อารักขา
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

ศัตรูข้าวนาปรัง ที่บึงกาฬ


จากการเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืชในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ในช่วงระยะนี้พบศัตรูพืชที่สำคัญ ได้สร้างความเสียหายกับผลผลิตของเกษตรกรในพื้นที่อำเมืองบึงกาฬ อำเภอปากคาด จากการสำรวจแปลงนาโดย         นักวิชาการจาก สำนักงานเกษตรอำเภอปากคาดสำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ และศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย โดย

ผลการสำรวจศัตรูข้าว พบโรคไหม้ข้าว เพลี้ยกระโดดหลังขาวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และอาการ
hopper burn แปลงนาที่มีได้รับความเสียหายจากการทำลายของศัตรูข้าว ที่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
แนะนำเกษตรกรไม่ให้ใช้สารกำจัดศัตรูข้าว เนื่องจากการระบาดของศัตรูข้าวได้เกินค่าระดับเศรษฐกิจ
(ET) ซึ่งไม่คุ้มทุนในการป้องกันกำจัด ส่วนแปลงนาที่เริ่มพบศัตรูข้าวเข้าทำลาย
ได้แนะนำดังนี้



- โรคไหม้ (Rice Blast Disease)

 ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น ชัยนาท 1 สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 และหางยี71

 หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ
15-20 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี
และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าสูงถึง 50 กิโลกรัม/ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว

 คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล คาร์เบนดาซิม
ตามอัตราที่ระบุ ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาดและพบแผลโรคไหม้ทั่วไป
5 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ใบ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล ไอโซโพรไทโอเลน
คาร์เบนดาซิม ตามอัตราที่ระบุ

- เพลี้ยกระโดดหลังขาว (WBPH) และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (BPH )
 ปลูกข้าวพันธุ์ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น ชัยนาท
1 กข31 และ กข49 และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน4ฤดูปลูก


 ในแหล่งที่มีการระบาด และสามารถควบคุมระดับน้ำในนาได้ หลังปักดำ ควบคุมน้ำในแปลงนาพอให้ดินเปียก
หรือน้ำเรื่อผิวดิน จะช่วยลดการระบาดได้

 เมื่อตรวจพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 10 ตัวต่อกอ ให้ใช้สารไดโนทีฟูเรน (สตาร์เกิล
10% WP) อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร

 ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
(resurgence) หรือสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น ไซเพอร์เมทริน เดคามาทริน


  ดังนั้น ได้แจ้งเตือนเกษตรกรเฝ้าระวังศัตรูข้าวระบาดในนาข้าวในช่วงระยะแตกกอถึงระยะออกรวง
เนื่องจากสภาพอากาศเหมาะสม มีความชื้นสัมพัทธ์สูงตอนกลางคืนถึงตอนเช้า และมีอากาศร้อนจัดเวลากลางวัน
หากชาวนาท่านใดมีปัญหาด้านโรคแมลงศัตรูข้าว สามารถปรึกษานักวิชาการส่งเสริมการเกษตรได้ที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลทุกตำบลสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด หรือนักวิชาการเกษตรศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย

ได้ทุกวันในเวลาราชการ




หมายเลขบันทึก: 521721เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2013 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2013 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท