ทักษะการเรียนรู้ (Learning skills)ศตวรรษ 21 สู่การปฏิบัติ 2


วันนี้ได้มีโอกาสเป็นกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของอธิการบดี บทหนึ่งของการร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านผู้ทรงคุณวุฒิ นพ มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้มากด้วยประสบการณ์ในการบริหารงานทั้งในกระทรวงสาธารณสุขและการดำเนินงานทางการเมือง

ท่านได้ให้แนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยในปัจจุบันว่านอกเหนือจากพันธกิจทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ดานการบริการวิขาการแก่สังคม ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแล้ว  ภารกิจหนึ่งที่สำคัญคือ การเป็นที่พึ่งของชุมชน

ประเด็นที่มหาวิทยาลัยจะเป้นที่พึ่งของชุมชนได้นั้น มหาวิทยาลัยต้องฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะ อย่าเรียนบนกระดาษ ท่านกล่าว่ว่า วิชาชีพแพทย์เป็นวิชาชีพหนึ่งที่ได้รับการยอมรับเนื่องจาก อาจารย์แพทย์ทุกท่านต้องลงปฏิบัติการในคลินิก ให้การรักษาผู้ป่วยด้วยตนเอง แล้วนำความรู้ดังกล่าวมาสอนนักศึกษาแพทย์รุ่นถัดไป หากพบปัญหาของผู้ป่วยที่ยังไม่มีใครค้นพบหรือไม่มีในหนังสือ ก็จะทำการวิจัยเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วย จึงเกิดเป็นองค์ความรู้ที่มาจากที่ต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับ ดังนั้นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยควรมีการฝึกฝนให้เกิดความเชี่ยวชาญในเชิงวิชาชีพของตน หากอาจารย์สอนบนกระดาษตามที่อาจารย์สอนมาเมื่อเวลาผ่านไปความรู้ต่างๆจะเริ่มหดหายและไม่ทันสถานการณ์

ซึ่งสอดคล้องกับที่ท่าน ดร มังกร หริรักษ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อีกท่านหนึ่งทีมีประสบการณ์บริหารอาชีวศึกษา


ท่านกลู่้าวว่า การที่อาจารย์ที่เชี่ยวชาญในวิชาชีพ เมื่อก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น และลดทักษะในการปฏิบัติการเชิงวิชาชีพ ผู้เรียนเรียนรู้แต่ในห้องเรียนไม่ได้ลงฝึกปฏิบัติการอย่างจริงจัง จะไม่สามารถนำความรู้ที่เรียนไปสู่การประกอบวิชาชีพได้ ท่านได้ให้ข้อเสนอแนะคณะพยาบาลศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งทางความรู้ด้านสุขภาพให้กับหน่วยงานในมหาวิทยาลัย

แนวคิดดังกล่าวทำใหู้้ผู้้เขียนย้อนกลับมาดูวิชาชีพพยาบาลอันเป็นที่รัก ว่าหากอาจารย์ลงปฏิบัติจริงเหมือนเมื่ออดีตที่ผ่านมา คือ หน่วยการศึกษาเป็นหน่วยเดียวกับหน่วยบริการ หรือออกให้บริการพยาบาลเป็นประจำ คงมีส่วนช่วยให้การศึกษาพยาบาลพัฒนาจากความรู้ไปสู่ทักษะที่ปฏิบัติจริงพร้อมด้วยกระบวนการหาความรู้จากการปฏิบัติและการวิจัย อาจารย์จะเป็นที่ยอมรับทั้งด้านความรู้ ความสามารถ เป็นที่พึ่งให้กับหน่วยบริการพยาบาล 

แต่ปัจจุบันนี้  การแยกส่วนดังกล่าว อาจารย์ต้องมาบริหารจัดการในเรื่องอื่นๆที่ไม่ใช่การพยาบาลทำให้ทักษะดังกล่าวอ่อนด้อยลง

สำหรับการเป็นที่พึ่งในเรื่องสุขภาพอนามัยให้กับหน่วยงานในมหาวิทยาลัยนั้น ก็เป็นการสร้างสัมพันธถาพที่ดีจากการให้บริการ ซึ่งก่อนหน้านี้ นักศึกาาและอาจารย์พยาบาลเป็นที่พึ่งให้กับสถาบันการศึกษาภายนอก คือ การฝึกการพยาบาลอนามัยโรงเรียนตามหลักสูตรที่กำหนดมาโดยตลอด

ห้องเรียนกลับทาง เห็นทีจะต้องเริ่มจากทักษะการพยาบาลที่เชี่ยวชาญของอย่างจริงจังเสียแล้ว  หรือ ท่านว่าอย่างไร

คำสำคัญ (Tags): #ครู
หมายเลขบันทึก: 516940เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2013 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท