ปกิณกะเรื่องควาย - ควายกับภาษา


ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..๒๕๒๕ มีคำที่มีความหมายว่า ควายอยู่หลายคำ ได้แก่

 

 กระบือ   .ควาย  ( .กรบี; มลายุ เกรเบา)  ( . = นาม  .= เขมร)
 กาสร  ( - สอน) (แบบ)  .ควาย. (.) (=สันสกฤต)
ควาย  (ควาย)  . สัตว์สี่เท้า (Babalus bubalis) ในวงศ์ Bovidae เท้าเป็นกีบคู่ ; โดยปริยายมักหมายความว่า คนโง่ คนเซ่อ หรือ คนตัวใหญ่แต่ไม่ฉลาดฯ

มหิงส์  . ควาย (. มหึส; .มหิษ) (=ปาลิหรือบาลี)

ในภาษาพูดมักจะพูดว่าควาย ในภาษาราชการมีการใช้ทั้งคำว่า ควาย และกระบือ แต่ที่ใช้กันมากในภาษาหนังสือ เห็นจะเป็นคำว่า กระบือ ส่วนในภาษาถิ่น ที่คนพื้นเมืองเป็นคนไทยเชื้อสายเขมร จะเรียกควายว่า กระไบ  พวกส่วย เรียกว่า เตรี๊ยะ ส่วนคนไทยเชื้อสายลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การพูดจะไม่ค่อยมีควบกล้ำ จึงเรียกควายว่า ฆ้วย แต่คนลาวที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) บางส่วนจะพูดมีควบกล้ำเหมือนคนไทยภาคกลางของไทย คือ พูดว่า ควายบางส่วนก็พูดเหมือนคนอีสาน

 

ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เขาเรียกควายว่าอย่างไรบ้าง?
ฟิลิปปินส์ เรียกว่า คาราบาว (Carabao)
มาเลเซีย เรียกว่า เกรเบา (Krabao)

จีน เรียกว่า สุ่ยหนิ่ว (Sui nui)

  นอกจากควายที่เป็นสัตว์เลี้ยงแล้วยังมีพวกควายป่า ที่เรียกว่า โคไพร หรือ กูปรี สัตว์พวกนี้เป็นสัตว์ป่าสงวน ตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.. ๒๕๓๕ (แก้ไขเพิ่มเติม) เคยทำเป็นแสตมป์ดงละ ๑.๒๕ บาท เมื่อปี ๒๕๑๖)

 

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 51546เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2006 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท