จัดทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นการทำบุญที่สืบเนื่องมาจากบุญเข้าพรรษาในเดือน 8 ที่พระภิกษุสามเณรได้เข้าพรรษาเป็นเวลานานถึง 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ดงันั้นในวันที่ครบกำหนดพระภิกษุสามเณรเหล่านั้นจะมารวมกันทำพิธีออกวัสวสปวารณา คือ เปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้ วันนี้เป็นวันที่พระภิกษุสามเณรจะได้มีโอกาสชุมนุมกันอย่างพร้อมเพรียงที่วัด ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นวันสำคัญและเป็นระยะที่ชาวบ้านหมดภาระในการทำนาทำไร่ อากาศในช่วงนี้จะเย็นสบายจึงถือโอกาสมาร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ มีการกวนข้าวทิพย์ถวายรับศีล สวดมนต์ฟังเทศน์และถวายผ้าจำนำพรรษา ตอนค่ำจะมีการจุดประทีปโคมไฟในบริเวณวัดและหน้าบ้าน บางท้องถิ่นจะมีการถวายปราสาทผึ้ง หรือ “ต้นผาสาดเผิ้ง” (สำเนียงอีสาน) เพื่อเป็นพุทธบูชา บางท้องถิ่นอยู่ใกล้บริเวณแม่น้ำจะมีการไหลเรือไฟ (ฮ่องเฮือไฟ) เพื่อเป็นการบูชาคารวะพระแม่คงคา ซึ่งจะมีการแข่งเรือเพื่อความสนุกสนานและสามัคคีร่วมกันในงานอีกด้วย
หมายเหตุ ฮีตสิบสอง มาจากคำ 2 คำ คือ ฮีต กับ สิบสอง
ฮีต มาจากคำว่าจารีต ซึ่งหมายถึง สิ่งปฏิบัติสืบต่อกันมา จนกลายเป็นประเพณีที่ดีงามของชาวอีสาน เรียกว่า จารีต หรือ ฮิต
สิบสอง หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือน ในหนึ่งปี
ฮีตสิบสอง ประเพณีอีสานสิบสองเดือน
เดือนเจียง - บุญเข้ากรรม
เดือนยี่ -
บุญคูณลาน
เดือนสาม – บุญข้าวจี่
เดือนสี่ – บุญผะเหวด
เดือนห้า – บุญสงกรานต์
เดือนหก – บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด – บุญซำฮะ
เดือนแปด – บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า – บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ – บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด – บุญออกพรรษา
เดือนสิบสอง – บุญกฐิน
ฮิต สิบสอง จึงหมายถึง ประเพณีที่ประชาชนชาวอีสานได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ ทั้งสิบสองเดือนในแต่ละปี
ประเพณีทั้งสิบสองเดือนที่ชาวอีสานถือปฏิบัติกันมานั้นล้วนเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนได้ออกมาร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อความสมานสามัคคีมีความรักใคร่กันของคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการสืบทอดสิ่งที่ดีงามมาจวบจนปัจจุบัน
“บันทึกนี้ เป็นการรวมประเพณีขอภาคอีสานสิบสองเดือน ต้องการที่จะให้ผู้สนใจแลเห็นคุณค่าของประเพณีงานบุญ ของภูมิปัญญาอีสาน นอกจากฮิตสิบสองหรือประเพณี 12 เดือนของชาวอีสานแล้ว ยังมีงานบุญอีกมากมายที่น่าศึกษา ทำไมชาวอีสานจึงมีนิสัยอ่อนโยน รักสงบ เกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน ไม่ชอบการเอารัดเอาเปรียบ มีความเป็นเครือญาติกันสูงมาก พิธีบุญ ความเชื่อ และประเพณีต่างๆ คือ เป้าหลอมกรอบคิดให้ชาวอีสาน มีอัตลักษณ์ดังกล่าว”
ประสาน กำจรเมนุกูล
รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์
ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
(ผู้เรียบเรียงข้อมูล)
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นายบอน@kalasin ใน keep in mind by bon
คำสำคัญ (Tags)#สังคม#วัฒนธรรม#culture#อีสาน#ทำบุญ#ฮีตสิบสอง#พุทธศาสนิกชน#e-san#พุทธบูชา#บุญออกพรรษา#พิธีออกวัสสาปวารณา
หมายเลขบันทึก: 51549, เขียน: 24 Sep 2006 @ 12:01 (), แก้ไข: 23 Jun 2012 @ 08:53 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, อ่าน: คลิก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก