"ทักษะของครูในศตวรรษที่ ๒๑"


เปลี่ยนจากสอน เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยตนเองของศิษย์เพื่อดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข จึงจะได้ชื่อว่าครูผู้มีทักษะของครูศตวรรษที่ ๒๑


"ครูเคมี ก็ต้องกลายเป็นครูเกษตรได้เช่นกัน"

          ประเด็น "ทักษะของครูในศตวรรษที่ ๒๑" เข้ากับรรยากาศช่วง ๑๖ มกราคมที่ผ่านมาเลยค่ะ  เป้าหมายในการจัดการเรียนการสอนคือ การพัฒนาศักยภาพของนักเรียนเพื่อให้เกิดทักษะที่จำเป็นต่อศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งจากประสบการณ์ครูนกเล็งเห็นไปทีครูต้องมีจิตวิญญาณในความเป็นครูเป็นสิ่งแรก เนื่องการทำหน้าที่ด้วยจิตวิญญาณจะทำให้เราสอนสิ่งที่มากกว่าเนื้อหา สอนไปถึงคุณธรรม จริยธรรมและการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม  
          หลังจากครูจะต้องมีทักษะในการในการเป็นโค้ช คือทำหน้าที่ประสานงานและอำนวยการมากกว่าบอกเรื่องราวหรือเนื้อหาสาระ ซึ่งโค้ชที่ดีจะต้องมีจิตวิทยาที่ดี  เข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล  รู้เทคนิคในการกระตุ้น รู้เทคนิคในการให้กำลังใจ  ตลอดจนตั้งคำถามที่ดีเพื่อนำไปสู่การคิดขั้นสูงได้
          ต่อมาครูจะต้องมีทักษะการเรียนรู้เพื่อให้มีองค์ความรู้ที่เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมเพื่อจะได้นำมาบริบทในการจัดสถานการณ์การเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงได้  ด้วยเหตุนี้ครูต้องมีทักษะด้านไอซีทีเพื่อให้การสืบค้นหรือค้นความเป็นไปอย่างง่ายดาย  และประหยัดเวลา
           เมื่อจะมองโอกาสในการพัฒนาตนเองให้เกิดทักษะของครูศตวรรษที่ ๒๑ ไม่ใช่เรื่องยาก และไม่ใช่เรื่องง่ายเกินไป ยังมีอุปสรรคให้ฝ่าฟัน ดังที่  
             สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน ได้สำรวจความเห็นของครูสอนดี จำนวน ๒๑๐ คน โดยกลุ่มตัวอย่างกระจายใน ๔ ภูมิภาคของประเทศ เพื่อสอบถามถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทำหน้าที่ครูและแนวทางการส่งเสริมครูให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งพบ ๖  ปัญหาสำคัญที่กลายเป็นอุปสรรคของการทำหน้าที่ครู ประกอบด้วย  

     ๑) ภาระหนักนอกเหนือจากการสอน  ๒๒.๙๓%  
     ๒) จำนวนครูไม่เพียงพอ สอนไม่ตรงกับวุฒิ ๑๘.๕๗%  
     ๓) ขาดทักษะด้านไอซีที ๑๖.๘ %  
     ๔) ครูรุ่นใหม่ขาดจิตวิญญาณ ขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว๑๖.๔๙%  
    ๕) ครูสอนหนัก ส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น ๑๔.๓๓ %  และ
     ๖) ขาดอิสระในการจัดการเรียนการสอน ๑๐.๘๘% 

ที่มา : http://www.kruwandee.com/news-id5212.html#ixzz2IOpClIxw

           สำหรับครูนกเองยังเพียรสู้ที่จะเรียนรู้เพื่อปรับตัว ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเพื่อให้ลูกศิษย์ก้าวเข้าสู่การเป็นประชากรศตวรรษที่ ๒๑ อย่างมีความสุข และเอาตัวรอดได้จึงขอเป็นกำลังใจให้กับครูทุกๆ ท่านค่ะ

หมายเลขบันทึก: 516803เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2013 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ครูไม่จำเป็นต้องขังตัวเองอยู่ในสาระที่เรียนมาก็ได้ เพราะ เราเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี  รู้จักนำมาใช้ได้กับการบูรณาการเป็น 1  สาระที่สามารถสร้างความรู้ใหม่ให้แก่นักเรียนได้ เรียนที่ไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องในห้องเรียนเท่านั้น เช่น คุณครูนก สามารถสอนเกษตรยุคใหม่แบบนี้ได้.. ดีมากเลยเนาะ เราก็ทำได้ ..

ขอบคุณค่ะ คุณครูToom  ชอบค่ะ คำว่าเราทำได้

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นกับครูนกนะคะ  จากภาระหนักที่ครูต้องแบกรับในห้อง   แถมผู้บริหารยังตีกรอบ  NT   ,  Onet , LAS  ฯลฯ  ทำให้ขาดอิสระในการเป็นผู้อำนวยการเพื่อให้เด็กน้อยเกิดการเรียนรู้ได้  แต่เมื่อครูเคมีจัดกิจกรรมแล้วได้ผลลัพธ์ในเรื่องการเกษตรด้วย   ก็ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของครูใน  ศต.ที่  21   แล้วละค่ะ   ขอเป็นกำลังใจและชื่นชมค่ะ   จาก  ครูยุพิน  คนลำปางหนา  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท