ออกแบบเวที...ลปรร.


       หลายวันก่อนได้รับเมล์จาก อ.บัญชาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ ซึ่งท่าน อ.หมอวิจารณ์ท่านแนะนำมาให้รู้จักกัน และดูท่าจะมีเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกหลายครั้ง และในครั้งนี้ดิฉันก็ได้รับโจทย์มากระตุ้นต่อมคิดให้คิดตามคะ...ดิฉันมองว่าจะมีประโยชน์อย่างมาก ก็เลยนำมาบันทึกเก็บไว้คะ...

คุณกะปุ๋มครับ

ตอนแรกคิดว่าจะโทรไปคุยอีก แต่ก็ไม่ค่อยมีเวลาเพราะต้อนนี้ใกล้จะสอบไล่ทุกวิชา แต่ก็อยากได้คำแนะนำบางอย่าง เลยคิดว่าเขียนมาปรึกษาจะดีกว่าเพราะคุณกะปุ๋มจะได้อ่านในเวลาที่สะดวก
คือผมกำลังวางแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาหน่วยงานเล็กๆ ของการบินไทยให้เป็น LO รายละเอียดของหน่วยงานและบุคลากรมีดังนี้ครับ
- หน่วยนี้เป็นหน่วยงาน engineering พนักงานเป็นวิศวกรทั้งหมด จำนวน 20 คน
- วิศวกรในหน่วยงานแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามงานทั้งหมด 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีงานที่แตกต่างกัน แต่ก็มีงานส่วนที่ซ้ำกันอยู่ด้วย
- งานที่ทำเป็นงานเกี่ยวกับเอกสารทางวิชาการ และการวิเคราะห์ปัญหาการปฏิบัติการบิน และตอบคำถามทางเทคนิคให้นักบิน และเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการให้แก่นักบิน ลักษณะของงานจึงต้องเจอกับปัญหาและหาทางแก้อยู่เรื่อยๆ- วิศวกรมีความสามัคคีกลมเกลียวกันดี พูดคุยกันอยู่เสมอๆ แต่ยังไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับงานอย่างเป็นกิจจะลักษณะ (มีแบบตามธรรมชาติ)
- ผู้บังคับบัญชาระดับต่างๆ (ซึ่งก็เป็นวิศวกรเหมือนกัน) ให้การสนับสนุนแนวคิดใหม่ๆ และมีใจเปิดกว้างให้กับการเปลี่ยนแปลง
 
ผมคิดจะทำโครงการนำร่องให้พวกเขาได้สัมผัสแนวคิด และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการความรู้ โดยอยากทำให้เกิด cop ขึ้นในหน่วย ประกอบกับโครงการอื่นๆ ที่เป็นชุดเพื่อเอื้ออำนวนให้เกิดความเข้าใจและต่อยอดกันต่อไปในอนาคต
 
จึงอยากให้คุณกะปุ๋มแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้เคยพัฒนากลุ่มต่างๆ มาอย่างมากมาย ว่าลักษณะอย่างที่ผมยกมานี้ น่าจะทำโครงการ กิจกรรมอย่างไรบ้าง
เอาเป็นกรอบแนวทางให้พอเป็นไอเดียก็พอครับ ผมจะได้เอาไปพิจารณาขยายความลงรายละเอียดต่อเอง หรือจะแนะนำให้ผมไปอ่านอะไรที่ตรงไหนให้เป็นแนวทางก็จะเป็นพระคุณครับ
 
รบกวนแค่นี้ครับ (แค่นี้ก็เยอะเหลือเกิน... เกรงใจมากแล้วครับ)
บัญชา


เรียน อ.บัญชา
 
กะปุ๋มต้องขออภัยท่านด้วยนะคะที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องนี้ช้า
เพราะจริงๆ ได้อ่านและคิดและเก็บไว้ก่อน..กะปุ๋มใช้พลังงานทุ่มไปเรื่อง
แผน...และหลายๆ เรื่องตามการสิ้นสุดปีงบประมาณ จึงอยากจะนิ่งๆ...สำหรับการตอบเมล์นี้...
 
กะปุ๋มมองว่าในองค์กรดังกล่าวนี้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) เกิดขึ้นอยู่แล้ว
สิ่งที่ขาดไปอาจจะไปในเรื่องการจัดการข้อมูล หรือ knowledge asset (KA)
กระบวนการต่างๆ ที่วิศวกรทำนั้นทุกสายงานต่างมี tacit knowledge แต่สิ่งที่
จะทำให้เกิดการถ่ายวนความรู้ออกมานั้น ก็ต้องเล่าให้อีกฝ่ายตนทราบว่าตนทำอะไร การเล่าหรือการถ่ายวนความรู้อาจมีหลายวิธีการ และที่นิยมกันตามแนวคิด สคส คือ สุนทรียะสนทนา (success story telling) เล่าเรื่องดีดีมีความสุข ความสำเร็จ จากการทำงานสู่กันฟัง จากนั้นก็อาจจะมีการเขียนบันทึกเก็บไว้ เช่น บันทึกใน webblog เพื่อการแลกเปลี่ยนกันอีกช่องทางหนึ่ง
 
อ.บัญชาอาจเริ่มจากการนำกรอบของ SECI model มาเป็นกรอบในการจัดการก็ได้คะ จากนั้นเราก็มาออกแบบว่าในแต่ละเฟรมเราสามารถนำสื่อตามแนวเทคโนโลยีการศึกษามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการจัดการความรู้...เช่น
 
ในเฟรมแรกเป็นเรื่อง Tacit K. -->>  Tacit K. จะเห็นได้ว่าเกี่ยวกับ Self-Learning เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ระหว่างความรู้โดยนัย เทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระบบสนับสนุนการเรียนรู้แบบนี้ คือ CAL (Computer Aided Learning) เฟรมที่สองเป็นเรื่อง Tacit K. -->> Explicit K . เฟรมนี้เป็นการเรียนรู้แบบ Group-Learning เป็นการเรียนรู้แบบกลุ่ม(Group Learning) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ระหว่างความรู้โดยนัยไปเป็นความรู้ที่ปรากฏชัดแจ้ง เทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระบบสนับสนุนการเรียนรู้แบบนี้ คือ CSCL (Computer Support Collaborative Learning)เฟรมที่สามเป็นเรื่อง Explicit K. -->> Explicit K. ซึ่งเป็น  Public Lecture เป็นการบรรยายในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ปรากฏชัดแจ้งไปเป็นความรู้ที่ปรากฏชัดแจ้ง เทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระบบสนับสนุนการเรียนรู้แบบนี้ คือ CAI (Computer Aided Instruction) และเฟรมสุดท้ายไหลวนกลับมาที่ Explicit K. -->> Tacit K. ซึ่งเป็น Private Lesson เป็นการเรียนรู้ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ปรากฏชัดแจ้งไปเป็นความรู้โดยนัย เทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระบบสนับสนุนการเรียนรู้แบบนี้ คือ ITS (Intelligent Tutoring System) หรือ  ICAI (Intelligent Computer Aided Instruction)


ลองนำแนวคิดของ Nonaka and Takeuchi  มากรอบในการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ดูนะคะ...อย่าง GotoKnow.org ก็มีให้เราเห็นภาพได้มากมายหลายภาพ...หากเรานำกรอบนี้มา capture ก็จะมองเห็นการไหลวนของความรู้ ส่วนนี้กะปุ๋มใช้กรอบ cognitive และ knowledge construction ตามแนว constructivism มาเป็นกรอบร่วมด้วย...
 
ขอ ลปรร. เท่านี้ก่อนนะคะ...หากมีเรื่องดีดีหรือคิดอะไรได้เพิ่มเติม..จะมาเพิ่มใหม่นะคะ
*^__^*
กะปุ๋ม
 

หมายเลขบันทึก: 52779เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2006 01:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท