"เหมือนกันแต่ต่างกัน" ... (จักรวาลของความรู้สึก : อนันตกาล)



เหมือนกันแต่ต่างกัน




คนไร้เดียงสาเท่านั้นที่คิดว่า
สามารถคาดเดาหนังสือได้จากปกของมัน
และหากแม้คิดว่า ต้องอ่านเนื้อหาให้จบจึงจะเข้าใจ
ก็ยังไม่รอดพ้นไป จากความเห็นผิดอยู่ดี


อันที่จริงหากต้องการทำความรู้จักหนังสือเล่มหนึ่ง
ทั้งการมองจากรูปลักษณ์ภายนอก
และมองให้ลึกไปถึงภายใน
ก็ยังไม่ใช่สิ่งที่ถูกเท่าไหร่
เพราะการตีความหนังสือหนึ่งเล่ม
จำเป็นต้องผนวกเอาประสบการณ์
ของผู้อ่านหลอมรวมไปด้วย
จึงสามารถตีความได้อย่างสมบูรณ์

เมื่อเป็นเช่นนี้จึงกล่าวได้ว่า
การตีความหมายใด ๆ
ไม่ใช่เรื่องของส่วนรวม
ที่จะมองเห็นเหมือนกันไปทั้งหมด
ตรงกันข้าม การตีความ ให้ค่า
หรือวิพากษ์ เป็นเรื่องระดับปัจเจก
เป็นเรื่องของใครก็ของมัน


หนังสือเล่มเดียวกัน แต่คนอ่านต่างกัน
ความหมายในหนังสือเล่มดังกล่าว
ก็จะแตกต่างกันไปโดยปริยาย
คนหนึ่งอาจกล่าวยกย่องว่า
หนังสือเล่มนี้เลิศประเสริฐ
ขณะที่อีกคนอาจดูถูกว่า
มีค่าเพียงขยะรกสมอง

เมื่อเรากำลังอ่านหนังสือ เราต้องรู้ชัดว่า
เรากำลังหล่อหลอมตัวอักษร ภาพประกอบ
ประสบการณ์ของผู้เขียน
และประสบการณ์ของเราเข้าได้ด้วยกัน

รสชาติออกมาออกมาเช่นไรนั้น
ขึ้นอยู่กับการผสมผสานของวัตถุดิบที่มีอยู่


............................................................................................................................................................................


คิดถึงเวลาเราให้หนังสือกับใคร
เราว่าซาบซึ้ง เขาอาจจะว่าเฉยเฉย

คิดถึงหาก "หนังสือ" คือ "คน"
เราคงไม่สามารถทำความรู้จักคนได้จากภายนอก
หากเราต้องเรียนรู้เขาจากภายใน

ไม่ติดมั่นอยู่กับเปลือกที่แสนดี
จนกว่าจะมีการเปิดแก่นภายใน

ชวนคิด ...

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...


.............................................................................................................................................................................

ขอบคุณหนังสือดี ๆ


อนันตกาล.  จักรวาลของความรู้สึก.  กรุงเทพฯ : วาย เอ็ม ครีเอทีฟ, ๒๕๕๖.


หมายเลขบันทึก: 531383เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2013 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2013 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อืมม์ ระดับไหนจึงจะเรียกว่าภายนอกคะ

เข้าใจว่าภายนอก=รูปลักษณ์ เครื่องแต่งกาย 

อย่าง สายตา คำพูด สำนวน เป็นภายในหรือภายนอกนะคะ

ตอบคุณหมอยังไงน้า ...

ภายนอก คือ รูปลักษณ์ สิ่งที่สังเกตได้
ภายใน คือ สิ่งที่คิดอยู่ในภายในใจ สิ่งที่ยากต่อการสังเกต

สายตา คำพูด สำนวน จัดเป็น Body Language ที่มีนักจิตวิทยาพยายามจะแปลความหมาย

ครับคุณหมอบางเวลา ;)...

บ่อยครั้งค่ะอาจารย์ ที่อ่านจนจบ ยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการบอก

มิเป็นไรครับ kunrapee คงต้องใช้เวลา ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท