คุณภาพการบริการห้องสมุดเมื่อเข้าสู่อาเซียน


ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการ ปขมท. ประจำปี 2556 ในวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2556 ในหัวข้ออุดมศึกษาไทยก้าวไกลสู่อาเซียน ...จริง ๆ แล้วเรื่องอาเซียน เป็นเรื่องที่หลายคนได้เขียนไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้มากมาย แต่การไปฟังการบรรยายจากผู้รู้ก็ช่วยย่นระยะเวลาในการเข้าถึงสาระที่ตรงและนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น สำหรับในครั้งนี้ได้มุมมองจากผู้บรรยายเกี่ยวกับการทำให้คนอาเซียนแต่ละประเทศเกิดความประทับใจ..ผู้บรรยายคือ ดร.สิรี ชัยเสรี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฟังแล้วทำให้เข้าใจว่าทำไมเมื่อชาวต่างชาติมาบ้านเรามักจะชื่นชมอาหารไทย เพราะเขาคงได้รับการสั่งสอนให้รู้ว่าจะสื่อสารอย่างไรให้คนไทยประทับใจ การที่จะทำให้คนสิงคโปร์ประทับใจก็ต้องทำตัวเองให้มีประสิทธิภาพ ไม่ฟุ่มเฟือย การทำให้คนฟิลิปปินส์ประทับใจก็ให้ถามถึงสุขทุกข์ของครอบครัว ซึ่งแตกต่างจากคนอินโดนีเซียถือว่าไม่สุภาพหากถามถึงเรื่องส่วนคัว การใช้มือซ้าย การใช้นิ้วชี้ และการทานอาหารจนหมดจาน สำหรับคนมาเลเซียจะใช้นิ้วโป้งชี้ และหากจะทำให้ประทับใจก็ควรเข้าใจวิถีอิสลาม เป็นต้น สำหรับความคิดเห็นของตัวผู้เขียนเองเข้าใจว่าประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีการเรียนการสอนภาษาคงจะไม่มุ่งสอนเฉพาะการทักทาย การสื่อสารอย่างเดียว คงจะสอนไปพร้อม ๆ กับวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ภาษากับวัฒนธรรมคงจะต้องไปพร้อม ๆ กัน...ดังนั้นหากจะหวังให้ทุกคนพูดและเรียนรู้ทั้ง 10 ภาษาหรือมากกว่านั้นคงเป็นไปได้ยาก..แต่หากหน่วยงานใดมีคนที่มีความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรมของประเทศอาเซียนแต่ละประเทศครบทุกประเทศ องค์กรนั้นคงจะมีประสิทธิภาพ เช่นเมื่อมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเทศใด บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับปะเทศนั้น ๆ ก็จะถูกมอบหมายงาน ไม่จำเป็นต้องพยายามจะเรียนรู้ทุกภาษา แต่อย่างน้อยภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่ประเทศอาเซียนตกลงใช่ร่วมกัน ทุกคนในสถาบันอุดมศึกษาต้องเรียนรู้ที่สามารถสื่อสารได้ โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุด ตามความคิดเห็นส่วนตัวเห็นว่าบุคลากรทุกคนควรสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการให้บริการเพราะนิสิตมาจากหลายประเทศเราควรจะใช้ภาษาอังกฤษในการให้บริการ ป้ายประกาศต่าง ๆ ควรจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาอื่นๆ ในอาเซียนนั้นอาจจะใช้เพียงบางกรณีเช่น เมื่อมีคนอาเซียนประเทศใดประเทศหนึ่งมาเยี่ยมชม การจะสร้างให้เกิดความประทับใจควรมอบหมายให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะภาษามาร่วมให้การต้อนรับหรือมาร่วมดำเนินกิจกรรมเป็นต้น ที่เป็นสิ่งจำเป็นห้องสมุดต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยต่อการเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศในอาเซียน เรียนรู้ภาษาในอาเซียน เพื่อให้นิสิต นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย และเป็นการเตรียมตัวเองก่อนไปร่วมทำงานในแต่ละประเทศ อย่าลืมว่าภาษาและวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง องค์ความรู้ที่ต้องจัดหามาบริการจึงต้องทันยุค ทันสมัย อย่าได้ซื้อหนังสือเพราะปกมีภาพสัญญลักษณ์ หรือมีคำว่า อาเซียน เพียงอย่างเดียว การประเมินคุณค่ายังเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบรรณารักษ์เมื่อจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

หมายเลขบันทึก: 519875เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2013 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท