ความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยBrachial plexus injury


Brachial plexus injury

              ในปัจจุบันนี้ Brachial plexus injury เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อย เนื่องจากเป็นข่ายประสาทสำคัญที่วางตัวอยู่ทั้งบริเวณคอและรักแร้ เกิดจากการรวมกลุ่มของรากประสาทไขสันหลัง 5 เส้น คือC5,C6,C7,C8,T1 เมื่อรวมตัวกันแล้วจะแบ่งออกเป็นเส้นประสาทต่างๆ ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและรับความรู้สึกตั้งแต่กล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ไปจนถึงปลายนิ้ว

                                            

สาเหตุของการบาดเจ็บแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ

1. การบาดเจ็บที่เกิดกับส่วนบนของ brachial plexus มักจะเป็นผลมาจากการแยกหรือดึงต้นคอและไหล่ไปในทิศทางตรงกันข้าม เช่น ล้มลงในท่าศีรษะและหัวไหล่กระแทกพื้นหรือในระหว่างการคลอด ซึ่งทารกถูกดึงศีรษะออกมาในขณะที่ยังตะแคงข้าง ซึ่งทำให้มีอาจอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อและสูญเสียความรู้สึกของแขนแต่กล้ามเนื้อในมือยังทำงานได้


                 


2. การบาดเจ็บที่เกิดกับส่วนล่างของ brachial plexus มักจะเป็นผลมาจากการเกิดขึ้นในท่าที่แขนถูกดึงไปด้านหลังอย่างแรง เช่นคลอดทารกโดยดึงแขนขึ้น หรือท่าหล่นต้นไม้แล้วคว้ากิ่งไม้เพียงแขนเดียว ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อมือใช้การไม่ได้ ไม่สามารถงอข้อมือได้แต่กล้ามเนื้อแขนยังทำงานได้


                                                    


การเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตของผู้ป่วย Brachial plexus injury

                     โดยการอ้างอิงจาก person environment occupation performance model(PEOP)


                                              


Person >>> ปัจจัยภายในตัวบุคคล คือ ระบบประสาทก็จะสูญเสียการทำงานของแขนและมือ ทางสรีรทางร่างกายก็จะไม่สามารถงอข้อมือได้ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกิจกรรม


Environment >>> ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ทางด้านครอบครัวก็ควรให้กำลังใจและสนับสนุนในการทำกิจกรรม ทางด้านสังคมควรจะเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มทักษะและความสามารถของผู้ป่วย


Occupation >>> การทำกิจกรรมที่นักกิจกรรมบำบัดให้ความสนใจจะเน้นในเรื่องการทำกิจวัตรประจำวัน อย่างเช่น การรับประทานอาหาร การใช้ห้องน้ำ การเคลื่อนย้ายตัว เป็นต้น


Performance >>> ให้ผู้ป่วยคงความสามารถของผู้ป่วยที่มีอยุ่ และเพิ่มความสามารถให้ผู้ป่วยโดยผ่านกิจกรรมที่ผู้ป่วยสนใจ


อ้างอิง : การบาดเจ็บของ brachial Plexus. Available from:thaigovweb.com/mophweb/file/doc/news21554-150210-120913.doc

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน joe
หมายเลขบันทึก: 520427เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 02:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 02:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลูกชายประสบอุบัติเหตุไปตรวจ EMGหมอบอกเป็นCoplete BPIต้องรักษายังไงคะถึงจะกลับมาเป็นปกติหรือดีขึินกว่านี้ตอนนี้ขยับไม่ได้ทั้งแขนเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท