ่นละ 2 บาท ที่เห็นเขาเรียงเป็นตั้ง ๆ ไม่เป็นระเบียบ "พี่จำรัส"บอกว่า จะได้แกะง่าย ๆ ...น่าเสียดายที่ต่อไปพื้นที่ปลูกอ้อยพันธุ์นี้เริ่มหมดไป เพราะว่าส่วนหนึ่งเกษตรกรหันมาปลูกพืชไร่ชนิดอื่น ๆ ที่ให้ผลผลิตสูงกว่า และมีรายได้มากกว่านั่นเองครับ....

สำหรับวันนี้ ต้องขอขอบคุณ

1."พี่จำรัสและครอบครัว"ที่ทำน้ำอ้อยงบให้เราได้ดู อย่างน้อย ๆ ก็ถือว่าได้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดกันมา และหวังว่า "คนรุ่นหลัง" คงจะได้สืบทอดต่อไป

2."ป้าจำเนียร"ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และ"พี่เยาว์" เกษตรหมู่บ้าน ที่เป็นพาผมไปชมวิธีการทำ"น้ำอ้อยงบ"ในวันนี้ครับ...

ท้ายนี้....เก็บภาพมาฝาก...กับประสบการณ์"หยอดน้ำอ้อย" และ"ชิมน้ำอ้อยสดหวาน ๆ" จากบ้านบ่อโพง ครับ...


                              สวัสดีครับ...

                                                                                                          เพชรน้ำหนึ่ง

                                                                                                           26/03/2556

หมายเลขบันทึก: 531403เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2013 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2013 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

.... น่าทานมากๆนะคะ โดยเฉพาะ   "น้ำอ้อยสด" + น้ำแข็งก้อน  ลงไปด้วย ..... แ้ก้ร้อน ดีจังเลยนะคะ  .... ขอบคุณบทความดีดี นี้นะคะ ....

หาดูยากจริงๆ..ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ...

-สวัสดีครับ

1.พี่หมอเปิ้น ร้อน ๆ แบบนี้น้ำอ้อยหวาน ๆ กับน้ำแข็งเย็น ๆ ก็ชื่นใจดีนะครับ ปีหน้าเขาจะมีการทำน้ำอ้อยงบอีก สนใจมาช่วยกันงบน้ำอ้อยได้นะครับ..

2.ป้าใหญ่ครับ น้ำอ้อยงบของพรานกระต่าย มีน้อยลงทุกที เนื่องจากเกิดจากการปรับเปลี่ยนพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า น่าเสียดาย....ปีหน้าพื้นที่ปลูกอ้อยพันธุ์นี้เขาจะปรับพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังครับ....

-ขอบคุณทุกท่านที่เข้่ามาอ่านบทความนี้นะครับ...


อยากกินตอนร้อน...คงเหนียวและหอมมากๆ ...ขอบคุณครับที่เขียนและนำภาพมาให้ดูครับ

ไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นการทำแบบนี้เลย

สมัยเด็กๆมีบ่อยปัจจุบันหาดูยากนะครับ

สวัสดีค่ะคุณเพชร

  • แค่เห็นภาพก็หวานแล้วค่ะ
  •  คิดถึงนะคะ

-สวัสดีครับ

-คุณทิมดาบ  ร้อน ๆ แบบนี้หากได้ของหวาน ๆ และเย็น ๆ จะดีมากครับ สนใจมาชม/ชิมได้นะครับ..

-สวัสดีครับ

-อ.ขจิต ดีใจมาก ๆ ที่ได้ต้อนรับอาจารย์อีกครั้ง..หลังจากที่ผมห่างหายไป 5555....ขอบอกว่าแบบนี้หาดูยากมากจริง ๆ ครับ กว่าผมจะได้ภาพดี ๆ แบบนี้ ต้องรอตั้งหลายปี เพราะว่าเขามีการทำเพียงปีละครั้งเท่านั้นครับ ปีนี้ถือว่าโชคดี ที่ได้เก็บภาพและบันทึกครับ

-สวัสดีครับ

-คุณยายมนัสดา...เย้ ๆ เพียงเห็นภาพก็หวานแล้ว..5555 

-สบายดีนะครับยาย...

-คิดถึงเช่นกันครับ...

-อากาศร้อน ๆ แบบนี้แย่เลยครับ...


-สวัสดีครับ

-คุณสามสัก...

-หากผ่านมาพรานกระต่ายต้องแวะแล้วหละครับ..

-ช่วงนี้พอมีให้เห็นในตลาดสดบ้าง..

-อีกไม่นานก็หมดครับ..

-น่าเสียดายที่ต่อไป"น้ำอ้อยงบ"คงจะหมดไป เพราะพื้นที่ปลูกลดลง ๆ  ๆ 

-ของดี ๆ แบบนี้มีข้อจำกัด...มากมาย..

-ขอบคุณที่มาเยี่ยม/ติดตาม นะครับ.


มาดูการทำ้ำ้น้ำอ้อยด้วยค่ะ  น้ำอ้อยแบบนี้ไม่ค่อยเห็นแล้วนะคะ

ขอบคุณ "ความรู้ดีๆ" ที่แบ่งปันนะคะ อ่านและดูภาพแล้ว ทำให้นึกถึงรายการ "กบนอกกะลา" ค่ะ เป็นรายการสารคดีที่มีประโยชน์มาก เช่นเดียวกับบันทึกนี้เลยค่ะ 


ดูคล้าย ๆ น้ำตาลปึกนะจ๊ะ   ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้จ้ะ

-สวัสดีครับ

-Krudala การทำน้ำอ้อยแบบนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้วครับครู ที่พรานกระต่ายก็เริ่มจะไม่มีคนทำแล้ว เนื่องจากพื้นที่ปลูกอ้อยพันธุ์นี้เปลี่ยนไปเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่ทำรายได้สูงกว่าน่ะครับ

-ถือว่าเป็นโอกาสดีที่ได้ไปเก็บภาพมาฝากทุกท่านครับ..

-ขอบคุณครับครู

-สวัสดีครับ

-อาจารย์แม่ไอดิน....ดีใจ ๆ ๆเย้ ๆ อาจารย์แม่ไอดินมาเยี่ยม..และชมว่าบันทึกนี้คล้ายกับรายการชื่อดัง "กบนอกกะลา" 555

-อ้อยพันธุ์สีนวน คือพันธุ์ที่ใช้ทำน้ำอ้อยงบได้ครับอาจารย์แม่ไอดิน...

-พี่จำรัสเจ้าของน้ำอ้อยบอกว่า หากนำไปปลูกที่อื่นอาจจะไม่ได้น้ำอ้อยที่มีคุณภาพแบบที่นี่ แบบนี้ถือว่าเป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้เลยนะครับ....

-สนใจลองนำไปปลูกที่ฟาร์มบ้างหรือเปล่าครับ??? เผื่อจะได้ลองทำน้ำอ้อยงบบ้าง..

-อาจารย์แม่ไอดินสบายดีนะครับ/ดูแลสุขภาพด้วยละกัน....

-สงกรานต์นี้ไปเที่ยวไหนก็อย่างลืมเก็บภาพมาฝากผมด้วยนะคร๊าบ!!!!


-สวัสดีครับ

-คุณมะเดือ...ยินดีปรีดาที่มาเยี่ยม..น้ำอ้อยงบ..

-คล้าย ๆ น้ำตาลปึก ต่างกันตรงที่วัตถุดิบที่มาทำ น้ำตาลปึกใช้น้ำจากต้นตาล แต่น้ำอ้อยใช้น้ำจากต้นอ้อย

-ส่วนวิธีทำก็ไม่น่าจะแตกต่างกันครับ..

-ขอบคุณที่มาเยี่ยม/ชม นะครับ..


-ขอบคุณดอกไม้/กำลังใจจาก

1.อ.ขจิต

2.ป้าใหญ่

3.คุณทิมดาบ

4.พี่หมอเปิ้น

5.คุณสามสัก

6.คุณมนัสดา

7.คุณมะเดือ

8.อาจารย์แม่ไอดิน.....

-ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วยนะคร๊าบ!!!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท