สื่อกับสมองเกี่ยวข้องกันอย่างไร <3>


มนุษย์นั้นกระบวนการประมวลสารสนเทศของมนุษย์นั้นทำหน้าที่คล้ายๆ กันกับ multiple – channel communication

       ทฤษฎี imagery จะแบ่งการใส่รหัสของคนเป็นสองส่วนระหว่างการใช้เป็นภาพและข้อมูลที่เป็นทางภาษา Paivio ได้ศึกษาและพัฒนารูปแบบ dual-code model โดยแยกการรับสารสนเทศนี้ออกตามการรับรู้ของคนออกเป็นเฉพาะเจาะจง ออกเป็นการใส่รหัสข้อมูลที่เป็นภาพและข้อมูลที่เป็นภาษา ซึ่งการใส่รหัสเป็นภาพ(image)นี้อาจเป็นได้ทั้งภาพและเสียงที่สมองของเราประมวลผลเข้าไป ซึ่งไม่ใช่เป็นการก๊อปปี้ภาพแต่เป็นการแทนสารที่เข้าไปจดจำหรือใส่รหัสแบบเป็นภาพเก็บไว้ การตีความหมายตามการรับรู้ทางด้านจิต (mental) นี้มีพัฒนาการเริ่มต้นมาจากการรับรู้ (perception) มอเตอร์(motor) และประสิทธิภาพในการรับรู้ของบุคคลและความสามารถในการดึงกลับมาใช้ซึ่งเป็นเรื่องคุณลักษณะเฉพาะบุคคลในการเริ่มใส่รหัส ซึ่งเป็นเรื่องของกระบวนการโครงสร้างทางปัญญา

       Imagery theory นี้ทำให้ผู้วิจัยสามารถนำเป็นข้อมูลสนับสนุนการสร้างสมมติฐานในการนำไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้และไปสู่การวิจัย multimodality

รายละเอียดและประสบการณ์ (Detail and Experience)
       ในเทอมของเรื่องความจำง่ายๆ นั้น รายละเอียดของ text modality อาจดูเหมือนไม่ใช่เรื่องสำคัญ จากการศึกษาและนำเสนอของ Nelson Metzler และ Reed ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลการแสดงด้วยภาพนั้นมีความสำคัญต่อระบบการจดจำของสมองพอๆกับผ่านการอธิบายด้วยตัวหนังสือหรือตัวอักษร บางครั้งภาพอาจส่งผลต่อความจำได้ดีกว่าตัวอักษรได้ หรือการใส่รหัส (encode) ข้อมูลเข้าไปแบบเป็นภาพจะส่งผลต่อกระบวนการจำได้ดีกว่าการท่องหรือจดจำเป็นตัวอักษร


Multiple-channel communication
       ความสนใจหลักของทฤษฎีการสื่อสารและนักออกแบบการเรียนการสอน คือ เรื่องของความสามารถของมนุษย์ในการ accommodate สิ่งที่ได้รับการกระตุ้นด้วยเสียง และภาพ แล้วไปประมวลข้อมูลในสมอง multiple – channel communication ได้สรุปไปและนำเสนอถึงว่าความแตกต่างของประสาทสัมผัส เช่น สัญลักษณ์ เสียง หรือการสัมผัส ต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียนได้

       ได้มีการศึกษามากมายเกี่ยวกับการศึกษาเปรียบเทียบ ระหว่าง single- channel communication กับ multiple – channel communication ได้ข้อสรุปที่ว่า 1. มนุษย์นั้นกระบวนการประมวลสารสนเทศของมนุษย์นั้นทำหน้าที่คล้ายๆ กันกับ multiple – channel communication 2. ข้อมูลที่ใส่เข้าไปในระบบ capacity นั้นจะทำหน้าที่เหมือนเป็น single – channel system 3. การเพิ่มขึ้นของข้อมูลสะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของสารสนเทศ


Cue summation and multiple-channel communication
       มันเป็นความสัมพันธ์ง่ายๆ ที่ได้จากการทบทวนงานวรรณกรรมและงานวิจัยนี้ว่ามัลติมีเดียหรือสิ่งแวดล้อมแบบไฮเปอร์มีเดียนี้ สามารถเป็นแหล่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เป็นบริบทที่มีคุณค่าสูง เป็นการผสมผสานการเรียนรู้ทั้งที่เป็นแบบ text graphics full-motion video และ signs ความสามารถที่นำไปสู่แนวทางหรือความซับซ้อนอย่างไม่มีทิศทางของ hyperspace และเพิ่มการกระตุ้นความสนในใจและการเรียนรู้ผ่านสื่อ

สื่อกับสมองเกี่ยวข้องกันอย่างไร<1>

สื่อกับสมองเกี่ยวข้องกันอย่างไร <2>

 

 

หมายเลขบันทึก: 53134เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2006 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • อ่านแล้วงงจังเลยครับ ไม่ใช่กะปุ๋มเขียนไม่ดีนะครับ แต่ตอนนี้รู้สึกว่าหัวสมองของผมเริ่มใช้การไม่ค่อยดีนักครับ
  • ถ้าอย่างไรจะพยายามอ่านให้เข้าใจครับ และจะย้อนกลับไปอ่านบันทึก 1 และ 2 ด้วยครับ
  • ก็คงจะไม่น่าใช้เวลาเกินปีครับ แล้วถ้าได้ผลอย่างไรจะมาถกเถียงและต่อยอดด้วยครับ

คุณ อ.จอห์นคะ...

บันทึกเรื่องเล่า "สื่อกับสมองเกี่ยวข้องกันอย่างไรนั้น"...มาจากฐานของเรื่องสองเรื่องคะ...

  • เรื่องแรก คือเรื่อง กระบวนการทางปัญญา(Cognitive)ของคนเรา...ว่ามีการทำงานอย่างไร ที่สะท้อนออกมาเป็นความคิด ความเข้าใจ ต่างๆ...ตลอดจนเกิดการสร้างความรู้...(knowledge construction) ...
  • เรื่องที่สอง คือ เรื่องเทคโนโลยีการเรียนการสอน (Instructional Technology) หรือเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ...

ทั้งสองเรื่องนำมาสู่การเลือกใช้ Appropriate Technology มาใช้ตอบสนองต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ภายใต้การออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้คะ

อาจเป็นเรื่องเฉพาะเกินไป...แต่จะพยายามสื่อออกมาให้เข้าใจกว่านี้นะคะ...เรื่องนี้เพิ่งรวบรวมต้นฉบับส่ง รศ.ดร.สุมาลีคะ...กะปุ๋มก็เลยพยายามนำมาเล่าเรื่องอย่างสรุปๆ ไว้ที่นี่ด้วยคะ...

หากให้ดีน่าจะอ่านเรื่องที่ 1,2,3 เรียงตามลำดับนะคะ

หากยังงงๆ...ลปรร. กันได้นะคะ

*^__^*

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

สมองเกี่ยวกับความคิดอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท