พระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย ได้ทรงประกอบราชกรณียกิจที่สำคัญไว้มากมาย สมควรกล่าวถึงดังนี้คือ
๑.  ทรงมีความเข้มแข็งในการรบ เมื่อมีพระชันษาเพียง ๑๙ ปี ได้ช่วยพระราชบิดาสู้รบศัตรูอย่างกล้าหาญได้ทรงชนช้างกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ที่ยกกองทัพมารุกรานกรุงสุโขทัยจนได้ชัยชนะ พระราชบิดาจึงพระราชทานนามว่า " พระรามคำแหง" เมื่อเป็นกษัตริย์แล้ว พระองค์ได้ทรงรบขยายอาณาจักรออกไปกว้างขวางมาก เป็นที่ยำเกรงแก่ประเทศเพื่อนบ้านทั้งปวง

๒.  ทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศใกล้เคียง เช่น ทรงเป็นเพื่อนสนิทกับพระยาเม็งราย (จ้าเมืองเชียงใหม่) และพระยางำเมือง (เจ้าเมืองพะเยา) แห่งอาณาจักรล้านนา ไกลออกไปทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน ซึ่งขณะนั้นมีกุบไลข่าน(พระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้)เป็นกษัตริย์ ได้มีการติดต่อค้าขายระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งยังได้ทรงนำช่างทำถ้วยชามชาวจีนมาสอนคนไทย ซึ่งเราเรียกว่า " สังคโลก" 
         

๓.  ทรงปกครองพลเมืองให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข ได้โปรดให้แขวนกระดิ่งไว้ที่ประตูพระราชวัง ผู้ใดมีทุกข์ร้อนก็มาสั่นกระดิ่งถวายฏีกาได้ ในวันโกนวันพระทรงได้นิมนต์พระภิกษุมาแสดงพระธรรมเทศนาบนแท่นมนังคศิลาบาตรกลางดงตาล ในวันธรรมดาพระองค์ก็เสด็จออกว่าราชการ  และให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด และทรงอบรมศีลธรรมจรรยาแกราษฎร
         
๔.  ในปีพุทธศักราช ๑๘๒๖  ได้ทรงคิดแบบตัวอักษรไทยขึ้นแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเค้าของตัวหนังสือไทยในปัจจุบัน และได้ทรงจารึกเหตุการณ์ในสมัยนั้นลงไว้ในหลักศิลาจารึก  นับได้ว่ามีคุณค่ามากในการศึกษาประวัติศาสตร์ คนในสมัยหลังได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัยจากจารึกนี้เป็นอย่างมาก

จารึกที่คนไทยทำขึ้น ปรากฎหลักฐานในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อคนไทยก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาในแถบลุ่มแม่น้ำยม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งอาณาจักรสุโขทัย ได้ประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น ในปีพุทธศักราช ๑๘๒๖  ได้ทรงคิดแบบตัวอักษรไทยขึ้นแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเค้าของตัวหนังสือไทยในปัจจุบัน และได้ทรงจารึกเหตุการณ์ในสมัยนั้นลงไว้ในหลักศิลาจารึก  นับได้ว่ามีคุณค่ามากในการศึกษาประวัติศาสตร์ คนในสมัยหลังได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัยจากจารึกนี้เป็นอย่างมาก เป็นจารึกที่เก่าที่สุด และไม่มีลักษณะของรูปอักษรไทยที่แห่งไหนจะเก่าเท่า ถึงแม้จะพบจารึกอักษรไทยที่คนไทยทำขึ้น จำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย แต่หลักฐานการค้นพบปรากฎว่า จารึกเหล่านั้นมีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา ทั้งสิ้น  รูปอักษรไทยในอาณาจักรสุโขทัยนั้น  ได้เป็นแม่แบบของรูปอักษรไทยในสมัยต่อมา

มนุษย์ในทุกสังคมมีภาษาพูดเป็นของตัวเองทั้งสิ้น นักภาษาประมาณว่าในโลกเรามีภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ทั้งหมดราวๆ ๓๐,๐๐๐  ภาษา แต่ไม่ถึง ๑๐๐ ภาษาที่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง และภาษาไทยก็เป็นภาษาหนึ่งในไม่ถึง ๑๐๐ ภาษานี้ด้วย

 พ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓ ของอาณาจักรสุโขทัย เป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ หลังจากที่คนไทยรวมตัวกันเป็นบ้านเมือง และมีพระเจ้าแผ่นดินของตนเองแล้ว  ในสมัยนั้นชาวเขมร ชาวพม่า และชาวมอญที่อยู่ใกล้เคียงกับคนไทย มีการปกครองตนเอง และมีอักษรเป็นภาษาของตนเองใช้แล้ว และเพื่อนบ้านเหล่านี้มีจารึกเกี่ยวกับบ้านเมืองของตนเอง เขียนด้วยภาษาของตนเองทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อคนไทยมีบ้านเมือง และมีการปกครองเป็นของตนเอง ก็จำเป็นที่จะต้องมีภาษาเขียนของตนเองด้วย เพื่อให้มีฐานะเท่าเทียมเพื่อนบ้าน พ่อขุนรามคำแหงจึงได้คิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น เพื่อให้ชาวไทยใช้เขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ

หมายเลขบันทึก: 521492เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2013 00:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2013 00:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ไปทำการบ้าน

มีแค่4ข้อหรอคะ

พระราชนียกิจของพ่อขุนรามคำแหง 5 บรรทัด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท