ไขมันอาหารที่ต้องระวังเพื่อไม่มีโรคเกิดขึ้นในร่างกาย.....ชวนทบทวนอาหารประเภทไขมัน


สารอาหารประเภทไขมัน



ไขมัน

ไขมันให้พลังงานเช่นเดียวกับโปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ไขมันในร่างกายได้จากอาหารและที่ร่างกายสร้างขึ้น

บทบาทของไขมันในร่างกาย

ไขมัน ๑ กรัมให้พลังงาน ๙ กิโลแคลอรี่

ช่วยในการดูดซึมของวิตามิน เอ ดี อี และเค

เป็นแหล่งพลังงานแก่ร่างกาย เมื่อต้องใช้กำลังเป็นเวลานานๆ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิค  เปHนสารหล่อลื่นป้องกันการเสียดสี และลดแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นระหว่างข้อต่อ

ช่วยให้อาหารมีรสชาติถูกปาก เมื่อมีไขมันจำนวนพอเหมาะ และช่วยอิ่มท้องได้นาน


ชนิดของไขมัน

ไขมันในอาหาร และในร่างกายแบ่งเป็นหลายกลุ่ม กลุ่มที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากคือไตรกลีเซอร์ไรด์ และคอเลสเตอรอลแต่ไขมันที่พบส่วนใหญ่ในอาหาร คือ ไตรกลีเซอร์ไรด์ ดังนั้นเมื่อพูดถึงไขมันส่วนมากจะหมายถึงไตรกลีเซอร์ไรด์

ไตรกลีเซอร์ไรด์ มีองค์ประกอบหลัก คือ กรดไขมันซึ่งแบ่งเป็น ๒ ชนิดได้แก่ กรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว กรดไขมันส่วนมากร่างกายสร้างได้เอง แต่มีกรดไขมันอิ่มตัวบางชนิดซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น และร่างกายสร้างเองไม่ได้ จึงต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น

คอเลสเตอรอล ที่มีอยู่ในร่างกายจะมีปริมาณมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับอาหารที่เรารับประทาน คอเลสเตอรอลจากไขมันที่มาจากสัตว์เท่านั้น ชนิดที่มีสูงมาก เช่น สมอง ตับ ไข่แดง ส่วนพืชไม่มีคอเลสเตอรอล แต่ร่างกายสามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลจากไขมันที่มาจากพืชได้ โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวเช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม

แหล่งที่มาของไขมัน

ไขมัน นอกจากจะมีในน้ำมันพืชและสัตว์ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันรำข้าว น้ำมันหมู  และไขสัตว์ ยังมีในเนื้อสัตว์ และในอวัยวะบางชนิด เช่น ตับ อีกทั้งยังอาจพบในผัก 




ขอบคุณ อาหารประเภทไขมันจากหนังสือ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม ๒




ไขมัน

ไขมัน( fats) เป็นสารอาหารที่ให้คุณค่าพลังงงานสูงเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต ไขมันประกอบด้วยคาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน อย่างไรก็ตาม ไขมันให้คุณค่าพลังงานเป็น 2 เท่าของคาร์โบไฮเดรตปริมาณเท่ากัน นอกจากนี้ไขมันยังทำหน้าที่สำคัญอื่นๆอีกหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น เป็นองค์ประกอบโครงสร้างส่วนหนึ่งของเซลล์ เนื้อเยื่อไขมันยังช่วยป้องกัน และพยุงอวัยวะภายในต่างๆและทำหน้าที่เป็นฉนวนเพื่อเก็บความร้อนให้กับร่างกายภายในอีกด้วย


  ไขมัน แบ่งประเภทออกเป็นไขมันไม่อิ่มตัว หรือไขมันอิ่มตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางเคมี ปกติไขมันไม่อิ่มตัว( unsaturated fats) จะเป็นของเหลว ณ อุณภูมิห้อง หัวน้ำมันส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันมะกอก และน้ำมันโคโนลา ( conola oil ) เป็นไขมันไม่อิ่มตัว เรายังพบไขมันไม่อิ่มตัวได้ในอาหารทะเลบางชนิด เช่น ปลาเซลมอน ปกติไขมันอิ่มตัว ( saturated fats ) จะมีสภาพเป็นของแข็ง ณ อุณหภูมิห้อง ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อ นม เนย ไข่แดง มีไขมันอิ่มตัวเป็นองค์ประกอบค่อนข้างสูง น้ำมันบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว ก็มีไขมันอิ่มตัวค่อนข้างสูงเช่นกัน อาหารซึ่งมีไขมันอิ่มตัวมักจะมีคอเลสเตอรอล( cholesterol ) อยู่ด้วย 


    คอเลสเตอรอลเป็นสารคล้ายๆไขมันพบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์เท่านั้น คอเลสเตอรอลก็เหมือนไขมัน นั่นคือ เป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของเซลล์ แต่ตับสามารถสร้างคอเลสเตอรอลที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ได้ทั้งหมด ดังนั้นในอาหารที่รับประทาน เข้าไปจึงไม่จำเป็นต้องมีคอเลสเตอรอลก็ได้


   แม้ว่าคนเราจำเป็นต้องกินอาหารประเภทไขมัน แต่ก็ควรกินในปริมาณน้อยๆเท่านั้น นักโภชนาการแนะนำว่าพลังงงานที่ได้จากไขมันไม่ควรเกินร้อยละ 30 ของจำนวนแคลอรี่ที่กินเข้าไปในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราควรจะจำกัดการกินอาหารจำพวกไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอล ไขมันส่วนเกินและคอเลสเตอรอลในอาหารที่กินเข้าไปอาจนำไปสู่การสะสมสารไขมันในเส้นเลือดได้ ไขมันที่สะสมนี้อาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจ 




ขอบคุณอาหารประเภท ไขมัน จากหนังสือ สำรวลโลกวิทยาศาสตร์ สุขภาพและชีววิทยามนุษย์


ไม่ว่าจะเป็นไขมันอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัวหากใช้ไม่พอดีเหมาะสมกับร่างกาย ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้หลายโรคในร่างกาย พึ่งยับยั้งและใช้อย่างระวัง ไขมันที่มาจากเนื้อสัตว์อันตรายหากมีมากเกินในร่างกายก็ไปสะสมเกาะตามอวัยวะต่างๆทำให้การทำงานของอวัยวะไม่สะดวก หรือไขมันไปอุดตันในเส้นเลือดทำให้เป็นโรคที่อันตรายต่อชีวิตได้

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี



หมายเลขบันทึก: 521845เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2013 06:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2013 10:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พี่ดาขยันพิมพ์มากเลยนะคะนี่ ไม่ใช่ copy มาแปะแน่นอนเลย เพราะมีพิมพ์ผิดตกหล่นบ้างเต็มเลยค่ะ รบกวนพี่ดาลองอ่านทวนดูอีกรอบนะคะ รวมทั้ง "ไขมัน( fate)" น่าจะเป็น fats มากกว่านะคะ

ขอบคุณพี่ดามากๆแทนผูุ้อ่านทุกท่านเลยค่ะ เป็นความรู้ที่ควรรู้จริงๆ 

สวัสดีค่ะน้องโอ๋

ขอบคุณมากนะคะ ที่บอกให้พี่ดาทราบ คำผิด คำตก คำเกิน ดีมากๆเลยช่วยบอก จะได้แก้ไขให้ถูกต้อง บางบันทึกลืมตรวจ บางวันขึ้น 3 บันทึกใหม่เลยค่ะ พอขึ้นบันทึกเสร็จ รีบไปทำอย่างอื่น ส่วนมากพี่ดาจะพิมพ์ไว้ใน Word ก่อนแล้ว Copy ขึ้นบันทึก  ป้องกันข้อมูลหายแว๊ป เพราะเคยหายแล้วยังมีโกรธ ฯ ทำให้ไม่อยากเขียนใหม่

บางวันก็ขยัน บางวันก็ไม่ขยัน การจะพิมพ์ข้อมูลมากๆต้องตั้งใจ และใช้ความพยายามด้วย เพราะพี่ดายังพิมพ์ไม่เก่ง ใจอยากบอกต้องเขียนให้ครบให้เสร็จ ก็ทำได้ค่ะ ผิดบ้างก็แก้ไขได้นะคะ  และเป็นคนที่ชอบนำข้อมูลจากหนังสือที่อ่านพบเพื่อบอกต่อมากกว่าพบที่อื่นๆ ยิ่งมาจากบุคคลที่เราเชื่อถือยิ่งอยากบอกเช่น แพทย์  ฯ

 หรือเป็นหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียน การสอน เช่น หนังสือของลูกทั้ง 2 เล่ม ที่นำมาเขียนในบันทึกนี้ เก็บไว้นานมาก ได้นำมาบอกเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้บ้าง ก็ดีใจค่ะ ที่นำมาทั้ง 2 เล่มในเรื่องเดียวกันเพราะ เล่มหนึ่งคือสำรวลโลกวิทยาศาสตร์ เป็นหนังสือแปลมาจากหนังสือที่ใช้สอนนักเรียนโดยตรงของต่างประเทศ คงจะมีบางโรงเรียนนำหนังสือชุดนี้มาสอนหรือมีในห้องสมุดของโรงเรียน

ส่วนหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯนั้น พี่ดายังซื้อไม่ครบชุด  ก็ไม่ทราบว่าปัจจุบันมีทั้งหมดกี่เล่มแล้วเป็นหนังสือที่บอกได้ว่า ดีมากและประทับใจค่ะ เหมาะสมกับการเป็นหนังสือของคนไทยเรามาก น่าซื้อน่าเก็บไว้ให้ลูกหลานทุกเรื่องทุกเล่ม หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ ในเล่มจะมีภาพประกอบสีมากด้วย



เหมือนกันเลยค่ะ พี่ดา สารานุกรมชุดนี้โอ๋ก็ซื้อไว้น่าอ่านจริงๆ หยิบมาอ่านได้เรื่อยๆมีสาระและเขียนได้แบบอ่านสบายๆนะคะ

ขอบคุณค่ะ อ่านเพลินเลย พี่เองขณะนี้ก็มีไขมันเดินหน้ามากองที่กลางลำตัวแล้ว..อิอิ

เข้ามาเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท